การจัดการเรียนรู้แบบ เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • จิตราพร เพื่อนละภา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • มนตรี เด่นดวง สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS, เทคนิค KWDL, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ  SSCS  ร่วมกับเทคนิค  KWDL 2) เปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  หลังการจัดการเรียนรู้แบบ  SSCS  ร่วมกับเทคนิค  KWDL  กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ  SSCS  ร่วมกับเทคนิค  KWDL  โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1  โรงเรียนหวังดี  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2566  จำนวนนักเรียน  23  คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster  Random  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบที (t-test)  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบ  SSCS  ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) นักเรียนมีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL  สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ  84.13  และ  3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDLอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กษตินาท จันทุมา. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับรูปแบบ SSCS ที่มี

ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนกัเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

กิตติมา ปรีดีดิลก. (2559). ทฤษฎีบริหารองค์กร. กรุงเทพฯ : ชนะการพิมพ์.

คมสัน อินทเสน. (2560). ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่มีต่อการ

ให้บริการงานกิจการนักศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชญาณิศา เป็งจันทร์และคณะ. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อพัฒนา

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, วารสารบัณฑิตวิจัย. 8(1), 71-82.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(พิมพ์ครั้งที่ 6).

นนทบุรี : P Balans Design and Printing.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(พิมพ์ครั้งที่ 7).

นนทบุรี : P Balans Design and Printing.

มณีรัตน์ พันธุตา และสิทธิพล อาจอินทร์. (2556). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา

คณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบ

SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของ Polya(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร

มหาบัณฑิต). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎีกล

ยุทธ์สู่การปฏิบัติ. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศศิธร แม้นสงวน. (2556). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 2(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ษับรีญ หะยีหมัด. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค KWDL ที่มี

ต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว การชั่ง การตวง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). คู่มือกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ

อัมพร ม้าคะนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ.

กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

Ogle, D. (1986) K-W-L: A Teaching Model That Develops Active Reading of

Expository Text, The Reading Teacher. 39(6), 564-570.

Pizzini, E. L.; & Shepardson; & Abell, K. (1989, September). A Rationale

for And the Develoment of a Problem Solving Model of Instruction in Science Education, Science Education. 73(5), 523-534.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29