สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนกับการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการของนักเรียน
คำสำคัญ:
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน, ทักษะผู้ประกอบการ, นักเรียน, กลุ่มเปราะบางบทคัดย่อ
ในสถานการณ์ที่ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมกำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการสามารถเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่การบรรเทาปัญหาความยากจนข้ามรุ่นได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการของนักเรียน พื้นที่วิจัยคือ โรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์แห่งหนึ่งในจังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนรวม 239 คน นักวิจัยใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กระบวนการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการของนักเรียนมี 4 ขั้นตอนตามวงจรของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ 1. ระยะเตรียมการ 2. ระยะจัดทำแผน 3. ระยะนำแผนไปสู่การปฏิบัติ และ 4. ระยะติดตามประเมินผล ระยะเวลาดำเนินงาน 12 เดือน (ตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) การวัดและประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการของนักเรียน ใช้แบบประเมินสมรรถนะ มุ่งประเมินสมรรถนะของนักเรียนในสามด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะ ด้านความรู้ และด้านทักษะ ผลการวิจัยพบว่า สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการได้ นักเรียนได้เรียนรู้ห่วงโซ่คุณค่าของการประกอบการจากการปฏิบัติจริง เริ่มตั้งแต่การปลูก การแปรรูป และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยค่าคะแนนเฉลี่ยการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการของนักเรียนอยู่ในระดับดีทั้งสามด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะ (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.80 จากคะแนนเต็ม 5) ด้านความรู้ (ค่าคะแนนเฉลี่ย 6.00 จากคะแนนเต็ม 10) และ 3. ด้านทักษะ (ค่าคะแนนเฉลี่ย 9.40 จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน)
References
กฤษฎา บุญชม และ ปริยาพร กองคา. (2562). ปริมาณ คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากผลมะกรูด ขมิ้นและไพล จากระบบการกลั่นด้วยไอน้ำ สำหรับกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน, วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 11(14), 52-66.
ข่าวสดออนไลน์. (2559, 2 กันยายน). สสวท.ชู “สะเต็มศึกษา” พัฒนาเยาวชน ก้าวสู่เจ้าของธุรกิจ-ตอบโจทย์พลเมืองศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567, จาก http://www.educa tionnews.in.th/32391.html.
ทัชชญา ภัทราอัมฤทธิ์, พิทักษ์ วงษ์ชาลี และกุลวดี สุวรรณไตรย์. (2566). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร.. 11(5), 2003-2016.
นฤทธิ์ วัฒนภู. (2566). การศึกษาลักษณะพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะลายกำมะลอแบบสามมิติ ชุด พรรณไม้ลายทอง, ศิลปกรรมสาร. 16(1), 61-80.
มัสยา ธิติธนานันท์. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับการใช้ข้อมูลท้องถิ่น และงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เรื่องชีวิตพืชพื้นถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, วารสารราชพฤกษ์. 17(3), 63-74.
วรางคณา พรเกาะ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เรื่อง พรรณไม้ในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(2), 120-133.
ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ, นิลุบล นวลจันทร์คง, รุ่งทิพย์ แซ่แต้, ธัญชนก พูนศิลป์ และพิรุณรัตน์ แซ่ลิ้ม. (2567). คู่มือถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ กรณีศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ, นิลุบล นวลจันทร์คง, อรุณรัศมิ์ วณิชชานนท์, รุ่งทิพย์ แซ่แต้, ธัญชนก พูนศิลป์ และนินนาท์ จันทร์สูรย์. (2566). การพัฒนาทักษะผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมของนักเรียนกลุ่มเปราะบางในจังหวัดปัตตานี. (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). พระมหากษัตริย์นักพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.nesdc. go.th/ewt_ dl_link.php?nid=3139.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 - 2570. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567, จาก
https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นผู้ประกอบการ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อพ.สธ. (2560). คู่มือการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน พุทธศักราช 2560 ฉบับสมบูรณ์.
สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.rspg.or.th/botanical_school/index.htm.
อพ.สธ. (2564). แผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม 2564 – 1 ตุลาคม 2569).
สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.rspg.or.th/masterplan/index.html.
Ahmad, J., & Siew, N. M. (2021). Development of a children entrepreneurial science thinking test for STEM education, Journal of Baltic Science Education. 20(4), 528-545.
Bell, R., & Bell, H. (2020). Applying educational theory to develop a framework to support the delivery of experiential entrepreneurship education, Journal of Small Business and Enterprise Development. 27(6), 987-1004.
Blesia, J. U., Iek, M., Ratang, W., & Hutajulu, H. (2021). Developing an entrepreneurship model to increase students’entrepreneurial skills: An action research project in a higher education institution in Indonesia, Systemic Practice and Action Research. 34(1), 53-70.
Eltanahy, M., Forawi, S., & Mansour, N. (2020). Incorporating entrepreneurial practices into STEM education: development of interdisciplinary E-STEM model in high school in the United Arab Emirates, Thinking Skills and Creativity. 37(1). 1-20.
European Commission. (2021). A guide to fostering entrepreneurship education. Retrieved July 26, 2024, from https://op.europa.eu/en/publication-detail/-/publication/734447fa-58a7-11ec-91ac-01aa75ed71a1.
Fuchs, K., Werner, A., & Wallau, F. (2008). Entrepreneurship education in Germany and Sweden: what role do different school systems play?, Journal of Small Business and Enterprise Development. 15(2), 365-381.
Guilford, J. P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill Book Co.
Honig, B. (2004). Entrepreneurship education: toward a model of contingency-based business planning, Academy of Management Learning & Education. 3(3), 258-273.
Jones, B., & Iredale, N. (2010). Enterprise education as pedagogy, Education+training. 52(1), 7-19.
Kelley, D. (2013). Design thinking for educators. Retrieved July 26, 2024, from
https://www.ideo.com/post/design-thinking-for-educators.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner. Geelong: Deakin University.
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Leon, R. D. (2017). Developing entrepreneurial skills. An educational and intercultural perspective, Journal of Entrepreneurship, Management and Innovation. 13(4), 97-121.
NIA Academy MOOCs. (2565). STEAM4INNOVATOR. Retrieved July 26, 2024, from
https://moocs.nia.or.th/course/stream4innovator.
Nicotra, M. (2017). The School-enterprise for the reality-based learning approach. Retrieved July 26, 2024, from https://cometaresearch.org/educationvet/the-school-enterprise-for-the-reality-based-learning-approach/.
Retnowati, L., Sugianto, S., & Alimah, S. (2021). The development of integrated biology-entrepreneurship learning design based STEAM, Journal of Innovative Science Education. 10(2), 124-129.
Salun, M., Zaslavska, K., Vaníčková, R., & Šindelková, K. (2021). Formation of entrepreneurial skills in students in a changing world, SHS Web of Conferences. 90(4), 1-8.
Troberg, E., Ruskovaara, E., & Seikkula-Leino, J. (2011). The state of co-operative entrepreneurship education in Finland: an exploratory study, International Journal of Cooperative Management. 5(2), 47-59.
Vosniadou, S., Ioannides, C., Dimitrakopoulou, A., & Papademetriou, E. (2001). Designing learning environments to promote conceptual change in science, Learning and Instruction. 11(4-5), 381-419.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.