อัตลักษณ์วิถีชีวิตชาวปักษ์ใต้ในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง “ลูกยางกลางห้วย” และ “ลูกนกจากคอน” ของ คามิน คมนีย์

ผู้แต่ง

  • ปริยาภัทร เพ็ชรจรูญ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, วิถีชีวิตชาวปักษ์ใต้, ลูกยางกลางห้วย, ลูกนกจากคอน

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์วิถีชีวิตชาวปักษ์ใต้ในวรรณกรรมเยาวชนเรื่องลูกยางกลางห้วย และลูกนกจากคอน ของ คามิน คมนีย์ ผลการศึกษาพบว่า ปรากฏอัตลักษณ์ชาวใต้ที่โดดเด่น 5 ด้าน คือ 1) อัตลักษณ์ด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวใต้ มีการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้องกันกับวิถีชุมชน ทั้งการประกอบอาชีพ อาหารการกิน การสร้างที่อยู่อาศัย และการละเล่นของเด็ก 2) อัตลักษณ์ด้านความสัมพันธ์ของคนในสังคมภาคใต้ สังคมภาคใต้มีลักษณะการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และความสัมพันธ์จากการพึ่งพาอาศัยและการใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชน 3) อัตลักษณ์ด้านค่านิยมและความเชื่อของชาวใต้ มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ผู้คนจึงนิยมเชื่อเรื่องเวรกรรม ความเชื่อเรื่องกุศลผลบุญ ความเชื่อเกี่ยวกับข้อห้ามหรือสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ และการนิยมเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง 4) อัตลักษณ์ด้านประเพณีและวัฒนธรรมของชาวใต้ มีความแตกต่างไปจากประเพณีและวัฒนธรรมในภาคอื่น ๆ ทำให้ชาวไทยภาคใต้มีประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่างที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะท้องถิ่น และ 5) อัตลักษณ์ด้านการสื่อสารและการใช้ภาษาของชาวใต้ ซึ่งชาวใต้มีวัฒนธรรมการใช้ภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ที่เรียกว่าภาษาใต้

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562). มรดกวัฒนธรรมภาคใต้. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

คามิน คมนีย์. (2556). ลูกยางกลางห้วย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

คามิน คมนีย์. (2559). ลูกนกจากคอน. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

จรูญ หยูทอง. (2556). เทศกาล งานประเพณี ท้องถิ่นภาคใต้. สงขลา : บริษัทนำศิลป์โฆษณาจำกัด.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2545). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไท. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี.

ฉันทัส ทองช่วย. (2536). ภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์. (2548). อัตลักษณ์ชุมชนภาคใต้ : บทสำรวจเบื้องต้นจากเอกสาร, วารสารปาริชาต. 18(1), 102-118. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2567, จาก https://so05.tcithaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/69998/56858

ทิพย์ หาสาสน์ศรี. (2551). ภูมิปัญญาไทยกับการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้. (2547). ใต้...หรอยมีลุย. สงขลา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ภาคใต้.

ปก แก้วกาญจน์ และดุสิต รักษ์ทอง. (2543). การเล่นของเด็กบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. (2548). ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2547). การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง. ใน วาทกรรมอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

วิมล จิโรจพันธุ์. (2548). ของดี 4 ภาค ชุดภาคใต้. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา.

วิมลมาศ ปฤชากุล. (2550). อัตลักษณ์พื้นถิ่นในบันเทิงคดีภาคใต้ (พ.ศ. 2552-2546) (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลลักษณ์ เล็กศิริรัตน์. (2539). สำนวนไทยถิ่นใต้ : ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม. สงขลา : สถาบันราชภัฏสงขลา.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์ และแนวทางการนำมาศึกษา ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษร ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาพรบุ๊คส์. (2559). ‘คามิน คมนีย์’ ลูกยางกลางห้วย ลูกนกจากคอน. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567, จาก https://satapornbooks.com/newevents_readmore/039-คามิน-คมนีย์-039-ลูกยางกลางห้วย-ลูก นกจากคอน-188

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และดิลก วุฒิพาณิชย์. (2542). ภาษาถิ่นใต้, ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ เล่ม 12 พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิช.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2544). โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กับการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สวก.)

สุภาพร คงศิริรัตน์. (2548). อัตลักษณ์ วิถีความคิดของคนไทยและคนลาวจากวรรณกรรมแบบเรียน. พิษณุโลก : สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อธิภัทร เอิบกมล และพัชลินจ์ จีนนุ่น. (2564). สถานภาพการศึกษาวรรณกรรมโดยใช้แนวคิดอัตลักษณ์ (Identity) ในงานวิทยานิพนธ์ไทย (พ.ศ. 2543-2563) ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12, 151-529. วันที่ 25 มิถุนายน 2564 Online Conference. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ (Identity) การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

อุดม หนูทอง. (2542). การเล่นของเด็กในภาคใต้, ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ เล่ม 1 พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิช.

Jenkins, Richard. (1996). Social Identity. London : Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29