แนวทางการอนุรักษ์ประเพณีฟาดข้าวกะเหรี่ยงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนบ้าน หนองบางและชุมชนบ้านทุ่งเสือโทน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
แนวทางการอนุรักษ์, กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง, ประเพณีฟาดข้าว, ชุมชนชาติพันธุ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเพณีฟาดข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และเพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีฟาดข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประยุกต์วิธีวิจัยทางมานุษยวิทยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน 2) ผู้ประกอบพิธีกรรม 3) ปราชญ์ชุมชน และ 4) กลุ่มเกษตรกรในชุมชน จำนวน 14 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลรอง ได้แก่ กลุ่มเยาวชน กลุ่มพ่อค้าคนกลาง และหน่วยงานราชการ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสังเกต และ 3) ประเด็นสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในอำเภอทองผาภูมิมีประเพณีฟาดข้าวที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน การจัดประเพณีฟาดข้าวเพื่อแสดงความเคารพต่อธรรมชาติ ขอขมาและขอขอบคุณแม่โพสพที่ดูแลข้าวให้อุดมสมบูรณ์ สถานการณ์ปัจจุบันการฟาดข้าวเริ่มเลือนหายไปจากชุมชนกะเหรี่ยงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีฟาดข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง คือ 1) ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนควรอนุรักษ์ประเพณีฟาดข้าวไว้ในหลักสูตร เพื่อให้เยาวชนได้รับความรู้และมองเห็นถึงความสำคัญของประเพณีฟาดข้าว 2) การเผยแพร่ความรู้การฟาดข้าวที่สัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตให้แก่เยาวชน 3) บรรจุแผนการจัดประเพณีให้กับหน่วยงานที่ดูแลวัฒนธรรม และ 4) คนทุกช่วงวัยร่วมมือการส่งเสริมวัฒนธรรมการฟาดข้าวให้คงอยู่ต่อไป แนวทางอนุรักษ์ประเพณีฟาดข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีจุดหมายเพื่อสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์สู่สำนึกรักถิ่นตนเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาชุมชน สังคม อย่างยั่งยืน
References
กฤษฎา บุญชัย. (2559). ไร่หมุนเวียน สิทธิทางวัฒนธรรมเพื่อความเป็นธรรมทางนิเวศและสังคม, Journal of Social Development. 18(ฉบับพิเศษ), 137-155.
จรัญ ฝนขาว. (2555). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยงกับการลดเคราะห์และเสริมดวงชะตา ที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในอำเภอหางดง จังหวัด
เชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จำเนียนน้อย สิงหะรักษ์. (2561). แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นประเพณีการเลี้ยงผีฝายของชุมชนลุ่มน้ำคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร, วารสารพิกุล. 16(1), 17-29.
ทรงกลด ขาวแจง. (2553). การดำรงอยู่ของวัฒนธรรมอาหารม้ง: กรณีศึกษา บ้านขุนวาง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊ง ภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพรัตน์ ไชยชนะ และวีระวัฒน์ อุดมทรัพย์. (2562). วิถีชีวิตและความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปร์ บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี, Institute of Culture and Arts Journal. 19(2), 9-19.
บัณฑิต ไกรวิตร. (2559). การเผชิญกับภาพแทนของกะเหรี่ยงโผล่วในเขตรักษาพันธุ์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปริศนา เพชระบูรณิณ. (2560). ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการหาประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนบ้านครัว, สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 23(1), 64-72.
ปรีชา พรมมะกุล. (2546). การใช้ถิ่นที่อาศัยและเหยื่อของเสือโคร่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก, วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย. 11(1), 1-12.
ไพสิฐ พาณิชย์กุล และคณะ. (2560). รายงานฉบับย่อโครงการวิจัยเรื่องสิทธิของชุมชนชาวกะเหรี่ยง(ปกาเกอะญอ) กับการดำเนินเขตวัฒนธรรมพิเศษไร่หมุนเวียนในพื้นที่ยุทธศาสตร์การแก้ไขข้อพิพาทกรณีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่ป่าภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
รัชชานนท์ เข็มลาด. (2561). ประเพณีงานบุญข้าวใหม่ งานบุญฟาดข้าว และงานบุญค้ำต้นโพธิ์: ความสำคัญที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงบ้านทิไล่ป้า ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิศท์ เศรษฐกร. (2553). การปรับใช้พิธีกรรมและความเชื่อของชุมชนในการจัดการป่าชุมชน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศยามล เจริญรัตน์. (2556). ความมั่นคงทางอาหารป่าชุมชนกับการผลักดันเรื่องความเป็นธรรมเพื่อชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2556). การศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่อนุรักษ์: กรณีศึกษากะเหรี่ยงในผืนป่าตะวันตก ปีที่ 1. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมประสงค์ พันธุประยูร์. (2557). การถ่ายทอดความคิด ความเชื่อของชาวปกาเกอะญอผ่านพิธีกรรม: กรณีศึกษา บ้านทิโพจิ หมู่ที่ 4 ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุจริตลักษณ์ ดีผดุง และ สรินยา คำเมือง. (2540). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโป. กรุงเทพ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2540). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : กะเหรี่ยงโป. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุนทร พุ่มไพรวัลย์ และคณะ. (2557). การพัฒนาพื้นที่ “กลุซุ” ที่เหมาะสมต่อวิถีชีวิตโดยการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและยาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย – กะเหรี่ยง (โผล่ว) บ้านสะเน่พ่อง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุวัฒชัย ไทรสังขชวลิต และคณะ. (2552). การศึกษาและฟื้นฟูภูมิปัญญาลือกาเวาะเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของคนกะเหรี่ยงบ้านสะเน่พ่อง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อิสริยาภรณ์ แสงปัญญา. (2566). การศึกษาประเพณีของชาวไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน, Ganesha Journal. 19(1), 88-100.
James C. S. (1977). The Moral Economy of the Peasant. New York: Yale University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.