ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเสริมสร้างสังคมฐานความรู้ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • วิไลพิน แก้วเพ็ง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเสริมสร้างสังคมฐานความรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อสืบค้นลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) กระบวนการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) การพัฒนากระบวนการและพฤติกรรมการเรียนรู้เพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 4) จัดทำฐานข้อมูลเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านเครือข่ายสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคีและเครือข่าย มีกลุ่มเป้าหมายคือ 1) ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 3 สงขลา 3) ผู้อำนวยการโรงเรียน 4) คณะครูและนักเรียน 5) คณะกรรมการสถานศึกษา 6) ผู้นำชุมชน 7) นักพัฒนาชุมชน และผู้รู้หรือผู้อาวุโสในชุมชน และ8) ปราชญ์ชาวบ้านหรือครูภูมิปัญญาในชุมชนเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบการสนทนากลุ่มผลการวิจัยพบว่า ชุมชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนภาคใต้ทั้ง 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา มีต้นทุนวัฒนธรรมและมีลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายประกอบด้วย ภูมิปัญญาทางด้านอาหาร ยาสมุนไพร เกษตรกรรม และการทำจักสาน เน้นการหาเลี้ยงตัวเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีกระบวนการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นผ่านบรรพบุรุษ ส่วนใหญ่เป็นการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นผ่านสังคมเครือญาติ เช่น แม่ถ่ายทอดให้ลูกและหลาน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม และจัดทำฐานข้อมูลเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านเครือข่ายสถานศึกษา

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี

บัณฑิต. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น

พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จินต์ประวีร์ เจริญฉิม และ สิริชัย ดีเลิศ. (2563). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุสู่ชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 33(2), 152-167.

ไททัศน์ มาลา. (2554). การเมืองเรื่องความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย: บทเรียน วิกฤติ และความท้าทาย. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ศิริรักษ์ จวงทอง และวิลาศ วุ่นแก้ว. (2554). การสํารวจสถานะองค์ความรู้และแนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา: กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนใน ตําบลคลองแห อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สำนักพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2551). การพัฒนาการศึกษา ขั้นพื้นฐานเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้.

กรุงเทพฯ : พี.พี.เอส กิจเจริญ.

สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2551). สาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากร, กรุงเทพฯ: สาม เจริญพาณิชย์, 2551, 20-21.

อุทัยวรรณ ภู่เทศ. (2560). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาด้าน หัตถกรรมพื้นบ้านจักสานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตาม

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (รายงานการวิจัย). นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23