ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพชุมชนพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจบ้านปลายคลอง ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
in Tapan Subdistrict, Phunphin District, Surat Thani Province
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์การพัฒนา, ศักยภาพชุมชน, การพึ่งตนเอง, เศรษฐกิจ, จังหวัดสุราษฎร์ธานี, Development Strategy, Community Potential, Self-reliant, Economy, Surat Thani Provinceบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทและปัญหาการพัฒนาศักยภาพพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจบ้านปลายคลอง และเพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพชุมชนพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจบ้านปลายคลอง ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีประชากรศึกษาจำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มองค์กรชุมชนบ้านปลายคลอง กลุ่มผู้นำประธานชุมชนบ้านปลายคลอง และกลุ่มประชาชน โดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและกระบวนการเทคนิค SWOT Analysis ผลการวิจัย พบว่า บริบทชุมชนเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำตาปีไหลผ่าน พื้นที่เหมาะแก่การเกษตร เช่น สวนยางพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ปัญหาการพัฒนาศักยภาพพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจ ชุมชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการตนเอง การประชาสัมพันธ์ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ภาครัฐยังไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพ ชุมชนจึงขาดความสามารถในการคิดริเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ การพัฒนาศักยภาพชุมชนพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ พบว่ามี 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์เชิงรุก เป็นการพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพทางเศรษฐกิจด้วยการพึ่งตนเอง เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างกิจกรรมพัฒนาอาชีพที่ชุมชนสามารถนำไปใช้ได้ด้วยตนเอง 2) ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข เป็นการฝึกอบรมนี้ให้ความรู้ทางวิชาการเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน และพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน 3) ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน สร้างเครือข่ายกลุ่มองค์กรในชุมชนภายใต้การดูแลของหน่วยงานภาครัฐและการเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพชุมชนพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ 4) ยุทธศาสตร์เชิงวิกฤต มีการวางแผนพัฒนาชุมชนเพื่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการนำยุทธศาสตร์ชาติหรือยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ มาประยุกต์กับชุมชนเน้นการพึ่งพาตนเองโดยให้ประชาชนในชุมชนปฏิบัติด้วยตนเอง
The objectives of this research are to study context and problems of potential development of self-reliant economy community and to study the potential development of Ban Plai Khlong self-reliant economy community in Tapan Subdistrict, Phun Phin District, Surat Thani Province. Thirty specified samples are representatives of organizations at Ban Plai Khlong community groups, which are leaders, community's presidents, and also members of the community. Materials are in in-depth interviews, focus group discussion, workshop stages, and SWOT analysis. The results indicated that certain areas of Ban Plai Khlong are plains, with the Tapee River flowing through The results indicated that certain areas of Ban Plai Khlong are plains, with the Tapee River flowing through them, which is appropriate for agriculture such as rubber and oil palm plantations. The community faces challenges in developing a self-reliant economy due to inadequate management knowledge and understanding, as well as a deficiency in public relations. The government does not give any importance to potential development, which has resulted in the missing ability for new creations. There are four potential strategies for developing a self-reliant economic community: 1) SO Strategy: Community development to develop their self-reliant economy. The members can plan the development plan and create activities to develop their occupations, 2) WO Strategy: An academic knowledge training for the members to have a sustainable, self-reliant community and to develop the infrastructure, 3) ST Strategy: Synergize a network of groups in the community under government cooperation and cooperation to develop their self-reliant community, and 4) WT Strategy: There should be a plan for developing the potential of a self-reliant economy community and the community's infrastructure.
References
กฤษณา สานเมทา และอดิเรก ฟั่นเขียว. (2558). แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร : เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ.
โกมินทร์ กุลเวชกิจ. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านเศรษฐกิจโดยยึดปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอนดู่ ต.ป่าสังข์ อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580). สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2566, จาก http://www.thaitribune.org/contents/detail/.
เฉลียว บุรีภักดี และคณะ. (2546). ชุดการศึกษาค้นคว้ารายวิชา 2535101 หลักการพัฒนาและการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนา. เพชรบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏเพชรบุรี.
ชาติชาย เขียวงามตี. (2551). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทองใบ ธีรานันทางกูร. (2561). กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงโลก. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2566, จาก supsupra.blogspot.com > 2018/06.
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2550). การจัดการความรู้ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
มงคล ด่านธานินทร์. (2541). เศรษฐกิจชุมชนเชิงระบบ: หลักการและแนวทางปฏิบัติในเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง: แนวความคิดและยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
วิภาวี กฤษณะภูติ. (2559). การจัดการวิสาหกิจชุมชน. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธวัชชัย พินิจใหม่, สุดารัตน์ แช่มเงิน, สาวิตรี รังสิภัทร์ และทิพวัลย์ สีจันทร์. (2560). การพึ่งตนเองของวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านนาโพธิ์ ตำบลท่าแร้ง อำเภอ บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี, วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. 10(3), 70-80.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อินทิรา ครองศิริ. (2560). การศึกษาตัวแบบการจัดการชุมชนพึ่งตนเองแบบยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2566, จาก : https://www.tcithaijo.org/index.php/ppmjournal/article/ download/29200/25099/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.