การเปรียบเทียบภาพสะท้อนสังคมไทยในบทละครรำสามก๊กของขุนเสนานุชิต(เจต)และหลวงพัฒนพงศ์ภักดี

ผู้แต่ง

  • ปัทมา ดีลิ่น สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

คำสำคัญ:

ภาพสะท้อนสังคม, บทละครรำสามก๊ก, ขุนเสนานุชิต(เจต), หลวงพัฒนพงศ์ภักดี

บทคัดย่อ

          บทละครรำของไทยมีการพัฒนาเป็นอย่างมากในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีพัฒนาการทางสังคมที่สำคัญและมีปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้ยุคนี้เกิดการนำวรรณกรรมต่างประเทศมาประพันธ์ใหม่ในรูปแบบบทละครรำ หนึ่งในวรรณกรรมต่างประเทศที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่คนไทย และนำมาประพันธ์เป็นบทละครคือวรรณกรรมสามก๊ก บทความนี้จึงมุ่งศึกษาการเปรียบเทียบภาพสะท้อนสังคมไทยที่ปรากฎในบทละครรำสามก๊กของขุนเสนานุชิต(เจต)และหลวงพัฒนพงศ์ภักดี โดยผ่านวิธีการวิเคราะห์ความเหมือนและความต่างกันของภาพสะท้อนสังคมไทยที่ปรากฎในบทละครรำดังกล่าว ผลจากการศึกษาพบว่าภาพสะท้อนสังคมไทยที่เหมือนกัน คือ ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมการแสดงความเคารพ และวัฒนธรรมการกิน และภาพสะท้อนสังคมไทยที่แตกต่างกัน คือ ด้านเทคโนโลยีและเหตุการณ์สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยปรากฏเฉพาะในบทละครรำสามก๊กของขุนเสนานุชิต(เจต)เท่านั้น ได้แก่ การหนังสือพิมพ์ การไปรษณีย์โทรเลข โรงสีข้าว และการระบาดของอหิวาตกโรค

References

กัลยรัตน์ คําคูณเมือง, อินถา ศิริวรรณ, สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย และจุฑามาศ วารีแสงทิพย์. (2566). การฝึกมารยาทไทยตามวัฒนธรรมไทย, วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 4(1), 17-26.

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2515). สามก๊กเล่ม1และตำนานสามก๊ก. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.

เกริกฤทธิ์ เชื้อมงคล. (2562). พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ ปฏิรูปสยามต้านมหาอำนาจตะวันตก และการยกย่องของประชาคมโลก. กรุงเทพฯ : สยามความรู้.

ขุนเสนานุชิต(เจต). (2516). สามก๊กคำกลอน. กรุงเทพฯ : กรุงเทพการพิมพ์.

นรากร นาเมืองรักษ์. (2552). กิจกรรมการจัดการธุรกิจโรงสีข้าวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นวรัตน์ ภักดีคำ. (2562). บทละครเรื่องห้องสิน : จากพงศาวดารจีนสู่บทละครไทย, วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 37(1), 67-78.

ปัทมาพร ชเลิศเพ็ชร. (2535). วิเคราะห์บทละครพันทาง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

ปาริฉัตร พิมล. (2562). การเลือกสรรและการดัดแปลงพงศาวดารจีนฉบับแปลไทยเป็นบทละครรำของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี, วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 26(1), 113-152.

พลรัตน์ วิไลรัตน์ และศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ. (2546). อหิวาตกโรคในอดีต, วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 28(4), 1110-1117.

ศรัณยู กลิ่นจันทร์. (2547). อดีต สู่ ปัจจุบัน อาณาจักรหนังสือพิมพ์ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อุตสาหกรรมการค้า.

สุนันท์ พวงพุ่ม. (2528). การศึกษาสารของผู้ประพันธ์สามก๊กฉบับต่าง ๆ ในภาษาไทย.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรพล วิรุฬหรักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๗๗ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หลวงพัฒนพงศ์ภักดี. (ม.ป.ป.). กลอนบทละครสามก๊ก เล่มที่ 197-212. กรุงเทพฯ.

方莲雅. (2021).泰国《三国戏》研究.(Doctoral dissertation). 桂林 :广西师范大学.

金勇. (2018). 形似神异《三国演义》在泰国的古今传播. 北京 : 北京大学.

LU YANWEI. (2562). ภาพสะท้อนสังคมไทยในวรรณกรรมเยาวชนที่ได้รับรางวัล “เซเว่นบุ๊คอวอร์ด” พ.ศ. 2558-2560 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29