ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อนิสิตปฏิบัติสหกิจศึกษา สาขาวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้แต่ง

  • กูซม ยามิรูเด็ง ณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ซัมซียะห์ มะลาเฮง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, สถานประกอบการ, นิสิตปฏิบัติสหกิจศึกษา, สาขาวิชาภาษามลายู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อนิสิตปฏิบัติสหกิจศึกษา สาขาวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนจากสถานประกอบการ จำนวน 19 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บและรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่แจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่าสถานประกอบการมีความพึงพอใจต่อนิสิตปฏิบัติสหกิจศึกษา สาขาวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.56 เมื่อวิเคราะห์ในแต่ละด้านพบว่าระดับความพึงพอใจมากที่สุด ในด้านคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.84 ด้านความรู้และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 4.63 ด้านทักษะทางปัญญา มีค่าเฉลี่ย 4.61 และระดับมากในด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย 4.21 ผลการวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าสถานประกอบการมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติสหกิจศึกษาของนิสิต สาขาวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยทักษิณ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อควรปรับปรุงในประเด็นทักษะภาษาอังกฤษ ซึ่งหลักสูตรควรนำส่งเสริมให้นิสิตมีทักษะภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษามลายู และเพิ่มกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานร่วมกับผู้อื่นและรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ตลอดจนการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ

References

กัญญ์กณิษฐ์ กมลกิตติวงศ์. (2562). ความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อนักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต, 1505-1515 วันที่ 26 เมษายน 2562 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต ปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

จุรีภรณ์ มะเลโลหิต. (2566). การเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ของนิสิตชั้นปีที่ 2 โดยใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอคช์ (MIA), วารสารอินทนิลทักษิณสาร. 18(1), 145-172.

ณฤติยา เพ็งศรี, ณัฐติญา บุญวิรัตน และกรรณิกา คันธรส. (2561). ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อการฝึกงานของนักศึกษาภาษาอังกฤษธุรกิจ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแหงหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 12(4), 146-159.

เดโช แขน้ำแก้ว และเชษฐา มุหะหมัด. (2562). ความพึงพอใจของผู้ดูแลนักศึกษาที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ กรณีศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10, 970-983 วันที่ 12-13 กรกฎาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พรทิพท์ ทองศรี และสุนิตดา เทศนิยม. (2562). ปัจจัยส่งเสริมที่มีผลต่อจริยธรรมในการทำงานของบุคลากรเทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี, วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 5(2), 210-221.

พัชราวดี อักษรพิมพ์, ฑิตฐิตา สินรักษา และสลิลา วงศ์กระจ่าง. (2562). ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อนักศึกษาฝึกงานก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพจริง สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. ใน การประชุมด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม” ครั้งที่ 2, 359-371 วันที่ 5-6 สิงหาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา สงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

พัฒนา พรหมณี, ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และจีระศักดิ์ ทัพยา. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ, วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 26(1), 59-66.

ภราดร สุขพันธ์. (2561). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษกับความเป็นบัณฑิตปัจจุบัน, วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์. 2(2), 89-100.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.

รัชดาภรณ์ ตัณฑิกุล. (2559). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตคณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระราชูปถัมภ์. 11(2), 237-245.

วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์ และขวัญแข หนุนภักดี. (2565). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, วารสารวไลยลงกรณ์ปริทัศน์(คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 12(2), 14-27.

ศรีหทัย เวลล์ส. (2563). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อสมรรถนะของบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพาที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557-2560, วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 28(2), 212-240.

สมเดช นามเกตุ, พระศิลาศักดิ์ สุเมฌช และพระณัฐพงศ์ สิริสุวฺโณ. (2561). การปลูกจิตสำนึกทางจริยธรรมในสังคมไทย, วารสารปัญญาปณิธาน. 3(1), 13-27.

อดิศา เบญเจริญนานนท์. (2560). ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อนักศึกษาฝึกงาน สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วารสาร วิทยบริการ. 28(2), 184-194.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Shelly, M.W. (1995). Responding to Social Change. Pennsylvania: Dowdem, Hutchison Press.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29