ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในระดับดีเด่นของบุคลากรสายวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น, บุคลากรสายวิชาการ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่นของบุคลากรสายวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการที่มีสถานภาพการจ้างเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและไม่ดำรงตำแหน่งบริหารระดับหัวหน้าสาขาวิชาขึ้นไป และอยู่ปฏิบัติงานครบ 12 เดือน ในรอบปีการประเมิน ผลการปฏิบัติงานเป็นข้อมูลของปีประเมิน 2561-2565 จำนวน 201 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ค่าสถิติเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Spearman's rho เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระด้วยกันเอง การทดสอบไคสแควร์วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์แบบไบนารีเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ผลการศึกษาพบว่า 1) ตำแหน่งทางวิชาการส่งผลต่อการได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยพบว่าบุคลากรสายวิชาการที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ มีโอกาสได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่นมากกว่าตำแหน่งอาจารย์ 9.803 และ 2.785 เท่า ตามลำดับ และ 2) บุคลากรสายวิชาการที่มีปริมาณหน่วยภาระงานอื่น ๆ ในระดับสูง มีโอกาสได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น มากกว่าบุคลากรสายวิชาการที่มีปริมาณหน่วยภาระงานอื่น ๆ ระดับต่ำ 4.947 เท่า
References
เขมณัฏฐ์ มาศวิวัฒน์. (2565). การวิเคราะห์ภาระงานของบุคลากรตำแหน่งวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 (2565, 9 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 212 ง. หน้า 21-34.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2556, 18 กรกฎาคม). ประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องมาตรการติดตามภาระงานและผลงานทางวิชาการของ
ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพื่อการเลื่อนเงินเดือนและเพิ่มค่าจ้าง พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก https://personnel.psu.ac.th/com/com_231.pdf.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2558, 9 ธันวาคม). ประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องมาตรฐานภาระงานในฐานะอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก https://planning.psu.ac.th/documents/loadunit/Announced-PSU2558.pdf.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2559, 29 กันยายน). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จากhttps://hr.psu.ac.th/file/pdf/com_332.pdf.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2563ก, 30 มิถุนายน). ประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก https://personnel.psu.ac.th/com/com_406.pdf.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2563ข, 23 ธันวาคม). ประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนผลงานทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก https://hr.psu.ac.th/file/pdf/com_460.pdf.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2564, 11 พฤษภาคม). ประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องการกำหนดภาระงานบุคลากรประเภทวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก https://hr.psu.ac.th/file/pdf/com_482.pdf.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2565, 5 เมษายน). ประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง การแบ่งโครงสร้างหน่วยงานภายในส่วนงานประเภทนโยบายและบริหาร ประเภทวิชาการ และประเภทอำนวยการและสนับสนุนภารกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก https://docs.psu.ac.th/view/363751cf-b64b-4d55-a71a-770ab125fd31.
ศักดิ์ชัย จันทะแสง. (2565). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้โครงสร้างมหาวิทยาลัยและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 12(1), 95-109.
สมชนก ภาสกรจรัส. (2559). การจัดการเชิงเปรียบเทียบ/การจัดการข้ามวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์ และ เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์. (2560). ตัวแปรที่มีผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยวิจัยในประเทศไทย, วารสารเกษมบัณฑิต. 18(2), 77-93.
สุชาดา กองสวัสดิ์ และ วราภรณ์ หนูสงค์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุดสาคร สิงห์ทอง และ วรเดช จันทรศร. (2560). ธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในภาคใต้ของประเทศไทย. อินทนิลทักษิณสาร, 12(2), 89-112.
เสนาะ ติเยาว์. (2543). การบริหารงานบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรทัย เจริญสิทธิ์. (2560). การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารีสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์, 1(2), 1-9.
Janib, J., Mohd Rasdi, R., Omar, Z., Alias, S. N., Zaremohzzabieh, Z., & Ahrari, S. (2021). The relationship between workload and performance of Research University Academics in Malaysia: The mediating effects of career commitment and job satisfaction, Asian Journal of University Education. 17(2), 85. Retrieved January 23, 2023, from https://doi.org/10.24191/ajue.v17i2.13394.
Kim, L., Pongsakornrungsilp, S., Horam, N., & amp; Suong, S. (2023). How to make employees happy: Evidence from Thai University Lecturers, Problems and Perspectives in Management. 21(1), 482–492. Retrieved June 24, 2023, from https://doi.org/10.21511/ppm.21(1).2023.41.
Mohammed Borhandden Musah, Lokman Mohd Tahir, Hairuddin Mohd Ali, Shafeeq Hussain Vazhathodi Al-Hudawi, Mohammad Issah, Adnan Mohammed Farah, Asma Khaleel Abdallah, Naail Mohammed Kami. (2023). Testing the validity of academic staff performance predictors and their effects on workforce performance. International Journal of Evaluation and Research in Education (IJERE), 12(2), pp. 941-955.
Robert M. Diamond & Bronwyn E. Adam. (2023). The Disciplines Speak: Rewarding the Scholarly, Professional, and Creative work of faculty. New York: Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.