แนวทางการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน ‘ไกด์ทิพย์’ เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ยุวดี จิตต์โกศล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, การออกแบบโมบายแอปพลิเคชัน, การท่องเที่ยวโดยชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์งานวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้งานแอปพลิเคชัน ‘ไกด์ทิพย์’ ให้ตรงต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว และ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาแอปพลิเคชัน ‘ไกด์ทิพย์’ ให้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้ต่อนักท่องเที่ยว เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งที่มีและไม่มีประสบการณ์ในการเดินทางท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี 12 ราย วิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน ‘ไกด์ทิพย์’ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานของนัก ท่องเที่ยว ด้านการออกแบบ พบว่า ส่วนประกอบสำคัญในการออกแบบโมบายแอปพลิเคชัน ควรพัฒนาการออกแบบโมบายแอปพลิเคชันไม่เฉพาะในระบบ Android เท่านั้น พื้นฐานหลักการออกแบบแอปพลิเคชัน ควรมีการจัดรูปแบบในการใช้งานแบ่งเป็นโครงสร้าง (Section) ต่าง ๆ ให้ชัดเจน การสื่อสารการตลาดในยุคดิจิทัล ควรเพิ่มการเข้าถึงง่าย และความรวดเร็วในการใช้งาน และมุมมองฟีเจอร์ในด้านการใช้งาน ควรปรับการใช้งานในการสืบค้นสถานที่ตั้งให้แม่นยำ ด้านการออกแบบ ควรปรับการออกแบบไอคอนให้น่าสนใจ ต่อการใช้งาน ด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ควรเพิ่มการส่งเสริมการตลาด การจัดกิจกรรมอื่น ๆ และการสร้างชุมชนออนไลน์ ด้านคุณภาพของข้อมูล/เนื้อหา ควรมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนเพื่อความถูกต้อง และควรเพิ่มข้อมูลในแอปพลิเคชันให้เป็นปัจจุบันและครบถ้วน

Author Biography

ยุวดี จิตต์โกศล, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

 

References

กฤษติญา มูลศรี. (2562). นวัตกรรมและการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences. 8(2), 36-62. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565, จาก https://so05.tcithaijo.org/index.php/MFUconnexion/article/download/241036/164108/.

เกรียงศักดิ์ รักภักดี, วชิระ โมราชาติ. (2561). การใช้เทคนิคเหมืองข้อมูลเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานีจากความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 11 (3), 165-177.

เฉลิมพันธ์ ธโนปจัย. (2558). การออกแบบแอปพลิเคชั่นเพื่อแนะนำการบริโภคผลไม้ไทย. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนนิกานต์ เขียวคล้าย, ฐิติมา นันทะใจ, และทิพย์หทัย ทองธรรมชาติ. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันการท่องเที่ยว 5 อำเภอชายแดนจังหวัดตาก. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "8th National and 1st International Conference on Innovative Management Science for Sustainable Society". 783-792. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์ประชุมและนิทรรศการนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์ และพระครูปลัด นิเวช ชินวโร. (2564). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยว ของอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 10(1), 152-162.

ชินวัจน์ งามวรรณากร. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เรื่องภาษาอังกฤษสาหรับนักสารสนเทศ (รายงานการศึกษาอิสระ). ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ณฤทธิ์ จึงสมาน และคณะ. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ (รายงานการศึกษาอิสระ). สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.

พิริยะ ผลพิรุฬห์ และคณะ. (2563). การศึกษาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวไทย ปี 2563. ใน แผนงานท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์. เล่ม 1, หน้า 1-15). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : ฮาซันพริ้นติ้ง.

สุธิรา จันทร์ปุ่ม และคณะ. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนครบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 4(2),

-120.

สรรเพชญ ขอพึ่งกลาง และนราทัศน์ ประมวลสุข. (2562). โครงการออกแบบสื่อแอปพลิเคชันสำหรับการท่องเที่ยวภายในชุมชนเกาะเกร็ด (รายงานการศึกษาอิสระ). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). กรุงเทพฯ: สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565, จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329.

สุวภัทร ศรีจองแสง และคณะ. (2561). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงอัตลักษณ์การท่องเที่ยววิถีอีสานใต้. วารสารศิลปศาสตร์. 14(1), 198-231.

สหัทยา สิทธิวิเศษ, วรรณวิรัตน์ ตุงคะเวทย์ และคณะ. (2562). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยตนเองตามเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย. วารสารมังรายสาร. 7(1), 117-128.

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล. (2554). Digital Marketing ไอเดียปฏิวัติการตลาด. กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจ.

อัษฎา วรรณกายนต์, นิคม ลนขุนทด และคณะ. (2562). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยวเศรษฐกิจชุมชนและสินค้าโอทอป จังหวัดสุรินทร์. วิทยาศาสตร์ คชสาส์น. 41(1), 85-100.

Chen, K.Y., Hsu, Y.L., & Wu, C.C. (2012). Mobile phone applications as innovative marketing tools for hotels. International Journal of Organizational Innovation. 5(2), 116–140.

Munar, A. M., & Jacobsen, J. K. S. (2014). Motivations for sharing tourism experiences through social media. Tourism management. 43, 46-54.

Tarute, A., Nikou, S., & Gatautis, R. (2017). Mobile application driven consumer engagement. Telematics and Informatics. 34(4), 145-156.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29