การตลาดสินค้าเกษตรอย่างสร้างสรรค์ ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

ผู้แต่ง

  • พงศกร ศยามล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ชมพูนุท เพชรนิรมล นักวิชาการอิสระ
  • วรรณวิชณีย์ ทองอินทราช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • จีรนันท์ กล่อมนรา แก้วรักษา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การตลาดเชิงสร้างสรรค์, การสร้างมูลค่าเพิ่ม, สินค้าเกษตร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ การตลาดสินค้าเกษตรอย่างสร้างสรรค์ ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง มีรูปแบบการวิจัยเป็นเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการตลาดสินค้าเกษตรอย่างสร้างสรรค์ในตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง 2) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตรอย่างสร้างสรรค์ในตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง โดยคณะผู้วิจัยอาศัยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้นำชุมชน ตำบล บางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการตลาดสินค้าเกษตร ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 50 และ3) ชาวบ้าน ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง 20 คน คิดเป็นร้อยละ 40 รวมทั้งสิ้น 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) สินค้าทางการเกษตรของตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เป็นสินค้าทางการเกษตรที่มีคุณภาพ สามารถที่จะผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 2) ประชาชนขาดความรู้เรื่องการต่อยอดในการขายสินค้าทางออนไลน์ การจัดทำบรรจุภัณฑ์ที่น่าดึงดูด และการโพสต์ ขายออนไลน์ที่น่าสนใจ จึงนำประเด็นปัญหามาเป็นฐานในการวิเคราะห์ เพื่อค้นหาแนวทางในการพัฒนาต่อยอดด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้า เพื่อเกษตรกรผ่านกระบวนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแล้วกลุ่มเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปด้วยการสร้างแบรนด์ การหาทางเลือก และการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ เพื่อให้สามารถเข้าสู่การจัดจำหน่ายในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ได้ต่อไปในอนาคต

Author Biography

จีรนันท์ กล่อมนรา แก้วรักษา, คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

 

 

 

 

References

ฑัตษภร ศรีสุข นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์ และสุบิน แก้วเต็ม. (2563). ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพื่อพัฒนาทักษะด้านการตลาดของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง รองรับโครงการ Smart Farmer, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 14(2), 505 - 521.

ปวีณา ผาแสง ณัฎฐ์กร เงินวงศ์นัย และราชาวดี สุขภิรมย์. (2560). การศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอพื้นเมืองน่าน กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเฮี้ย ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วิทยาลัยชุมชนน่าน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สะคราญนิตย์ เล็กสุทธิ์ และพงศ์ศิริ ปิตุรัตน์เจริญกุล. (2563). การพัฒนารูปแบบการตลาดเกษตรอินทรีย์ของเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน จังหวัดลำพูน, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 14(2), 76 - 87.

สุรชัย ศรีนรจันทร์ และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2019). กระบวนการสร้างตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดออนไลน์สินค้าเกษตรอินทรีย์, วารสารวิชาการเกษตร. 37(2), 177 - 185.

วีระศักดิ์ สมยานะ. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง, วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 20(2), 14 - 27.

Torsten H. Nilson. (1992). Value - Added Marketing: Marketing Management for Superior Results (McGraw-Hill Marketing for Professionals). McGraw-Hill.

Buasri, R. and Ritimat, A. (2021). Promoting marketing online for organic farmer community research enterprise in North Eastern, MBU Roi Et Journal of Global Education Review. 1(3) : 22 - 32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29