การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวิสาหกิจชุมชนเกาะสิเหร่ร่วมใจพัฒนาผ้าปาเต๊ะ จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • บัณฑิต ไวว่อง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • สุรเดช ทองแกมแก้ว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • รุ่งนภา อริยะพลปัญญา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

การจัดการทรัพยากรมนุษย์, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวิสาหกิจชุมชนเกาะสิเหร่ร่วมใจพัฒนาผ้าปาเต๊ะ จังหวัดภูเก็ต วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อหา แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกาะสิเหร่ร่วมใจพัฒนาผ้าปาเต๊ะ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จำนวน 25 คน ผลการวิจัย พบว่า ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ บุคคลที่จะเข้าร่วมกลุ่มจะสมัครสมาชิกหรือไม่สมัครเป็นสมาชิกก็ได้แล้วแต่ความสมัครใจ ประเด็นการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ยังไม่มีการวางแผนงานในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภายในกลุ่ม เนื่องจากสมาชิกไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานประเด็นการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ทำให้ขาดการวางแผนงานบุคคล ประเด็นการทำงานเป็นทีมและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและสร้างความเข้าใจร่วมกันผ่านการประชุม ประเด็นด้านภาวะผู้นำ ประธานกลุ่มเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความรับผิดชอบและสามารถแก้ไขปัญหาของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มุ่งเน้นสร้างความตระหนักให้กับสมาชิกในกลุ่ม ให้เห็นคุณค่าในตนเองและความสำคัญของผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะของกลุ่ม ประเด็นด้านการฝึกอบรม มีการกำหนดความต้องการฝึกอบรมให้สมาชิก โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะระหว่างสมาชิก กับสมาชิกด้วยกันเอง มีการหาความรู้ใหม่จากการศึกษาดูงาน ประเด็นการพัฒนาศึกยภาพในการบริหารจัดการ มีการรวมกลุ่มกันเพื่อพูดคุยหารือกันและช่วยกันออกความคิดที่สร้างสรรค์เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม โดยการบริหารจัดการส่วนใหญ่จะผ่านกระบวนการของการมีส่วนร่วมเพื่อความสำเร็จของวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

References

จรีภรณ์ มีศรี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชาลีวรรณชุมชนพัฒนา ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (รายงานการวิจัย). สำนักงานประมง จังหวัดฉะเชิงเทรา กรมประมง. ฉะเชิงเทรา : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

จักรพงษ์ พวงงามชื่อ และคณะ. (2558). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

บัญฑิต ไวว่อง. (2565). การดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปผ้าปาเต๊ะ (รายงานการวิจัย). สำนักงานจังหวัดภูเก็ต, ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

วราภรณ์ อ่อนคำ และคณะ. (2564). ศักยภาพในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษากลุ่มอาชีพการทอเสื่อกก แม่บ้านตะวันสีทอง บ้านท่าเสียว ตำบลสะอาด อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด, วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(6), 255-270.

สำนักนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดภูเก็ต. (2564). รายงานข้อมูลด้านการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดภูเก็ต. กลุ่มสารสนเทศการเกษตร, ภูเก็ต : สำนักนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดภูเก็ต.

สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (2564). แผนปฏิบัติราชการประจำปีจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด, ภูเก็ต.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). รายงานมูลค่าการนำเข้าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2565. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, กรุงเทพฯ : ฝ่ายข้อมูลและสารสนเทศ, กระทรวงอุตสาหกรรม.

อนิวัช แก้วจำนงค์. (2566). เทคนิคการเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ. ในเอกสารการบรรยายศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ. วันที่ 6-7 ตุลาคม 2566 คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Mondy, Wayne, R., Robert, M., Noe, R. A. & Shane, R. P. (1999). Human Resource Management (7th ed.). New Jersey : Prentice – Hall International.

Morgan, D. L. (1998). The focus group guidebook. California : Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29