ทุนทางวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาแพลตฟอร์มการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนริมคลองปากประ จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • พา ผอมขำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พรพันธุ์ เขมคุณาศัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พรไทย ศิริสาธิตกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ทุนทางวัฒนธรรม, การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, แพลตฟอร์ม, ชุมชนริมคลองปากประ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุมชนริมคลองปากประ และศึกษาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนริมคลองปากประ ผลการศึกษา ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนริมคลองปากประ มี 2 ประเภท 1) ทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 2) ทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี 2 ประเภท คือ ทรัพยากรที่ใช้แล้วเกิดแทนได้ และ ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดไป ซึ่งทุนมีอยู่ในพื้นที่สอดคล้องกับแนวทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ดังนั้น การสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในรูปแบบ PAKPRA MODEL เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 6 กระบวนการ 1) การสร้างความสัมพันธ์ 2) การสร้างทัศนคติร่วม 3) การมีส่วนร่วม 4) การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ 5) การจัดการองค์ความรู้ และ 6) การจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนปากประออกแบบเป็น 3 แพลตฟอร์ม คือ แพลตฟอร์มพื้นที่สร้างการเรียนรู้ผ่านการจัดกิจกรรม แพลตฟอร์มพื้นที่สร้างการรับรู้ ผ่านการผลิตสื่อสารโฆษณา แพลตฟอร์มพื้นที่สร้างการปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาแพลตฟอร์มทั้ง 3 ทำให้นักท่องเที่ยวมีการรับรู้และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมขนริมคลองปากประเพิ่มมากขึ้น

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพ : กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2562, จาก https://thai.tourismthailand.org/about-tat/annual- report/.

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2556). แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. ค้นข้อมูลกันยายน 1, 2560,จาก http://tourismdan1.blogspot.com/

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ไม่มีวันตายของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ซี.พี.บุคสแตนดาส.

พณกฤษ อุดมกิตติ. (2556) . การจัดการเส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืนในพื้นที่เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร.; (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557). การจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาบ้านโครกไคร จังหวัดพังงา. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557). การจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาบ้านโครกไคร จังหวัดพังงา. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2014(7), 650-665.

เพชรศรี นนท์ศรี. (2555). รูปแบบการดำเนินงานของกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 8(2), 47-65.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2558). การให้ความหมายรูปแบบและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวแบบดาร์กทัวร์รึซึ่มพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8(2), 571-592.

รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. (2539). ปฐกถาทุนทางวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิไชย้ง ลิ้มทองกุล.

วิไลลักษณ์ ชมพูศรี. (2544). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สมประสงค์ น่วมบุญลือ. (2550). เอกลักษณ์และคุณค่าของทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เอกสารการสอนชุดวิชา ทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทย หน่วยที่ 9 - 15 (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุดสันต์ สุทธิพิศาล. (2555). การท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อมรา พงศาพิชญ์. (2549). ความหลากหลายทางวัฒนธรรมกระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ferguson, George A. and Takane, Yoshio. Statistical Analysis in Psychology and Education. Sixth Edition. Singapore : McGraw-Hill, Inc., 1989.

Hall, Colin Micheal. (1998). Introduction to tourism development. Dimension ann lssues. Malaysia : Longman.

ICOMOS Australia. (1999). The Burra Charter: The Australia ICOMOS Charter for Pleces of Cultural Significance. Australia : ICOMOS.

Klapper, J. T. (1960). Effects of mass communication. New York: Free Press.

Richards, G. and Raymond, C. (2000), Creative Tourism. ATLAS News 23, 16 - 20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31