แนวคิดการสอนแบบ 8Ps ที่เน้นการปฏิบัติเพื่อการสอนการบรรเลงดนตรี

ผู้แต่ง

  • ไกรวิทย์ สุขวิน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สิชฌน์เศก  ย่านเดิม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การสอนทักษะ, การสอนดนตรี, การบรรเลงดนตรี, แนวคิด 8Ps

บทคัดย่อ

การสอนบรรเลงดนตรีมีเป้าประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีนั้นได้ โดยอาศัยรูปแบบวิธีการสอนที่ใช้สำหรับการสอนดนตรีเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะถูกคิดค้นโดยนักดนตรีศึกษาที่มีชื่อเสียง หรือนำแนวคิดทางการสอนที่เน้นการปฏิบัติมาประยุกต์กับเนื้อหาบทเรียนการบรรเลงดนตรี หากแต่แนวคิดนั้นอาจยังมีช่องว่างของกระบวนการ ซึ่งมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้การบรรเลงดนตรี บทความนี้จึงมุ่งอธิบายแนวคิดการสอนที่เน้นการปฏิบัติโดยประยุกต์ใช้กับการสอนบรรเลงดนตรี และการวิเคราะห์เพื่อนำข้อสรุปจากแนวคิดเหล่านั้นมาพัฒนาเป็นแนวคิดการสอนที่เน้นการปฏิบัติสำหรับการสอนบรรเลงดนตรีเป็นการเฉพาะ ผลของการศึกษาจึงเกิดเป็นแนวคิดการสอนทักษะการบรรเลงดนตรี 8Ps ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation) 2) ขั้นเรียนรู้แรกเริ่ม (Primary) 3) ขั้นปฏิบัติ (Practice) 4) ขั้นปรับประยุกต์ (Practical) 5) ขั้นปฏิบัติอย่างถูกต้องและเป็นธรรมชาติ (Precise and Naturally Practice) 6) ขั้นปฏิบัติร่วม (Practice with Group) 7) ขั้นก้าวหน้า (Progress) และ 8) ขั้นสร้างตัวตน (Prominence or Be a Self – Made) โดยแนวคิดนี้อธิบายตั้งแต่ขั้นแรกก่อนการเรียนรู้ดนตรีกระทั่งผู้เรียนมีเอกลักษณ์ทางดนตรีเป็นของตนเอง ซึ่งส่งเสริมให้การเรียนรู้ทางดนตรีนั้นสมบูรณ์และผู้สอนสามารถปรับประยุกต์กับการสอนการบรรเลงดนตรีรูปแบบต่าง ๆ ได้

Author Biography

สิชฌน์เศก  ย่านเดิม, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

References

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). สังคีตนิยม : ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2563). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤดีมน ศรีสุพรรณ. (2559). สังคมวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สธน โรจนตระกูล. (2559). ดนตรีนิยม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (ม.ป.ป.). การบรรเลงดนตรีไทย. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566, จาก https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=1&chap=9&page=t1-9-infodetail05.html

สิชฌน์เศก ย่านเดิม. (2558). แนวคิดทฤษฎีการสอนดนตรี, วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 19(2), 21 – 31.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

Gupta, D. (2022, January 12). 7 Types of Knowledge: Explicit, Implicit, Tacit, & More. Retrieved March 27, 2023, from https://whatfix.com/blog/types-of-knowledge/.

Shatz, I. (2016). The Factors that Determine Success at Learning. Retrieved March 27, 2023, from https://effectiviology.com/three-factors-determine-success-at-learning/.

Steiner, E. (1988). Methodology of Theory Building. Sydney : Educology Research Associates.

University of Nebrask. (2015). Cognitive Domain. Retrieved March 28, 2023, from https://psych.unl.edu/psycrs/971/tch/all%203%20blooms%202015.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31