แนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารชุมชนชาติพันธุ์ขมุบ้านบนเขาแก่งเรียง ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี โดยยุทธศาสตร์ BCG
คำสำคัญ:
กลุ่มชาติพันธุ์ขมุ, ความมั่งคงทางอาหาร, ศักยภาพชุมชน, ยุทธศาสตร์ BCGบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน และศักยภาพชุมชนบ้านบนเขาแก่งเรียง 2) เพื่อสังเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารชุมชนชาติพันธุ์ขมุบ้านบนเขาแก่งเรียง และ 3) เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชาติพันธุ์ขมุโดยยุทธศาสตร์ BCG ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประยุกต์วิธีวิจัยทางมานุษยวิทยา และการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มเครือข่ายบ้าน 25 คน (2) กลุ่มเครือข่ายวัด 3 รูป/คน และ (3) กลุ่มเครือข่ายราชการ 3 คน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม พื้นที่ศึกษา คือ บ้านบนเขาแก่งเรียง ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ผลการวิจัยพบว่า (1) บ้านบนเขาแก่งเรียง เป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุมาตั้งแต่อดีต บรรพบุรุษอพยพจากเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว วิถีชีวิตทำการเกษตร ศักยภาพชุมชน คือ 1) ทุนพื้นฐาน 2) ทุนธรรมชาติ 3) ทุนมนุษย์ 4) ทุนทางสังคม และ 5) ทุนวัฒนธรรม ทำให้ชุมชนแห่งมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น (2) ชุมชนมีความมั่นคงทางอาหารเนื่องจากชุมชนมีศักยภาพในการเข้าถึงทรัพยากรอาหารจากหลายแหล่ง ปัจจุบันการผลิตแบบยังชีพเปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อขาย วิถีพึ่งพาป่าลดลง และ (3) แนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ได้แก่ 1) การจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของทรัพยากร 2) การใช้จุดแข็ง และศักยภาพของพื้นที่ยกระดับมูลค่าการผลิตสินค้า 3) การใช้องค์ความรู้ช่วยยกระดับให้ชุมชนสามารถแข่งขันได้ และ 4) สร้างภูมิคุ้มกันในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
References
กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
จอมขวัญ ชุมชาติ. (2558). ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนโคกพะยอม ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ชัยณรงค์ ศรีรักษ์ และคณะ. (2563). กิ จกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้การวิจัยลุ่มแม่น้ำสุพรรณบุรี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
ธนันชัย มุ่งจิต. (2555). แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพด้านความมั่นคงทางอาหารบ้านแม่สุริน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นพรัตน์ ไชยชนะ และจักษุมาลย์ วงษ์ท้าว. (2561). ความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรมบนความหลากหลายของทรัพยากรท้องถิ่น บ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี, วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 11(1), 47 – 72.
นพรัตน์ ไชยชนะ และวีระวัฒน์ อุดมทรัพย์. (2559). "ลือกาเวาะ" วิถีการทำมาหากินกะเหรี่ยงโปร์บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 11(2), 119 -132.
นพรัตน์ ไชยชนะ. (2561). แนวทางเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านความมั่นคงทางอาหาร: กรณีศึกษาบ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี, วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8(1), 158–171.
นพรัตน์ ไชยชนะ. (2562). แกงบวนบ้านตลิ่งแดงและความมั่นคงทางอาหารในท้องถิ่น, วารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ. 14 (1): 121 – 151.
นพรัตน์ ไชยชนะ. (2562). อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์มอญจากรุ่นสู่รุ่น กรณีศึกษาบ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นพรัตน์ ไชยชนะ. (2563). แนวทางเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านความมั่นคงทางอาหาร: กรณีศึกษาบ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี, วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8(1), 158 – 171.
พรทิพย์ ติลกานันท์. (2557). การนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมุข ชาญธนะวัฒน์. (2548). ชุมชนนี้มีความหมาย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 24(1), 46 – 60.
ภานุมาศ สุนทรวิจิตร. (2559). ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนคลองแดน กรณีศึกษาตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิวัฒน์ คติธรรมนิตย์. (2536). สิทธิชุมชน: การกระจายอำนาจจัดการทรัพยากร. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
ศจินทร์ ประชาสันติ์ และคณะ. (2555). ความมั่นคงทางอาหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน.
ศจินทร์ ประชาสันติ์. (2552). การพัฒนาตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).
สถาบันวิจัยสังคม. (2556). การศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่อนุรักษ์: กรณีชุมชนกะเหรี่ยงในผืนป่าตะวันตก ปีที่ 1 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันวิจัยสังคม. (2559). ศึกษาเพื่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่อนุรักษ์: กรณีศึกษาชุมชนกะเหรี่ยงในผืนป่าตะวันตก ปีที่ 2 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภา ใยเมือง. (2555). ตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน. นนทบุรี: มูลนิธิชีววิถี.
สุรชัย รักษาชาติ. (2545). ความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนของคนชายขอบ : รูปแบบการบริโภคและแหล่งที่มาของอาหารของครัวเรือนภาคตะวันตกประเทศไทย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
โสฬส ศิริไสย์ และคณะ. (2551). โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการในประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
อรพรรณ ศรีทอง และเฉลิมพล ศรีทอง. (2563). การศึกษาภูมิปัญญาวัฒนธรรมการปลูกข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุกรณีศึกษาบ้านบนเขาแก่งเรียง ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี, วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 5(1): 155 – 167.
Alkon, A.H. (2011). Food Security. Los Angeles: SAGE Publications, Inc.
Chaichana, N. (2018). Modes of Production and Food Security in Cultural Dimensions BanThiphuye, Thailand, Asian Political Science Review. 2 (2): 24 - 32.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.