“อุดมคติและระบบคุณค่า” ของสังคมท้องถิ่นภาคใต้ ทศวรรษ 2460-2490 : กรณีศึกษาผ่านนิราศท้องถิ่นภาคใต้
คำสำคัญ:
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, นิราศ, อุดมคติ, ระบบคุณค่า, ท้องถิ่นภาคใต้บทคัดย่อ
บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ อุดมคติและระบบคุณค่าที่ปรากฏในนิราศท้องถิ่น ภาคใต้ ทศวรรษ 2460–2490 โดยอาศัยการศึกษาตามแนวพินิจทางประวัติศาสตร์ (Historical approach) ซึ่งมีนิราศเป็นตัวบทและแกนสำคัญในการเดินเรื่อง รวมถึงเอกสารและหลักฐานอื่นๆ ประกอบการอธิบายบริบทการเกิดขึ้นของอุดมคติและระบบคุณค่าในสังคมท้องถิ่นภาคใต้ในช่วงดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า อิทธิพลและความเปลี่ยนแปลงของรัฐราชการสมัยใหม่ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง ช่วงทศวรรษ 2460-2490 ก่อให้เกิดอุดมคติแบบใหม่ในสังคมท้องถิ่นภาคใต้ และได้สร้างระบบคุณค่าแบบใหม่ขึ้นมาในท้องถิ่น เพื่อสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งอุดมคติและคุณค่าของสังคมท้องถิ่นเหล่านี้ตกผลึกผ่านนิราศท้องถิ่นภาคใต้อย่างชัดเจน อุดมคติและระบบคุณค่าของสังคมท้องถิ่นภาคใต้ทศวรรษ 2460-2490 ที่ตกผลึกผ่านนิราศนั้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างลอย ๆ หากแต่ถูกกำกับด้วยบริบททางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและกรอบความคิดของรัฐราชการจากส่วนกลาง โดยเฉพาะกระแสความเป็นชาติ(นิยม)และความเป็นไทย ระบบทุนนิยม และการศึกษาสมัยใหม่ ซึ่งได้กลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของสังคมท้องถิ่น เพราะฉะนั้น อุดมคติและระบบคุณค่าจึงแสดงออกทั้งในระดับปัจเจก ระดับสังคมท้องถิ่น ระดับชาติและศาสนา ซึ่งมีบรรทัดฐานจากภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ฐานะทางสังคม การประกอบอาชีพ และการนับหน้าถือตาในสังคม อุดมคติและระบบคุณค่าที่เด่นชัดจึงเป็นเรื่องของความเป็นผู้หญิง ความเป็นแม่ ความเป็นภรรยา ความเป็นผู้ชาย ความเป็นข้าราชการ ความเป็นพระภิกษุสงฆ์ ความเป็นพลเมือง และความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
References
กระจ่าง แสงจันทร์. (2555). “นิราศเทพา” และ “นิราศทุ่งหวัง”, ใน อภิลักษณ์ เกษมผลกุล (บรรณาธิการ), กระจ่างครูผู้ถวายพระอักษร. (125 - 167). นครปฐม : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
กวี รังสิวรารักษ์ (รวบรวม). (2544). นิราศเรือนจำ ฉบับดั้งเดิม. กรุงเทพฯ : ธารบัวแก้ว.
ขาว โอภาสวนฺโน,พระครู. (2486). อาจารย์สอนสิส, พิมพ์แจกไนงานฉลองตราตั้งอุปชาย์และทำบุญอายุท่านอาจารย์เมค เจ้าคนะหมวด วัดนิโครธาราม นะ วันที่ 10-12 พรึสภาคม 2486. พระนคร: บรรนกิจ.
คนะ ร.ส. 130. (2487). ถัด, พิมพ์ชำร่วยไนงานพระราชทานเพลิงสพ ร้อยตรี ถัด รัตนพันธุ์ ผู้แทนราสดรจังหวัดพัทลุง นะวัดภูผาภิมุข จังหวัดพัทลุง วันที่ 14 พรึสภาคม พุทธสักราช 2487. พระนคร: อำพลพิทยา.
งานประจำปีนครศรีธรรมราช : หนังสือบันเทิงคดีและสารคดี. (2477). พิมพ์ออกจำหน่ายที่ระลึกในงานประจำปีเดือนสิบจังหวัดนครศรีธรรมราช. พระนคร : ไทยเกษม.
จิตตมาศ จิระสถิตพร. (2560). พัฒนาการทางการศึกษาของผู้หญิงไทย พ.ศ. 2500-2540: หลักสูตรการศึกษากับการพัฒนาผู้หญิงสู่ความทันสมัย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดำขำ ชาวบก. (2532). นิราศกลางทะเลหลวง (นิราศสงขลา). พิมพ์เป็นธรรมบรรณาการ งานฉลองสมณยศ พัดยศ พระครูปิยสิกขการ รองเจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 30 เมษายน 2532). กรุงเทพฯ : นีลนาราการพิมพ์.
ถัด พรหมมาณพ. (2480). สุภาษิตสอนใจสำหรับบุรุษและสตรี. พระนคร : ธรรมพิทยาคาร. ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2558). อ่านจนแตก : วรรณกรรม ความทันสมัย และความเป็นไทย. กรุงเทพฯ : อ่าน.
ธันยพร ขุนราช. (2560). “ ‘เกลอ’ ระบบคุณค่าในสังคมที่เปลี่ยนผ่าน (พ.ศ. 2452–พ.ศ. 2558),” ใน พรพันธุ์ เขมคุณาศัย (บรรณาธิการ), ไทยคดีศึกษาในมิติท้องถิ่นภาคใต้. (110 – 115). สงขลา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2527). ปากไก่และใบเรือ : รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์.
เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน. (2553). ในกระจก : วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน. กรุงเทพฯ : อ่าน.
ประคองคดี, หลวง. (2482). นิราสปากพนัง. ม.ป.ป. : ม.ป.ท.
พ.ป. โกไศยกานนท์. (2476). ประเทศ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์. พระนคร :โรงพิมพ์พระจันทร์.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
พรชัย นาคสีทอง. (2564). ท้องถิ่นในรัฐชาติ - รัฐชาติในท้องถิ่น : การประสานและการผูกโยงของอารมณ์ความรู้สึกและความใฝ่ฝันแบบรัฐชาติกับสำนึกท้องถิ่นในหนังสือแจกงานศพของภาคใต้ ทศวรรษ 2460 – 2490, ปาริชาติ. 34(1) : 119 – 137.
พรชัย นาคสีทอง. (2563). ประวัติศาสตร์ครอบครัวและระบบเครือญาติกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา. กรุงเทพฯ : สกสว.
พระครูขาว โอภาสวนฺโน. (2486). อาจารย์สอนสิส. พระนคร : บรรณกิจ.
พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู). (2516). นิราศรับพัชนิ์. (จัดพิมพ์เนื่องในงานชุมนุมชาวจะทิ้งพระครั้งที่ 2 วันที่ 20 ตุลาคม 2516 ณ หอประชุมโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา). สงขลา : ม.ป.ท.
พระพิไชยเดชะ. (2475). เทศนา, พิมพ์แจกในงานปลงศพ นางพิไชยเดชะ (พุ่ม กาญจนสุวรรณ). พระนคร: ไทยใหม่.
พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2555). ลักษณะเด่นและบทบาททางสังคมของวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิเชฐ แสงทอง. (2545). ศึกษาลักษณะเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชาวนาบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในวรรณกรรมนิราศ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิเชฐ แสงทอง. (2559). วรรณกรรมท้องถิ่นเชิงวิเคราะห์. พัทลุง : ศูนย์ทะเลสาบศึกษา.
พิเชฐ แสงทอง. (2563). วรรณกรรมและเรื่องเล่าประจำถิ่นกับการฟื้นพลังและสร้างพลังทางสังคมในชุมชนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา. กรุงเทพฯ : สกสว.
ภัทรนิษฐ์ เกียรติธนวิชญ์. (2562). รัฐและสังคมสยามกับการจัดการความรู้สึก : ระบอบความสยดสยอง, พ.ศ. 2394–2453 (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยงยุทธ ชูแว่น และ ประมวล มณีโรจน์. (2546). บทสังเคราะห์เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในมิติประวัติศาสตร์. พัทลุง : ศูนย์ทะเลสาบศึกษา.
ยงยุทธ ชูแว่น. (2564ก). ประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นกับการพัฒนาในบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา. กรุงเทพฯ : สกสว.
ยงยุทธ ชูแว่น. (2564ข). บทสังเคราะห์การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นกับการพัฒนาในบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา : การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ยกฐานอำนาจท้องถิ่น ลดความเหลื่อมล้ำ. กรุงเทพฯ : สกสว.
วชิรญาณวโรรส, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2467). หนังสืออรรถศาสตร์, พิมพ์แจกในงานปลงศพพระครูวิจารณ์ศีลคุณ เจ้าคณะแขวงอำเภอจะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ : นุกูลวัฒนะ.
วินัย สุกใส. (2546). วิเคราะห์ภาพสะท้อนเศรษฐกิจสังคมชุมชนลุ่มทะเลสาบสงขลาที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทร้อยกรองในยุคการพิมพ์ (พ.ศ.2472-2503) (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วินัย สุกใส. (2562). “ประเพณีลายลักษณ์ในชุมชนลุ่มทะเลสาบสงขลา : วัฒนธรรมแห่งความรู้จากยุคตัวเขียนสู่ยุคการพิมพ์(1-3),” รูสมิแล. 40(1-3) : 55 – 66, 33 – 44, 27 – 36.
วิมลมาศ ปฤชากุล. (2556). “จาก ‘หนังสือบุด’ สู่ ‘หน้ากระดาษ’ : ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมวรรณกรรมของภาคใต้กับภาคกลาง,” รูสมิแล. 34(3) : 57 – 62.
ศรีธรรมราชศึกษา. (2472). สงขลา : โรงพิมพ์พานิช.
สงบ ส่งเมือง. (2525). ท้องถิ่นนิยมกับปัญหาการรวมชาติสมัยรัชกาลที่ 5 และผลกระทบที่มีต่อปัญหาการเมืองการปกครองปัจจุบัน : ศึกษาเฉพาะกรณีภาคใต้. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สมิทธ์ ถนอมศาสนะ. (2558). การเปลี่ยนแปลงทางความคิดของชนชั้นกลางไทยกับ “เรื่องอ่านเล่น” ไทยสมัยใหม่ ทศวรรษ 2460-ทศวรรษ 2480 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีนิพนธ์). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สายชล สัตยานุรักษ์, เกษรา ศรีนาคาและ ภัทริยา คงธนะ. (2560). “สื่อ อัตลักษณ์ และระบบคุณค่า,” มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 37(1) : 245 – 275.
สายชล สัตยานุรักษ์. (2545). ความเปลี่ยนแปลงในการสร้าง “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดย หลวงวิจิตรวาทการ. กรุงเทพฯ : มติชน.
สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ. (2565, มกราคม - มิถุนายน) “แม่และแม่บ้านสมัยใหม่ : ผู้หญิงดี, ความเป็นไทย, และวิทยาศาสตร์ ทศวรรษ 2460 – 2490” ประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์. 9(1) : 125 – 156.
อุทิศ สังขรัตน์. (2546). การแลกเปลี่ยนผลผลิตของชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา ในสมัยเรือเมล์ (พ.ศ. 2465-2516). (ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.