กรรมวิธีการสร้างโทนชาตรีของช่างสุวรรณ์ โพธิปิน

ผู้แต่ง

  • จตุรงค์ ประสงค์ดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภัทระ คมขำ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

โทนชาตรี, กระสวนหุ่น, กระแสเสียง, ช่างสุวรรณ์ โพธิปิน

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องกรรมวิธีการสร้างโทนชาตรีของช่างสุวรรณ์ โพธิปิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติชีวิตของช่างสุวรรณ์ โพธิปินและกรรมวิธีการสร้าง โทนชาตรี รวมไปถึงปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพเสียงโทนชาตรีของช่างสุวรรณ์ โพธิปิน ผลการศึกษาพบว่า ช่างสุวรรณ์ โพธิปิน เป็นช่างทำกลองชาวจังหวัดอ่างทอง โดย กำเนิด ได้รับการถ่ายทอดวิชาช่างทำกลองมาจาก นายแสวง โพธิปิน ผู้เป็นบิดา ช่างสุวรรณ์ได้สั่งสมประสบการณ์และพัฒนาคุณภาพการทำกลองโดยมีข้อคำนึง 3 ประการ คือ สวย ดัง ทน กรรมวิธีการสร้างโทนชาตรีของช่างสุวรรณ์นั้นมีทั้งหมด 30 ขั้นตอนโดยจะแบ่งเป็นขั้นตอนสำหรับกลึงและคว้านหุ่นกลอง 15 และขั้นตอน สำหรับขึ้นหน้ากลองทั้งหมด 15 ขั้นตอน ในทุกขั้นตอนเต็มไปด้วยรายละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกหนังวัวสดและไม้ประดู่ที่มีความชื้นในระดับที่พอดี ซึ่งต้องอาศัย ความชำนาญและประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในทุกขั้นตอนเช่นกัน เหตุในข้างต้นล้วนแต่ส่งผลให้โทนชาตรีของช่างสุวรรณ์มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนคือ กระสวนหุ่นที่มีขนาดเล็กแต่ยังคงมีกระแสเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของโทนชาตรีได้ อย่างดี ทั้งยังเหมาะแก่การนำไปใช้งานจริงอีกด้วยเหตุในข้างต้นล้วนแต่ส่งผลให้ โทนชาตรีของช่างสุวรรณ์มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน คือกระสวนหุ่นที่มีขนาดเล็กแต่ยังคงมีกระแสเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของโทนชาตรีได้ อย่างดี ทั้งยังเหมาะแก่การนำไปใช้งานจริงอีกด้วย

References

ธนิต อยู่โพธิ์. (2500). เครื่องดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ทรัพย์สินทางปัญญา. กรม. (2544). เมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสาร ทรัพย์สินทางปัญญา. 7(3), 6.

ประภาศรี ศรีประดิษฐ์. (2545). ละครเท่งตุ๊กในจังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญช่วย แสงอนันต์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จตุรงค์ ประสงค์ดี (ผู้สัมภาษณ์). ที่หมู่บ้าน 2521 แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ. เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565.

บุญสร้าง เรืองนนท์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จตุรงค์ ประสงค์ดี (ผู้สัมภาษณ์). ที่วัดชัยพฤกษมาลา ซอย 16 แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ. เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565.

พิน เรืองนนท์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จตุรงค์ ประสงค์ดี (ผู้สัมภาษณ์). ที่คณะละครชาตรี ครูพูน เรืองนนท์ แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ. เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565.

สุวรรณ์ โพธิปิน (ผู้ให้สัมภาษณ์). จตุรงค์ ประสงค์ดี (ผู้สัมภาษณ์). ที่หมู่บ้านทำกลอง ตำบลเอกราช อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564.

อนุชา บริพันธุ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จตุรงค์ ประสงค์ดี (ผู้สัมภาษณ์). ที่สำนักการสังคีต กรมศิลปากร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ. เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565.

อนันต์ ดุริยพันธุ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จตุรงค์ ประสงค์ดี (ผู้สัมภาษณ์). ที่วัดบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ. เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19