ศึกษาและสร้างสรรค์ประสบการณ์ทางสุนทรียะจากผลงานทัศนศิลป์ ในวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่ 2) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • ภูวนาถ บุญสุวรรณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ประสบการณ์ทางสุนทรียะ, ผลงานทัศนศิลป์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการศึกษาและสร้างสรรค์ ประสบการณ์ทางสุนทรียะจากผลงานทัศนศิลป์ในวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่ 2) (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการศึกษาและสร้างสรรค์ประสบการณ์ทางสุนทรียะจากผลงานทัศนศิลป์ ในวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่ 2) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชน ไมตรีอุทิศ จังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จํานวน 30 คน ได้มาจาก การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบประเมินความพึงพอใจ ผ่านการ ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏ ว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .01 เป็นไปตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นผลจากรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ ที่เน้นการปฏิบัติไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน สามารถพัฒนาการเรียนของผู้เรียนได้ เนื่องจากนักเรียนได้รับประสบการณ์จริงจากแหล่งการเรียนรู้ (2) นักเรียนมีความพึง พอใจต่อการศึกษาและสร้างสรรค์ประสบการณ์ทางสุนทรียะจากผลงานทัศนศิลป์ใน วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่ 2) อยู่ในระดับมากที่สุด และพบว่า ผู้เรียนได้ซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น รู้สึกถึงคุณค่าและเกิดสุนทรียะจาก การได้ศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) . หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.

กนกฉัตร โกมลมณี. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องศิลปะท้องถิ่นวัดกลางวรวิหาร จังหวัดสมุทรปราการ โดยการ จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาแบบร่วมมือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

เทศบาลเมืองบางบัวทอง. (2557). หนังสือที่ระลึกครบรอบ 77 ปี เทศบาลเมือง บางบัวทอง.

ธาริน กลิ่นเกษร. (2554). ผลของการส่งเสริมประสบการณ์ทางสุนทรียะ ผ่านกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีต่อสุนทรียภาพของนักเรียน ประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

บุรินทร์ พิมมงละ. (2555). การสร้างหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ทัศนศิลป์ในวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิสิฐ น้อยวังคลัง. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบเปิดด้านทัศนศิลปศึกษา เพื่อผู้เรียนวัยผู้ใหญ่, วารสารห้องสมุด. 64(1), 20-35.

มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. (2545). กระบวนการเรียนการสอนทัศนศิลป์ในระดับ ประถมศึกษาสําหรับครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563. นนทบุรี : งานบริหารวิชาการ โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ.

วัชรินทร์ ฐิติอดิศัย. (2556). การจัดการเรียนการสอนศิลปะโดยใช้แหล่งเรียน รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น, วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 7(1), 10.

ศรินทร เอี่ยมแฟง. (2555). ความลงตัวของศิลปะและเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2564, จาก https://www.trueplookpanya.com/tcas/article/ detail/11658 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ และแบบที่เน้นการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด.

อำไพ ตีรณสาร. (2543). ทฤษฎีการสอนศิลปศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก http://pioneer.netserv. chula. ac.th/-tampail/ampai/ttheory.htm .

Dewey, J. (1983). Experience and Education. New York : Collier.

Government of Ireland. (1999). Visual Arts Arts Education Teacher. Guidelines: Mozzon Giuntina-Florence and Officine Grafiche De Agostini-Novara.

Smith, R., A. (1980). The Sense of Art. A Study in Aesthetic Education. New York : Routledge.

Tunyaboontrakun, P. (2019). Effects of organizing visual art course based on discipline based art education upon art learning achievement of grade fourth students, Journal of Education Silpakorn University. 17(1), 179-197.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19