ความเชื่อและพิธีกรรมแห่เกี้ยวพระหมอ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง เมืองปัตตานี
คำสำคัญ:
ความเชื่อ, ปัตตานี, พระหมอ, พิธีกรรม, แห่เกี้ยวบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมแห่เกี้ยวพระหมอ จากศาลเจ้าเล่งจูเกียง ออกแห่ในเมืองปัตตานี ศึกษาด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะจง และร่วมพิธีกรรมกับสังเกต ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้ทำพิธีและร่วมพิธีอย่างใกล้ชิด มีผู้สูง อายุ ผู้ใหญ่ และวัยรุ่น รวม 6 คน ผู้ให้ข้อมูลรองคือผู้ร่วมพิธีรอบนอก 10 คน การ ศึกษาใช้แนวคิดเรื่องความเชื่อ พิธีกรรม องค์ประกอบในพิธี ขอบเขตด้านเนื้อหาคือ วิเคราะห์ความเชื่อและพิธีแห่เกี้ยวพระหมอ ได้แก่ ความเชื่อคืนวันสุกดิบก่อนจะแห่ เกี้ยว ความเชื่อในขบวนเกี้ยว พิธีแห่เกี้ยวพระหมอข้ามแม่น้ำปัตตานี พิธีไหว้พระ หมอที่บ้านเมื่อเกี้ยวมาถึง พิธีแห่เกี้ยวพระหมอลุยไฟหน้าศาลเจ้า ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเชื่อคืนวันสุกดิบ มีความเชื่อการโยนโป้ย ความ เชื่อการเชิญเกี้ยวเข้าศาลเจ้า การเชิญพระหมอจากแท่นบูชา ประทับเกี้ยวและพิธี เปิดประตูศาลเจ้า ล้วนสื่อความเชื่อการเคารพจิตวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ การขอฤกษ์ทำพิธี การฉลองที่เริ่มพิธี 2) ความเชื่อในขบวนเกี้ยว มีธูปบูชา ดอกไม้ ธง ทั้งห้าและการ ตีฉิ่ง ฉาบ กลอง เหล่านี้เป็นความเชื่อเรื่องการสักการะพระหมอ 3) พิธีแห่เกี้ยวพระ หมอข้ามแม่น้ำปัตตานี ผู้ทำพิธีและร่วมพิธีมุ่งหวังจะข้ามพ้นอุปสรรค อาชีพรุ่งเรือง ชีวิตราบรื่น 4) พิธีไหว้พระหมอที่บ้านเมื่อเกี้ยวมาถึง ผู้ทำพิธีและร่วมพิธีมุ่งหวังว่าพระหมอจะปัดเป่าอัปมงคลออกจากบ้าน 5) พิธีแห่เกี้ยวพระหมอลุยไฟหน้าศาลเจ้า ผู้ทำพิธีและร่วมพิธีมุ่งหวังจะไม่มีความเดือดร้อนในชีวิต ถึงเป้าหมายได้สำเร็จ
References
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2530). คติชาวบ้านอีสาน. กรุงเทพฯ: อักษรวัฒนา.
ชนิชา นุ่มพุ่ม. (2558). คติความเชื่อ รูปแบบและการจัดวางประติมากรรมศาลเจ้า: ศาลเจ้าหน่าจา ซาไท้จื้อ ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปัทมาสน์ พิณนุกูล ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์และเมตตา ศิริสุข. (2563). “ม้าทรง”ความเป็นเทพกับความเป็นมนุษย์: ปฏิบัติการในพื้นที่พิธีกรรมงานประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ต”, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ราชภัฏภูเก็ต. 16(1), 183-208.
พิเชฐ สายพันธ์. (2539). นาคาคติอีสานลุ่มน้ำโขง วิถีชีวิตทางวัฒนธรรมจากพิธีกรรมร่วมสมัย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภริมา วินิธาสถิตย์กุล. (2558). “คติชนวิทยา: ความเชื่อกับสังคมไทย”, วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 1(1), 31-41.
ศิราพร ณ ถลาง. (2563). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุคลานุกรม
ผู้ให้ข้อมูลหลัก
ชูโชติ เลิศลาภลักขณา (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564.
ธาดา คณานุรักษ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). สำนักงานมูลนิธิเทพปูชนียสถาน ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564.
พันธ์ฤทธิ์ วัฒนายากร (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.
วิชา พรพิริยะมงคล (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.
สาทร กาญจนซิม (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). สำนักงานมูลนิธิเทพปูชนียสถาน ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564.
อรรถพร อารีหทัยรัตน์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564.
ผู้ให้ข้อมูลรอง คนไทยเชื้อสายจีน
กนกพงษ์ ศรีกัลยานิวาท (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564.
จำเนียร อนุพงษ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564.
ปรินทร แซ่ปัง (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564.
มนต์ฤดี พงษ์ธัญญะวิริยา (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564.
เสาวนิตย์ คงวัดใหม่ (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564.
ผู้ให้ข้อมูลรอง กลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ
ณรงค์วิทย์ อังกนะตระกูล (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.
นนทวัชร คงเหมาะ (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.
รัตนาพร ยอดวิจิตร (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.
วัชรี โชคสวัสดิกร (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.
สุรเดช ทองบุญชู (ผู้ให้สัมภาษณ์). บัญชา เตส่วน (ผู้สัมภาษณ์). ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.