พระมหากรุณาธิคุณปกห่มประชาชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน :ศึกษาจากคำราชาศัพท์ในคำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2522-2533
คำสำคัญ:
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, คำราชาศัพท์, คำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์คำราชาศัพท์ที่ปรากฏในคำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในช่วงปีพุทธศักราช 2522 - 2533 อันเป็นช่วงสิบสองปีแรกของการประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณในโอกาสดังกล่าว มีข้อมูลทั้งสิ้น 32 ฉบับ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าคำราชาศัพท์ 3 ลักษณะ คือ คำราชาศัพท์ที่เป็นวิสามานยนาม คำราชาศัพท์ที่เป็นสามานยนาม และคำราชาศัพท์ที่เป็นคำกริยา ปรากฏอย่างสม่ำเสมอในทุกฉบับ ส่วนการใช้คำราชาศัพท์อาจใช้เพื่อการยอพระเกียรติราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ ใช้เพื่อสื่อสารว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ และพระราชกรณียกิจทั้งหลายนั้นส่งผลประโยชน์สู่ประชาชนชาวไทย การใช้คำราชาศัพท์นี้ทำให้ผู้วิจัยสรุปได้ว่า “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นผู้สรรค์สร้างผลประโยชน์ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขและพระราชทานผลประโยชน์นั้นให้แก่ประชาชน” ส่วนกรณีการใช้คำสามัญที่หมายถึง ประชาชนชาวไทย ทำให้ผู้วิจัยสรุปได้ว่า“ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากพระราชกรณียกิจ คือ ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าทุกทิศานุทิศทั้งแผ่นดิน” การศึกษาวิจัยคำราชาศัพท์ในคำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณนี้ทำให้ประจักษ์ว่าพระมหากรุณาธิคุณนี้หาที่สุดมิได้ และทำให้เข้าใจและเข้าถึงความคิดรวบยอด คือ “พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีปกห่มประชาชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน”
References
เก๋ แดงสกุล. (2556). กวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี : แนวคิดและกลวิธีการสร้างวรรณศิลป์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เก๋ แดงสกุล. (2558). ราชสุดาอาศิรพาทพิสิฐ แนวคิดเรื่องขัตติยนารีและกลวิธีการใช้คำประพันธ์ในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ : นิติธรรมการพิมพ์.
นววรรณ พันธุเมธา. (2547). คลังคำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
นววรรณ พันธุเมธา. (2559). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาณุ สังขะวร. (2527). ความสัมพันธ์ทางอรรถศาสตร์ระหว่างคำนามกับคำกริยาในประโยคภาษาไทย (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2549). ประมวลคำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : นานมีบุคส์พับลิเคชั่น.
ศศิวิมล ผลิตาภรณ์. (2544). ลักษณะภาษาในพระราชนิพนธ์ประเภทสารคดีท่องเที่ยวในสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. (2555). ราชาศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักงาน.
เสาวณิต วิงวอน. (2530). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมยอพระเกียรติ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.