กลวิธีทางภาษาในการแสดงความคิดเห็นที่มีต่อนวนิยายออนไลน์ ในเว็บไซต์ “readAwrite”
คำสำคัญ:
กลวิธีทางภาษา, การแสดงความคิดเห็น, นวนิยายออนไลน์บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาในการแสดงความคิดเห็นที่มีต่อนวนิยายออนไลน์จากเว็บไซต์ readAwrite รวบรวมข้อมูลความคิดเห็นจากเว็บไซต์ readAwrite โดยคัดเลือกจากหมวดนวนิยายกลุ่มยูริ (Yuri) หรือนวนิยายแนวหญิงรักหญิง ขอบเขตของข้อมูลคือ คัดเลือกความคิดเห็นที่ปรากฏในนวนิยาย 5 เรื่อง ที่เป็นนวนิยายอันดับหนึ่งประจำสัปดาห์ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งผู้วิจัยจะคัดเลือกเฉพาะความคิดเห็นที่เป็นถ้อยคำและแสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารเท่านั้น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลได้จำนวน 160 ข้อความ มาวิเคราะห์จำแนกประเภทจัดกลุ่มและดำเนินการวิเคราะห์โดยประยุกต์แนวคิดเรื่องกลวิธีทางภาษาเป็นแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำเสนอด้วยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สามารถจำแนกกลวิธีการแสดงความคิดเห็นได้ 11 กลวิธี ได้แก่ 1) กลวิธีการแสดงความรู้สึก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น การแสดงความรู้สึกด้านบวก และการแสดงความรู้สึกด้านลบ 2) กลวิธีการเรียกร้อง 3) กลวิธีการอ้างประสบการณ์ 4) กลวิธีการตั้งคำถาม5) กลวิธีการติเตียน 6) กลวิธีการแนะนำ 7) กลวิธีการกล่าวเสียดสี/ประชดประชัน 8) กลวิธีการคาดคะเน 9) กลวิธีการกล่าวยืนยัน 10) กลวิธีการกล่าวความคาดหวัง และ 11) กลวิธีการกล่าวให้กำลังใจ กลวิธีที่พบการใช้มากที่สุดคือ กลวิธีการแสดงความรู้สึก พบจำนวนทั้งหมด 64 ข้อความ คิดเป็นร้อยละ 33.51 และกลวิธีที่พบน้อยที่สุด คือ กลวิธีการกล่าวให้กำลังใจและกลวิธีการอ้างประสบการณ์ พบจำนวนทั้งหมด 6 ข้อความ คิดเป็นร้อยละ 3.14 เท่ากัน การแสดงความคิดเห็นในนวนิยายออนไลน์ จะสะท้อนให้เห็นเจตนาของผู้ส่งสาร และทำให้เห็นทัศนคติหรือมุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับประเด็นความรักระหว่างหญิงกับหญิง
References
จอมขวัญ สุทธินนท์, ประเทือง ทินรัตน์ และสิริวรรณ นันทจันทูล. (2560). ประเภทของวัจนกรรมการประชดประชันในนวนิยายชายรักชาย, วารสารศิลปะศาสตร์ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 9(1), 21-39.
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2562). การวิเคราะห์ข้อความ (Discourse Analysis). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธารินี แก้วจันทรา. (2556). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการ ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขารัชดาภิเษก (ท่าพระ-ตากสิน) ผสารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม.
ปรีชา ธนะวิบูลย์ และสิริวรรณ นันทจันทูล. (2559). วัจนกรรมคำคมความรักในเครือข่ายสังคมออนไลน์, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 10(1), 137-150.
พัทธ์ธีรา โรจน์รัฐคณาธร. (2553). การวิเคราะห์นวนิยายอินเทอร์เน็ต: กรณีศึกษานวนิยายของแสตมป์เบอรี่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2552). วรรณกรรมออนไลน์ : วัฒนธรรมการสร้าง-เสพวรรณศิลป์ในบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง, วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 11(1),
-57.
สินทรัพย์ ยืนยาว และคณะ. (2560). กลวิธีการแสดงความเห็นกระทู้ทางการเมืองบนเฟสบุ๊กดอทคอม, วาสารรมยสาร. 15(2), 83-91.
อนุชา พิมศักดิ์. (2558). อัตลักษณ์ความเป็นลูกผสมในนวนิยายวัยรุ่นไทยสมัยนิยม. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียมหาวิทยาลัยมหิดล.
อารดา ปรีชาปัญญา. (2553). การวิเคราะห์อัตลักษณ์นวนิยายไทยบนอินเทอร์เน็ต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Swil. (2563). YURI เป็นนิยายวายแบบไหน. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2565, จาก https://intrend.trueid.net/bangkok/yuri.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.