มติมหาชน: แนวคิดและปัญหาการเป็นเครื่องมือทางการเมืองของผู้นำฝูงชนทางการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • กิรพัฒน์ เขียนทองกุล ภาควิชาการบริหารและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คำสำคัญ:

มติมหาชน, ผู้นำฝูงชนทางการเมือง, เครื่องมือทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอถึงการศึกษาเรื่อง “มติมหาชน” (Public opinion) ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย แนวคิดนี้ถือว่าเป็นรากฐานของการปกครองในยุคปัจจุบัน เป็นแนวคิดที่เริ่มต้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีแนวคิดหลักคืออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้ผ่านพื้นที่สาธารณะ (Public sphere) เช่น หนังสือพิมพ์วิทยุ ร้านกาแฟ ร้านเหล้า หรือร้านอาหาร เป็นต้น แต่มติมหาชนมีปัญหาสำคัญคือหากระบบนิติรัฐไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ บทบาทของประชาชนและเสียงข้างมากจะมีอิทธิพลมากและเป็นตัวตัดสินสูงสุดทางการเมือง จึงก่อให้เกิด “ผู้นำฝูงชนทางการเมือง” (Demagogue) ขึ้น เพื่อปลุกระดมประชาชนให้เอนเอียงหรือตัดสินใจตามสิ่งที่ผู้นำฝูงชนทางการเมืองคาดหวังหรือได้รับผลประโยชน์ทางการเมือง ผู้นำฝูงชนทางการเมืองจะนำจุดอ่อนที่สำคัญ 3 ประการของมติมหาชนมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง คือ (1) ทรราชโดยเสียงข้างมาก (2) ประชาชนถูกชักจูงได้ง่าย และ (3) การครอบงำโดยชนชั้นสูงในสังคม โดยใช้สื่อสารมวลชนเป็นเครื่องมือสำคัญในการกระจายวาทศิลป์ของผู้นำฝูงชนทางการเมืองไปสู่ประชาชนให้เห็นด้วยและตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ตามที่ผู้นำฝูงชนทางการเมืองต้องการ ในท้ายที่สุด การเป็นผู้นำฝูงชนทางการเมืองอาจจะไม่ได้จำกัดแค่เพียงผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับเพียงเท่านั้น แต่อาจจะสัมพันธ์กับการรู้สึกว่าได้รับการยอมรับจากสังคมปัจจุบันด้วย

References

ไชยันต์ ไชยพร. (2552). พวกสอพลอปวงประชามหาชน (1), มติชนสุดสัปดาห์. 29(1489), 35.

ไชยันต์ ไชยพร. (2552). บทสรุปของ Demagogue, มติชนสุดสัปดาห์. 29(1499), 35.

โตมร ศุขปรีชา. ‘หิวแสง’: ทำไมมนุษย์บางคนจึงหิวโหยความสนใจจากผู้อื่น. (2563). สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564, จาก https://thematter.co/thinkers/spotlight-effect/128461.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2549). Demagogue, มติชนสุดสัปดาห์. 26(1358), 29.

เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์. (2563). นักสอพลอประชาชนแห่งประชาธิปไตยเอเธนส์กับบทเรียนต่อประชาธิปไตยไทยร่วมสมัย, วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยบูรพา. 8(2), 22-47.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2541). การสื่อสารกับการเมือง. กรุงเทพฯ: ประสิทธิ์ภัณฑ์ แอนด์ พริ้นติ้ง.

เสถียร เชยประทับ. (2552). มติมหาชน การสื่อสาร และการเมือง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 5 ปี คสช.: จาก“ขอเวลาอีกไม่นาน” สู่การสืบทอดอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญ. (2562). สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2563, จากhttps://www.ilaw.or.th/node/5272.

“เยาวชนปลดแอก” ยุติการชุมนุมก่อนเที่ยงคืน อ้างความปลอดภัย สรุปบรรยากาศจากเริ่มจนจบ. (2563). สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-53456468.

Baker, K. M. (1990). Inventing the French Revolution. Cambridge: Cambridge University Press.

Childers, C. (2011). Interpreting popular sovereignty: A historiographical essay. Civil war history, 57(1), 48-70.

Defoe, D., et al. (1709). Vox populi, Vox dei: Being true maxims of government. Ann Arbor, Michigan: Gale ECCO.

Ginsberg, B. (1986). The captive public. New York: Basic Books.

Goldstein, R. J. (2016). Political repression in 19th century Europe. London: Routledge.

Habermas, J. (1964). The Public Sphere: An Encyclopedia Article, New German critique. 3(3), 49-55.

Habermas, J. (1989). The structural transformation of the public sphere. Cambridge, Massachusetts: MIT Press.

Hohendahl, P. and Russian, P. (1974). Jürgen Habermas: The Public Sphere. New German critique. 3(3), 45-48.

Jaeger, W. (1986). Paideia: The ideals of Greek culture volume I: Archaic Greece the mind of Athens (Highet, G., Trans.). Oxfordshire: Oxford University Press.

Lasswell, H. D. (1971). Propaganda technique in the World War. Cambridge, Massachusetts: MIT Press.

Locke, J. (2010). A letter concerning toleration and other writings (Goldie, M., Ed.). Carmel, Indiana: Liberty Fund Inc.

Mills, C. W. and Wofle, A. (2000). The power elite: A new afterword by Alan Wolfe. Oxford: Oxford University Press.

Noelle-Neumann, E. (1990). The spiral of silence: Public opinion our social skin. Chicago, Illinois: University of Chicago Press.

Price, V. (1992). Public opinion. New York: SAGE.

Robinson, E. R. (1997). The first democracies: Early popular government outside Athens. Stuttgart: Franz Steiner Verlag.

Salamone, M. F. (2014). Judicial Consensus and public opinion: Conditional response to Supreme Court majority size. Political research quarterly. 67(2), 320-334.

Singer, M. (2009). Demagogue: The fight to save democracy from its worst enemies. New York: Palgrave Macmillan.

Weber, M. (2009). From Max Weber: Essays in sociology. (Gerth, H. H. and Mills, C. W., Trans.). New York: Oxford University Press.

Williams, D. L. (2014). Rousseau’s social contract: An introduction. Cambridge: Cambridge University Press.

Wood, J. (2010). Tocqueville in America.The New Yorker. Retrieved 2020, April 15, from https://www.newyorker.com/magazine/2010/05/17/tocqueville-in-america.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20