การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นชาติของกลุ่มแฟนคลับนางงาม : ศึกษากรณีแฟนคลับชายรักชายต่อการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์

ผู้แต่ง

  • อาจารย์ ดร.สุเมธ ชัยไธสง
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สมสุข หินวิมาน

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, อัตลักษณ์ความเป็นชาติ, การประกวดนางงาม, แฟนคลับ, ชายรักชาย

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งอธิบายการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นชาติของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยแฟนคลับนางงาม ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสมผสาน ผลการศึกษาพบว่าแฟนคลับส่วนใหญ่ซึ่งมีเพศสภาพแบบชายรักชายเสพตัวบทนางงามด้วยสำนึกเรื่องเพศและสำนึกเรื่องชาติ โดยการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นชาติ ใช้การสื่อสารผ่านอัตลักษณ์ที่จับต้องได้และอัตลักษณ์ที่จับต้องไม่ได้ผ่านชุดของสัญญะต่าง ๆ ได้แก่ ธงชาติ การแต่งกาย สายสะพายชาติไทย ส่วนอัตลักษณ์ที่จับต้องไม่ได้สื่อสารผ่าน เสียงกรีดร้องชื่อชาติ ตำนานนางงามของชาติ ชุดความเชื่อเรื่องนางงามคือดอกไม้ของชาติ วีรสตรีของชาติ และสมบัติของชาติ การไหว้ สถาบันกษัตริย์ รวมถึงนิทานปรัมปราและอาหารไทยที่แฟนคลับปรับเปลี่ยนจากที่ไม่สามารถมองเห็นได้ให้สามารถมองเห็นได้ โดยเมื่อสื่อสารกับคนนอกที่ไม่ใช่แฟน มีแนวโน้มว่าแฟนคลับจะสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นชาติเข้มข้นกว่าอัตลักษณ์ทางเพศ เนื่องจากอัตลักษณ์เรื่องชาติเป็นชุดความหมายที่สามารถใช้ต่อสู้กับการถูกตีตราว่าเป็น “คนไร้สาระ” ที่คนที่นอกมักหยิบยื่นให้

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2555). สื่อที่ใช่ของใครที่ชอบ : การ์ตูน โทรทัศน์ท้องถิ่น แฟนคลับ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

ชลธิชา พันธุ์พานิช. (2537). สิทธิคุณค่าของความเป็นมนุษย์กับการประกวดนางงาม : ทัศนะของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทวินันท์ คงคราญ. (2534). บทบาทของสื่อมวลชนในการสร้างภาพนางสาวไทย พ.ศ.2507-2531. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิติ ภวัครพันธุ์. (2558). ชวนถก ชาติและชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ : ศยามปริทัศน์.

ปรีดา อัครจันทโชติ. (2561). การสื่อสารกับแนวคิดการข้ามพ้นวัฒนธรรม Communication & Transculturalism. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิรา อรุณพิพัฒน์. (2550). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการผลิตนางงาม: กรณีศึกษาการประกวดนางสาวไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ = Identity : การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

เอกจิตรา คำมีศรีสุข. (2550). ความสัมพันธ์ของทุนวัฒนธรรมกับทุนนิยม : กรณีศึกษาการประกวดนางสาวไทย (พ.ศ.2477-2549) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Crawford, M., et al. (2008). Globalizing beauty: Attitudes toward beauty pageants among Nepali women, Feminism & Psychology. 2008, 18 (1), 61-86.

Bloul, R. A. D. (2012). Ain't I a woman? Female landmine survivors' beauty pageants and the ethics of staring, Social Identities Journal for the Study of Race, Nation and Culture. 2012, 18 (1), 3-18.

Ozdemir, B. P. (2016). Building a “Modern” and “Western” image: Miss Turkey beauty contests from 1929 to 1933, Public Relations Review. 2016, 42 (5), 759-765.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-11