ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดชัยนาทกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การส่งเสริมการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดชัยนาทที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จากการเก็บข้อมูลภาคสนามแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท ช่วง พ.ศ.2561-พ.ศ.2562 รวม 56 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสรรคบุรี อำเภอสรรพยา อำเภอมโนรมย์ อำเภอวัดสิงห์ อำเภอหนองมะโมง อำเภอเนินขาม และอำเภอหันคา นำข้อมูลที่ได้มาคัดสรรตามเกณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กำหนดและวิเคราะห์เรียบเรียงผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดชัยนาทที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้แก่ 1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น “ส้มโอขาวแตงกวา” อำเภอมโนรมย์และอำเภอเมือง 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น “วิถีตาล” อำเภอสรรคบุรีและอำเภอสรรพยา 3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น “หน่อไม้เขาราวเทียน” อำเภอหันคา 4. ภูมิปัญญาท้องถิ่น “ตำรายาสมุนไพรหลวงปู่ศุข” อำเภอวัดสิงห์ และ 5. ภูมิปัญญาท้องถิ่น “ผ้าทอชาติพันธุ์ลาว” อำเภอเนินขามและอำเภอหนองมะโมง ผลการวิจัยยังพบว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น “วิถีตาล” และ “ผ้าทอชาติพันธุ์ลาว” จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้ง 5 ประเภทแสดงอัตลักษณ์ของจังหวัดชัยนาทและได้รับการสนับสนุนให้อยู่ในกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดและชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
References
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. (2558). ประวัติศาสตร์ชัยนาท. กรุงเทพฯ : มติชน.
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์ จำกัด.
ขัติยา ฉัตรเพชร. (2549). ท่าการท่องเที่ยวชุมชนริมน้ำ จังหวัดชัยนาท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ญาณภา บุญประกอบ, จักรวาล วงศ์มณี, สิริพร เขตเจนการ และโยธิน แสวงดี. (2560). อาหารพื้นถิ่นกับกลไกในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 11(ฉบับพิเศษ), 93-108.
ณักษ์ กุลิสร์, อรทัย เลิศวรรณวิทย์, จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และ รัตนา แสงจันทร์. (2553). แผนการตลาดการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการบนฐานข้อมูลพฤติกรรมนักท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดชัยนาท. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ทรงพล ต่วนเทศ. (2555). การศึกษาภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองของคนไทยเชื้อสายลาวครั่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท และอุทัยธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาในการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และเจษฎ์ โทณะวณิก. (2547). กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข.
บุปผาชาติ อุปถัมภ์นรากร. (2554). การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการรำรำมะนา จังหวัดชัยนาท. วารสารจันทรเกษมสาร. 17(33), 119-130.
เบญจวรรณ ธรรมรัตน์. (2557). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาจังหวัดชัยนาท. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ประชิด ทิณบุตร, ธีระชัย สุขสวัสดิ์ และอดิสรณ์ สมนึกแท่น. (2559). การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 7(1), 84-94.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2555). การท่องเที่ยวไทย จากนโยบายสู่รากหญ้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่ : สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ.
ยศ สันติสมบัติ. (2542). ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.
รัตนพล ชื่นค้า และจริยา สุพรรณ. (2562). ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดชัยนาทกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ชุมชน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท. (2560). ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา จังหวัดชัยนาท. (แผ่นพับ).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2541). แนวทางส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
บุคลานุกรม
สุภาพ สุขสำราญ (ผู้ให้สัมภาษณ์). รัตนพล ชื่นค้า และจริยา สุพรรณ (ผู้สัมภาษณ์). ที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอขาวแตงกวา อำเภอมโนรมย์ หมู่ 4 ตำบลศิลาดาน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท. เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2562.