สถานภาพการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคเหนือ อีสานและภาคกลางในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ.2540-2560)
คำสำคัญ:
สถานภาพการวิจัย, วรรณกรรมท้องถิ่น, ประเทศไทยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์สถานภาพการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคเหนือ อีสานและภาคกลางในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ.2540-2560) โดยรวบรวมบทคัดย่องานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาที่ใช้ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่น ในการทำวิจัย และงานตีพิมพ์ในรูปแบบงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ช่วงพ.ศ. 2540-2560 ผลการศึกษาพบว่า มีงานวิจัยที่นำวรรณกรรมท้องถิ่นมาใช้ จำนวน 343 เรื่อง พบจำนวน 35 สถาบัน แบ่งเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มภาษา วรรณกรรม วรรณคดีเปรียบเทียบ 2. กลุ่มสื่อสารมวลชน ศิลปศาสตร์ 3. กลุ่มประวัติศาสตร์ 4. กลุ่มหลักสูตรและการสอน 5. กลุ่มพุทธศาสนา ปรัชญา 6. กลุ่มวัฒนธรรมศึกษา ไทยคดีศึกษา ไทยศึกษา 7. กลุ่มจารึกตะวันออก 8. กลุ่มการพัฒนา การจัดการ และ 9. กลุ่มงานวิจัย โดยพบในกลุ่มแรกมากที่สุด สำหรับประเภทของข้อมูลพบจำนวน 11 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มบันเทิงคดี 2. กลุ่มบทร้อง คำขับพื้นบ้าน 3. กลุ่มนิทานและศาสนา 4. กลุ่มสำนวน สุภาษิต และคำสั่งสอน 5. กลุ่มตำราและคัมภีร์ 6. กลุ่มตำนานพื้นบ้าน 7. กลุ่มประเพณีพิธีกรรม 8. กลุ่มนิราศ 9. กลุ่มฤกษ์ยาม ดูนิมิตและทำนายลักษณะ 10. กลุ่มคำถาม คำทาย และ 11. กลุ่มประสมประสาน โดยพบในกลุ่มที่ 3 มากที่สุด สำหรับแนวคิดหรือประเด็นในการวิจัยพบ 12 ประการ ได้แก่ 1. การศึกษาเชิงคติชน 2. การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ 3. การศึกษาพุทธปรัชญา คุณธรรม จริยธรรม 4. การศึกษาภูมิปัญญา วัฒนธรรม 5. การศึกษาองค์ประกอบวรรณกรรม 6. การศึกษาภาษา 7. การประยุกต์/ ปรับใช้ในการเรียนการสอนหรือสังคม 8. การศึกษาเชิงสุนทรียศาสตร์ 9. การศึกษาตัวละคร 10. การศึกษาเชิงสังคม 11. การศึกษาโดยใช้แนวคิดหลังสมัยใหม่ และ 12. การศึกษาเจตคติของคนในสังคม โดยพบในกลุ่มที่ 5 มากที่สุด นักวิจัยใช้สื่อหนังสือมากที่สุด โดยมักเก็บจากงานวิจัยที่มีการรวบรวมไว้แล้ว ทำให้การขยายองค์ความรู้ด้านวรรณกรรมไม่งอกเงยนัก ทั้งนี้ก็พบว่านักวิจัยให้ความสำคัญกับการวิจัยเชิงสหวิทยาการมากขึ้น
References
จีรนันท์ คงรักษ์. (2558). การศึกษาค่านิยมที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านไทยพวน ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เจษฎา อิ่นคำ. (2556). วรรณกรรมคำขับของชาวไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชญานุตม์ จินดารักษ์. (2546). การเชื่อมโยงความในจารึกล้านนา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชมพูนุท เมฆเมืองทอง. (2550). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของวรรณกรรมที่ปรากฏในงานจิตกรรมฝาผนังวัด จังหวัดมหาสารคาม (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชยุตภัฎ คำมูล. (2553). วรรณกรรมประกอบพิธีกรรมล้านนา : ลักษณะเด่น ภูมิปัญญา และคุณค่า (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ณัฐกานต์ เกาศล. (2545). การเปรียบเทียบนิทานคำสอนของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดิเรก หงษ์ทอง. (2559). อัตลักษณ์และการผสมผสานทางวัฒนธรรมในเพลงของผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยในอีสานตอนใต้ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนา. (2561). สามทศวรรษแห่งวรรณกรรมล้านนาศึกษา (พ.ศ. 2530 – 2560). สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2562, จาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/12/17.
ทรงศิลป์ สุขแสน. (2547). วิถีอีสานจากเพลงลูกทุ่งของไมค์ ภิรมย์พร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ธนวัฒน์ กูรมนาถ. (2546). ตัวละครในนิทานมุขตลกภาคกลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธรงวิทย์ ทองเสี่ยน และวัฒนชัย หมั่นยิ่ง. (2561). การศึกษานิเวศวิทยาวัฒนธรรมเชิงอนุรักษ์ในผลงานของคำพูน บุญทวี (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก: ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธวัช ปุณโณทก. (2525). วรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
นันทพัทธ์ ภาพลงาม. (2559). วรรณกรรมวัดเกาะเรื่องนางแสนกล : การศึกษาในฐานะวรรณกรรมคำสอนชาย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). บูรพา : มหาวิทยาลัยบูรพา.
นัยนา ครุฑเมือง. (2547). นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ล้านนา: ภาพสะท้อนการเมืองและสังคม (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิรมล เกิดมงคล. (2542). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องเฉลียวฉลาดฉบับล้านนา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญมา ไชยแสนท้าว. (2542). นิทานญ้อ: ศึกษากรณีบ้านอู้ ตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บุญสนอง สมวงศ์. (2551). การประยุกต์และบูรณาการสุภาษิตจากวรรณกรรมคำสอนของไทยสำหรับบุคคลและสังคม (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปฐม หงส์สุวรรณ. (2561). ถอดบทเรียนวรรณกรรมอีสานศึกษา: มองเส้นทางจากอดีตสู่อนาคต. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2562, จาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/12/17.
ประมวล พิมพ์เสน. (2555). การประยุกต์วรรณกรรมคำสอนอีสานโดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรียา หิรัญประดิษฐ์ และสมเกียรติ วัฒนาพงษากุล. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชา ภาษาไทย 8 (คติชนวิทยาสำหรับครู) หน่วยที่ 10. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปิยณัฐ สุนทรประเสริฐ. (2553). เอกลักษณ์ของภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พงศ์ธวัช จรูญฐิติวัฒน์. (2558). วาทกรรมคำอวยพรในวรรณกรรมคำผูกแขนอีสาน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พชรวรรณ พานิคม. (2549). ภาพพจน์ที่ปรากฏในหมอลำกลอนซิ่ง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรพรรณ วรรณา. (2544). การศึกษาวิเคราะห์เพลงตลกคำเมือง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระสมเกียรติ ติดชัย. (2550). วิเคราะห์ความเชื่อ และค่านิยมจากนิทานพื้นบ้านของอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พัชรี แซ่สุ้น. (2561). ตำนานท้องถิ่น 4 ภาค : การวิเคราะห์ความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหา (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2562). องค์ความรู้และทิศทางการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2540-2560) (รายงานผลการวิจัย). พัทลุง : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ไพรศาล สังข์เอี่ยม. (2551). การวิเคราะห์ภูมิปัญญาชาวบ้านในมหาชาติล้านนาฉบับสร้อยสังกร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพวรรณ์ เครือวรรณ. (2541). นิทานมุขปาฐะบ้านดงเมือง ตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มัฆวาน ภูมิเจริญ. (2558). ภาพลักษณ์ผู้หญิงล้านนาในบทเพลงคำเมืองร่วมสมัย ในช่วง พ.ศ. 2536-2556 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มานิตย์ โศกค้อ. (2552). วิเคราะห์บทสวดสรภัญญะ บ้านท่าลาด ตำบลแสนสุข อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด (รายงานผลการวิจัย). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เมทินี รัษฎารักษ์. (2541). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องจันทฆาต ฉบับภาคกลาง ฉบับล้านนา ฉบับอีสาน และฉบับภาคใต้ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุพิน จันทร์เรือง ธาดา จันทร์เรือง อดิเทพ วงค์ทอง เบญจวรรณ สุขวัฒน์ และพรรณวดี รัตนศักดิ์. (2552). ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏในคำปันปอนล้านนา (รายงานผลการวิจัย). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เรณุกานต์ วงศ์ภู่ดี. (2542). การศึกษานิทานพื้นบ้านในจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วัชรินทร์ แก่นจันทร์. (2561). วาทกรรมความรุนแรงในนิทานพื้นบ้านล้านนา (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิมล ดำศรี. (2555). วรรณกรรมท้องถิ่น: สาระความรู้และแนวทางก(วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.ารศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 3. นครศรีธรรมราช : โรงพิมพ์ไทม์ พริ้นติ้ง.
วาสนา ปัญญาเลย. (2540). วิเคราะห์จริยธรรมในนิทานพื้นบ้านล้านนา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศุภมน อาภานันท์. (2554). การแสดงลิเกคณะทวีป - ชัยณรงค์ วงศ์เทวัญ : การศึกษาตามนวชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถิตย์ ภาคมฤค. (2551). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นจากวรรณกรรมอีสานเรื่องสุวรรณจักรกุมาร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สนอง ไสววรรณ. (2545). วิเคราะห์วรรณกรรมเพลงลูกทุ่งพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย พ.ศ. 2500-2545 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุจิตรา แซ่ลิ้ม. (2549). ความกำกวมอย่างจงใจในปริศนาคำทายร่วมสมัยของไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรธัชนุกูล นุ่นภิบาล. (2560). องค์ความรู้เชิงนิเวศแบบดั้งเดิมในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2561). สุนทรียะ ศรัทธา และปัญญาไทย : รากฐานและจิตวิญญาณของวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2562, จาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/12/17.
อัจฉราภรณ์ จันทร์สว่าง. (2548). การศึกษาสถานภาพสตรีในกฎหมายล้านนาโบราณ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อารีย์ ทองแก้ว. (2547). ภาพสะท้อนของนิทานพื้นบ้านชาวไทยเขมร บ้านสะเดา ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ (รายงานผลการวิจัย). สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
อุไรวรรณ สิงห์ทอง. (2556). การวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมในวรรณกรรมเสี่ยงทาย : กรณีศึกษาวัดและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดตาก (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เอื้อมพร ทิพย์เดช. (2560) . มายาคติในนิทานพื้นบ้านล้านนา (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.