โครงการศิลปาชีพกับการสร้างความหมายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ

ผู้แต่ง

  • ธัญสินี ใยสูนโย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โครงการศิลปาชีพ, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ, การสร้างความหมาย

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการแสดงให้เห็นว่า “โครงการศิลปาชีพ” มีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างความหมายของ “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” ในแง่ที่ทรงเปรียบเสมือนแม่ของชาติไทยที่ทรงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติอันประณีตสูงส่งและน่าภาคภูมิใจไว้ให้ลูกหลาน ทรงใช้โครงการนี้ในการทำให้เห็นว่าชาวบ้านในชนบทของไทยเป็นผู้สืบทอดผลงานทางศิลปะที่มีมาตั้งแต่สมัยบ้านเชียงและกรุงศรีอยุธยา  ขณะเดียวกัน “โครงการศิลปาชีพ” ก็ทำให้สังคมรับรู้บทบาทของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในฐานะส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงส่งเสริมอาชีพ ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงในชนบทได้มีโอกาสสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ลูกหลานในครอบครัว   ความหมายดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากในการทำให้คนไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์   นอกจากนี้ “โครงการศิลปาชีพ” ยังมีนายทหารระดับสูง รวมทั้งกองทัพภาคที่ 2 และกองทัพภาคที่ 3 เข้ามีบทบาทอันสำคัญ ซึ่งทำให้เกิดความหมาย “ทหารนักพัฒนา” ขึ้นมา และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับผู้นำกองทัพก็มีความแน่นแฟ้นมากขึ้น  ส่งผลให้ความหมายของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่พึ่งของประชาชนและทรงเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยมีกองทัพเป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่งในการทำงานพัฒนาชนบทเพื่อสร้างความมั่นคงของชาติภายใต้การนำของสถาบันพระมหากษัตริย์ กลายเป็นความหมายที่ได้รับการรับรู้อย่างเป็นรูปธรรมและมีพลังมากขึ้นในสังคมไทย

Author Biography

ธัญสินี ใยสูนโย, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

References

กลุ่มนักข่าวหญิง. (2523). พระราชกระแสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ : พลพันธ์การพิมพ์.

กิจกรรมของเอกชน : ภาวะอุตสาหกรรมทอผ้าไหมในเมืองเจ้าพ่อพระยาแล(2), ข่าวพาณิชย์. (2507, 27 มิถุนายน) ใน หจช., ก/ป7/2507/ส.5 สมาคมทอผ้าแห่งประเทศไทย.

กิจกรรมของเอกชน : ภาวะอุตสาหกรรมทอผ้าไหมในเมืองเจ้าพ่อพระยาแล (3), ข่าวพาณิชย์. (2507, 30 มิถุนายน) ใน หจช., ก/ป7/2507/ส.5 สมาคมทอผ้าแห่งประเทศไทย.

กิจกรรมของเอกชน : ภาวะอุตสาหกรรมทอผ้าไหมในเมืองเจ้าพ่อพระยาแล (4), ข่าวพาณิชย์. (2507, 1 กรกฎาคม) ใน หจช., ก/ป7/2507/ส.5 สมาคมทอผ้าแห่งประเทศไทย.

คณิตา เลขะกุล. (2523). ยอดนารีจักรีวงศ์, อนุสาร อ.ส.ท. 21(1), 14-25.

คณิตา เลขะกุล. (2547). พิพิธภัณฑ์ศิลปาชีพ พระที่นั่งภิเษกดุสิต, วารสารไทย. 25(91), 15-22.

คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2557). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : มติชน.

จุฬารัตน์ ดำรงวิถีธรรม. (2559). ถังแดง : การซ่อมสร้างประวัติศาสตร์ และความทรงจำหลอนในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนิดา ชิตบัณฑิตย์.(2550). โครงการพระราชดำริ : การสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ชาติชาย มุกสง. (2558). จากแม่ศรีเรือนถึงแม่บ้านทันสมัย : การต่อสู้ทางศีลธรรมผ่านแม่บ้านหลังปฏิวัติ 2475 ถึงทศวรรษ 2500, ชุมทางอินโดจีน : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปริทัศน์. 4(7), 95-115.

เทศา (นามปากกา). (2523, 3 ธันวาคม). การฉลองเมือง, เดลินิวส์ ใน หจช., ก/3/2523/52 การเตรียมงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี.

ประพัฒน์ ตรีณรงค์. (2527). วันแม่แห่งชาติ, วารสารไทย 4(15), 10-13. ประวัติความเป็นมาสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน
2559, จาก http //www.identity.opm.go.th/identity/content/identity.asp?identity_code=21000001&.

ปราการ กลิ่นฟุ้ง. (2551). การเสด็จพระราชดําเนินท้องที่ต่างจังหวัดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2493 – 2530 (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. (2555). ศิลปาชีพ : พระหัตถ์ที่ทรงงานเพื่อแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ.

พีรพงศ์ เสนไสย. (2553). พระราชกรณียกิจสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถด้านการส่งเสริมและพัฒนานาฏยศิลป์อีสาน, Veridian E – Journal, Silpakorn University. 3(1), 48-62. สืบค้น
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/6951/5994

เผยหมายกำหนดการงานสายสัมพันธ์ 200ปี ราชวงศ์กับประชาชน, (2525, 18 ตุลาคม). มติชน. 1.

วีระยุทธ ปีสาลี. (2558). “แม่ค้าศักดินา” : การปรับตัวสู่การประกอบอาชีพของเจ้านายสตรีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475, ศิลปวัฒนธรรม. 36(10), 72-89.

ศุภโชค ชุนอิ๋ว. (2547). สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถกับโครงการศิลปาชีพ, รัฐสภาสาร. 52(8), 85-117.

ถวายพระนามสมเด็จพระนางเจ้าฯ "เอกอัครอุปถัมภ์มรดกช่างศิลป์ไทย", (2536, 10 สิงหาคม). สยามรัฐ. 12.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2558). การต่อสู้บนพื้นที่ความทรงจำของคนหลากหลายชาติพันธุ์ในประเทศไทย ใน ประวัติศาสตร์รัฐไทยและสังคมไทย: ครอบครัว ชุมชน ชีวิตสามัญชน ความทรงจำ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์, 157-192. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2556). พระยาอนุมานราชธน ปราชญ์สามัญชน ผู้นิรมิต “ความเป็นไทย”. กรุงเทพฯ : มติชน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สมเด็จพระบรมราชินีนาถนักพัฒนาเพื่อปวงประชาสุขศานต์. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. (2558). ประมวลพระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ

สำนักราชเลขาธิการ. (2535). ประมวลพระราชดำรัสและพระราโชวาทที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2520 - เดือนสิงหาคม 2535. กรุงเทพฯ : สำนักราชเลขาธิการ.

สำนักราชเลขาธิการ. (2539ก). ประมวลพระราชกรณียกิจสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เล่ม 5 ปีพุทธศักราช 2516-2518. กรุงเทพฯ : สำนักราชเลขาธิการ.

สำนักราชเลขาธิการ. (2539ข). ประมวลพระราชกรณียกิจสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เล่ม 6 ปีพุทธศักราช 2519-2520. กรุงเทพฯ : สำนักราชเลขาธิการ.

สำนักราชเลขาธิการ. (2539ค). ประมวลพระราชกรณียกิจสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เล่ม 9 ปีพุทธศักราช 2527-2531. กรุงเทพฯ : สำนักราชเลขาธิการ.

สำนักราชเลขาธิการ. (2557). ประมวลพระราชดำรัสและพระราโชวาทตั้งแต่พุทธศักราช 2536 ถึงพุทธศักราช 2547. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

จัดประกวดสัญลักษณ์งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี, เสียงปวงชน (2523, 19 ธันวาคม) ใน หจช., ก/3/2523/52 การเตรียมงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28