การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้จากสื่อในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตสาธารณะ เรื่อง พุทธธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
ชุดการเรียนรู้จากสื่อในชีวิตประจำวัน, การเรียนแบบร่วมมือ, พุทธธรรม, จิตสาธารณะบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้จากสื่อในชีวิตประจำวันด้วยวิธี การเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตสาธารณะ เรื่อง พุทธธรรม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนรู้จากสื่อในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตสาธารณะ เรื่อง พุทธธรรม และ 3) ศึกษา ความพึงพอใจต่อชุดการเรียนรู้จากสื่อในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตสาธารณะ เรื่อง พุทธธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้จากสื่อในชีวิตประจำวัน เรื่อง พุทธธรรม จำนวน 3 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 แผน 14 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบในบัตรกิจกรรมชุดการเรียนรู้จากสื่อในชีวิตประจำวัน 5) แบบประเมินพฤติกรรม จิตสาธารณะ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้จากสื่อในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน/หลังเรียน และการทดสอบค่าสถิติที
ผลจากการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้จากสื่อในชีวิตประจำวัน ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตสาธารณะ เรื่อง พุทธธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ(E1/E2) เท่ากับ 90.48 / 87.75 ซึ่งมีประสิทธิภาพ สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ผลการใช้ชุดการเรียนรู้จากสื่อในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและจิตสาธารณะ เรื่อง พุทธธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนในขณะที่ เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้จากสื่อในชีวิต ประจำวันด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมืออยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้จากสื่อในชีวิต ประจำวันด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมืออยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.62 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.22
References
กฤษณ์ พวงพันธ์. (2552 ). การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนบ้านตาอุด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีษะเกษ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เจริญศรี โสขวัญฟ้า. (2554). ผลการใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่องกฎหมายน่ารู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ. วี พรินท์ (1991) จำกัด.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี : พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.
ซวน ดิง ทิ่ แทงและสิทธิศักดิ์ จุลศิริพงษ์. (2558). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ รู้จักอาเซียนและความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วารสารราชพฤกษ์, 15(2). 95.
ธิติพันธุ์ คดชากร. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เบญจวรรณ ภูตินันท์, ศุภชัย ตันศิริ และศยามน อินสะอาด. (2559). ผลการใช้ชุดการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสาระพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมทักษะการดาเนินชีวิต. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal กลุ่มมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 822 – 823.
ปิยะนันท์ บุญโพธิ์และนิลมณี พิทักษ์. (2554). การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มโดยใช้การสอนแบบ ร่วมมือกับการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอกับผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 5(4), 111.
ฝ่ายวิชาการ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 และ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553. กรุงเทพฯ : เดอะบุคส์.
พิสณุ ฟองศรี. (2551). เทคนิควิธีประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : พรอพเพอร์ตี้พริ้นท์ จำกัด.
มุน สารสิน. (2558). ผลการใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2559). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2559, จาก https://sites.google.com
อรนุช ลิมตศิริ. (2556). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ = Innovation and Technology Management (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.