สถานภาพงานวิจัยผู้หญิงในมิติประวัติศาสตร์ในประเทศไทย พ.ศ. 2519-2561
คำสำคัญ:
สถานภาพ, วิจัยประวัติศาสตร์, ผู้หญิงในสังคมไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาสถานภาพงานวิจัยเรื่องผู้หญิงในมิติประวัติศาสตร์ ในสังคมไทย พ.ศ.2519-2561 โดยการสำรวจปริมาณงานว่า มีจำนวนเท่าใด ผู้วิจัยมีทิศทางในการศึกษาอย่างไร ซึ่งผลงานที่นำมาศึกษานั้นจะอยู่ในรูปแบบของรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ของหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ใช้ระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์ในการนำเสนอ และเป็นผลงานที่ผลิตขึ้นที่ประเทศไทยเป็นสำคัญ
ผลการศึกษาพบว่าในช่วง พ.ศ. 2519-2561 มีงานวิจัยที่สำรวจพบทั้งหมด 32 เล่ม โดยประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือการเคลื่อนไหวในสถานภาพผู้หญิง รองลงมาคือ ความคิดของผู้หญิง อาชีพของผู้หญิง นโยบายรัฐต่อผู้หญิง ผู้หญิงในสังคมชนบท และการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์ตามลำดับ
ในแง่วิธีการศึกษาผู้วิจัยยังเน้นการใช้ระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์ที่มุ่งวิเคราะห์ ตีความผ่านเอกสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยช่วงสมัยที่ได้รับความนิยมในการศึกษา คือ สมัยปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา อย่างไรก็ดี เป็นที่สังเกตว่าการวิจัยนับตั้งแต่ พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ผลงานหลายเล่มเริ่มมีประเด็นใหม่ๆ ทั้งมีมุมมองหลากหลาย มีการปรับระเบียบวิธีการศึกษาในเชิงสหวิทยาการ คือใช้ข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ที่หลากหลาย ซึ่งก็ทำให้องค์ความรู้เรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงในมิติประวัติศาสตร์มีความก้าวหน้าขึ้น ทั้งในแง่ประเด็น มุมมอง และระเบียบวิธีในการศึกษา ตามลำดับ
References
จิรกาญจน์ สงวนพวก. (2537). การเคลื่อนไหวของกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า พ.ศ. 2504 – 2519 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรชาติ สันต๊ะยศ. (2550). การสร้าง “พระราชชายาเจ้าดารารัศมี” ให้บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ทศวรรษ 2500 – ปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จิรนุช โสภา. (2542). บันทึกเรื่องผู้หญิงในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฎฐวดี ชนะชัย. (2530). สตรีในสังคมไทยสมัยใหม่: ศึกษากรณีสตรีซึ่งประกอบอาชีพพยาบาล (พ.ศ.2439-2485) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2525). โสเภณีกับนโยบายของรัฐบาลไทย พ.ศ. 2411 – 2503 (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดารุณี สมศรี. (2552). ประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยพระราชชายา เจ้าดารารัศมี กับการสร้างอัตลักษณ์เชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2525). ไทยรบพม่า (พิมพ์ครั้งที่ 5). พระนคร : ศิลปะบรรณาคาร.
ตวงทอง เหล่าวรรธนะกูล. (2539). ผู้หญิงสามัญชนในเมืองแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นวชนก วิเทศวิทยานุศาสตร์. (2550). บทบาทด้านการเมืองและสังคมพระราชชายาเจ้าดารารัศมีที่มีผลต่อกระทบ
ต่อการเปลี่ยนแปลงของจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2416 - 2476) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นันทิรา ขำภิบาล. (2530). นโยบายเกี่ยวกับผู้หญิงในสมัยสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงครามพ.ศ. 2481 – 2487 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญเติม ไพเราะ. (2519). สถานภาพและบทบาทของสตรีในสังคมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะพร จันวัน. (2547). ทัศนะของ ผู้หญิงทำงานในสังคมไทย พ.ศ.2500-2516 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เปรมสิริ ชวนไชยสิทธิ์. (2539). ผู้หญิงกับอาชีพครูในสังคมไทย พ.ศ. 2456 – 2479 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เปรมสิริ ศักดิ์สูง. (2552). สตรีไทยมุสลิมกับอาชีพพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2505 – 2550 (รายงานผลการวิจัย). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี.
แปลก พิบูลสงคราม. (2483). คำปฏิสันถาร 29 มิถุนายน 2482 เนื่องในงานสวนสนามและยุวชนของชาติ ณ วันชาติ, คำของพลตรีหลวงพิบูลสงครามนายกรัฐมนตรี, 5. พระนคร : โรงพิมพ์พานิชศุภผล.
พัชรินทร์ ลาภอนันต์ ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ และเยาวลักษณ์ อภิชาตวัลลภ. (2550). การแต่งงานข้ามวัฒนธรรม : การศึกษาสถานภาพองค์ความรู้. ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา.
พิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี. ( 2533). ความคิดผู้หญิงในนิตยสารผู้หญิง พ.ศ. 2500 – 2516 (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เพชรสุภา ทัศนพันธ์. (2542). แนวความคิดเรื่อง “การเข้าสมาคม” และผลกระทบต่อสตรีไทย พ.ศ. 2461 – 2475 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภักดีกุล รัตนา. (2540). ภาพลักษณ์ “ผู้หญิงเหนือ” ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 26 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัทรัตน์ พันธุ์ประสิทธิ์. (2552). ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตและความรู้สึกนึกคิดของผู้หญิงชั้นกลางระดับล่างตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2530 ถึงปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ :
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัทรัตน์ พันธุ์ประสิทธิ์. (2560). ผู้หญิงสามัญชนสยามช่วงการพัฒนาประเทศและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ภาวิณี บุนนาค. (2552). ผู้หญิงในกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทย รัชสมัยพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึง พ.ศ. 2478 : ศึกษาจากคดีความและฎีกา (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุพาภรณ์ แจ้งเจนกิจ. (2530). การศึกษาสตรีไทย : ศึกษากรณีเฉพาะโรงเรียนราชินี พ.ศ. 2477 – 2530 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลำพรรณ น่วมบุญลือ. (2519). สิทธิและหน้าที่ของสตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรธิภา สัตยานุศักดิ์กุล. (2559). หญิงชั่ว” ในประวัติศาสตร์ไทย: การสร้างความเป็นหญิงโดยชนชั้นนำสยามช่วงต้นรัตนโกสินทร์-พ.ศ. 2477 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิจิตรวาทการ, พลตรีหลวง. (2536). "วิจิตรวรรณคดี" พิมพ์เผยแพร่เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงประภาพรรณ วิจิตรวาทการ 26 ธันวาคม 2536. ม.ป.พ
วิณา เอี่ยมประไพ. (2555). การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของสตรีฝ่ายใน สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
สภาสตรีแห่งชาติ. (2518). สถานภาพสตรีไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สภาสตรีแห่งชาติ.
สาระ มีผลกิจ. (2542). สตรีในราชสํานักสยามตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2394 – 2468 (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุขสรรค์ แดงภักดี. ( 2537). ความคาดหวังของสังคมต่อสตรีไทยในสมัยสร้างชาติ พ.ศ. 2481 – 2487 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัตรา กอบกิจสุขสกุล. (2531). การประกวดนางสาวไทย (พ.ศ. 2477 - 2530) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุภาภรณ์ จรัลพัฒน์. (2533). การศึกษาสตรีไทยเชิงประวัติศาสตร์, องค์ความรู้เกี่ยวกับสตรีไทย, 26-64. กรุงเทพฯ : โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุมนา อินทร์คำน้อย, จารุวรรณ ขำ และวรรณภา ชำนาญกิจ. ( 2543). งานวิจัยด้านสตรีศึกษาในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
อดิศร ศักดิ์สูง. (2539). สตรีในสังคมเชียงใหม่สมัยวงศ์เจ้าเชื้อเจ็ดตน พ.ศ. 2434-2476 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อดิศร ศักดิ์สูง. (2552). ผู้หญิงในสังคมชนบท: การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ บริเวณคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2503-25 (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อดิศร ศักดิ์สูง. (2559). มโนทัศน์เรื่องผู้หญิงในประวัติศาสตร์นิพนธ์ภาคใต้ (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อดิศร ศักดิ์สูง. (2554). ความคิดทางและวิธีวิทยาวิจัย. สงขลา : นำศิลป์โฆษณา.
อดิศร ศักดิ์สูง. (2560). มโนทัศน์เรื่องผู้หญิงในประวัติศาสตร์นิพนธ์ภาคใต้,วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1), 103-123.
อรพิน สร้อยญานะ. (2550). การสร้างพื้นที่ที่สามของ “ผู้หญิง ชนบทใหม่” ภาคเหนือ ผ่านซอสตริง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อิรภัทร สุริยพันธุ์. (2552). มโนทัศน์เรื่อง "เมีย" ในสังคมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.