ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

ผู้แต่ง

  • สุธรรม ขนาบศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

คำสำคัญ:

งานบริการ, ผู้รับบริการ, ความพึงพอใจ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบความพึงพอใจและข้อเสนอแนะของผู้รับบริการต่อการให้บริการงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยศึกษาข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในรูปแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการงานบริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 139 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ 10 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา จังหวัดสตูลจังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งสำรวจข้อมูลจากประชาชนที่มาใช้บริการงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                    จำนวน 35,680 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (systematic random sampling) โดยสำรวจด้านคุณภาพการให้บริการใน 4 ประเด็นหลัก คือ ด้านขั้นตอนการให้บริการด้านช่องทางการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือที่ใช้  ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) คะแนนเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว (one–way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมผู้รับบริการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการมากที่สุด รองลงมา เป็นด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านขั้นตอนการให้บริการ และด้านช่องทางการให้บริการ ตามลำดับ  ส่วนการเปรียบเทียบความพึงพอใจ พบว่า ผู้รับบริการที่อาศัยอยู่ในจังหวัดต่างกัน โดยมีความพึงพอใจที่แตกต่างกันในด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนด้านช่องทางการให้บริการ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันสำหรับรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ผู้รับบริการมีความพึงพอใจที่ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องพัฒนาด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง นั่นคือ (1) พัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้และจิตบริการเพิ่มขึ้น (2) ลดขั้นตอนการให้บริการบริการหลากหลายช่องทาง พัฒนาความพร้อมของสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ (3) ติดตามและประเมินงาน/โครงการต่างๆ เพื่อนำข้อมูล/ปัญหาไปปรับปรุงพัฒนางาน/โครงการต่างๆ และ (4) ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการพัฒนาต่างๆ และควรจัดทำโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มากขึ้น

Author Biography

สุธรรม ขนาบศักดิ์, คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

References

กุลธน ธนาพงศธร. (2548). หลักการให้บริการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต (พิมพ์ครั้งที่ 6).
กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

ชนะดา วีระพันธ์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี (รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี : วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2552). คุณภาพการให้บริการภาครัฐ : ความหมาย การวัด และการประยุกต์ในระบบบริหารภาครัฐไทย, วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 7(1), 105-146.

ธีรวรรณ รุ่งเรือง. (2552). การมีหัวใจบริการ, สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2558, จาก http;//www.npu.ac.th/gad/pdf/m7.pdf.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยสาสน์.

พรรณภา มีโส. (2550). ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการไปรษณีย์ของเทศบาลตำบลวังกะพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (รายงานผลการวิจัย). อุตรดิตถ์ : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (ม.ป.ป.). บทเรียนวิชาจิตวิทยาการบริการ. ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2558, จาก//www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1010311/unit09.html.

รัฐกิจ หิมะคุณ. (2557). การบริหารจัดการกิจการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.), วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 17 (ม.ค.-ธ.ค.57), 151-164.

วาสนา แก้วฟอง. (2550). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่. (รายงานผลการวิจัย). อุตรดิตถ์ : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สมบัติ บุญเลี้ยง. (2555). ความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านคุณภาพการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์, สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2558, จาก http://human.pcru.ac.th/vijai/vi55.pdf.

สโรชา แพร่ภาษา. (2549). การประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา, สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2558, จาก http://www.polpacon7.ru.ac.th/.

สุธรรม ขนาบศักดิ์. (2560). ความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ปีงบประมาณ พ.ศ.2558, วารสารการบริหารท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10(1), 64-84.

อำนวย บุญรัตนไมตรี. (2559). แนวคิดการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, วารสารการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 6(1), 25-37. หลักธรรมาภิบาล. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560, จาก//www.sci.ubu.ac.th/document/หลักธรรมาภิบาล.pdf.

Allport, G.W. (1967). Theory and measurement. New York : John Wiley and Sons.

Yamane, Taro. (1973). Introductory Analysis (3rded). Tokyo : Harper International edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28