การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูเกษตรกร ที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ทศพล วิชัยดิษฐ

คำสำคัญ:

กองทุนฟื้นฟูเกษตรกร, การฟื้นฟู, การฟื้นฟูเกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และเพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยลักษณะแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบกัน ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก ประชุม สนทนากลุ่ม ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์การวิจัย คือ สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้แล้ว จำนวน 179 คนคณะอนุกรรมการจังหวัด 10 คน ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน นำข้อมูลภาคสนามมาทำการสังเคราะห์นำเสนอข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์การฟื้นฟูเกษตรกรของกองทุนยังไม่ประสบผลสำเร็จ ในขณะที่รัฐยังไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คือ นโยบายของรัฐละเลยภารกิจฟื้นฟู การบริหารงานของกองทุนมิอาจจัดการได้ตามแผน และกระบวนการเกษตรลดลงอย่างรวดเร็วทั้งพื้นที่และวิถีเกษตร  3) รูปแบบการฟื้นฟูเกษตรกร คือรูปแบบการฟื้นฟูเกษตรกรแบบพลวัต ซึ่งเป็นข้อค้นพบหรือองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญแล้ว

References

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ. (2560). เรื่องการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร. ที่ 26/2560, 18 พฤษภาคม.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2550) . ทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์การเมืองในการศึกษาประวัติชุมชนหมู่บ้านไทย. ใน “แนวคิดเศรษฐกิจชุมชนข้อเสนอทางทฤษฎีในบริบทต่างสังคม” . กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์.

ชาย โพธิสิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ปฐมทัศน์ บรรณเลิศ. (2557). ทฤษฎีพึ่งพา . เอกสารการสอนวิชาบริหารการพัฒนา . สำนักวิจัย บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

ปริศนา นกขมิ้น(ผู้ให้สัมภาษณ์). ทศพล วิชัยดิษฐ(สัมภาษณ์). ที่กลุ่มคลองสวนพัฒนาเกษตรกร บ้านตะวันใหม่ ต.คลองสวน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ. เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2561 .

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2531) . วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ . กรุงเทพฯ: แมส พับบิชชิง จำกัด .
พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2544.

(ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 118 ตอนที่ 105 ก. วันที่ 12 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2544) .

ราชกิจจานุเบกษา. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2565). (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133 ตอนที่ 115 ก. วันที่ 29 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2559) .

สมบัติ เหสกุล. (2556) . การผลิตอุตสาหกรรมดอกไม้และผลไม้ประดิษฐ์ของหมู่บ้านไทยกับ เศรษฐกิจพึ่งพา , ใน วิสาหกิจชุมชน กลไกลเศรษฐกิจฐานราก (พิมพ์ครั้งที่6) . กรุงเทพฯ: เอดิสันเพลส โปรดักส์ จำกัด.

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและ พัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดสมุทรปราการ . ( 2558). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี . ใน “การประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสมุทรปราการ” . ครั้งที่ 1 วันที่ 28 มีนาคม 2558 , ห้องประชุม 3 ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ . เมืองสมุทรปราการ.

Karl Marx. (1981). ใน Capital: Volume III (Pelican Books) , 255.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30