แกงบวนบ้านตลิ่งแดงและความมั่นคงทางอาหารในท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ ไชยชนะ

คำสำคัญ:

ความมั่นคงทางอาหาร, วิถีชีวิต, มิติวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามเกี่ยวกับภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารอย่างไร แกงบวนมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากอาหารประเภทอื่นๆ อย่างไร กรณีศึกษาภูมิปัญญาแกงบวนในชุมชนบ้านตลิ่งแดง ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประยุกต์วิธีวิจัยทางมานุษยวิทยา เก็บข้อมูลโดยการค้นคว้าจากเอกสาร ข้อมูลจากภาคสนาม ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูล โดยมีการตรวจสอบข้อมูลทุกขั้นตอน พื้นที่ศึกษา คือ บ้านตลิ่งแดง หมู่ที่ 8 ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ผลการศึกษาพบว่า “บ้านตลิ่งแดง” เป็นชุมชนเก่าแก่ ริมฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ กอปรภูมิสังคมเป็นชุมชนเครือญาติ มีวัฒนธรรม ประเพณีหลากหลาย ลักษณะทั่วไปของหมู่บ้านมีภูเขาสลับกับพื้นที่ราบเชิงเขาและพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ ประชากรในชุมชนมีวิถีชีวิตเป็นสังคมเกษตรกรรมหาพืชผัก จากแหล่งธรรมชาติมาบริโภค พึ่งพาอาศัยทรัพยากรท้องถิ่น  บ้านตลิ่งแดงมีภูมิปัญญาอาหารเป็นจุดเริ่มต้นและรากฐานสำคัญก่อให้เกิดความมั่นคงอาหาร ด้านโภชนาการและสุขภาพ ผ่านการสืบทอดภูมิปัญญามาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะ “แกงบวน” อาหารพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ สะท้อนความเชื่อและวิถีชีวิตดั้งเดิมเฉพาะถิ่น สืบทอดกันมานานจากบรรพบุรุษ  คำว่า “บวน”  สันนิฐานว่า มาจากเครื่องปรุงที่วางเรียงรายเป็นกระบวน นิยมปรุงในงานบุญประเพณีที่สำคัญในชุมชน การปรุงแต่ละครั้งต้องใช้แรงงานในการเตรียมวัตถุดิบหลายคน ซึ่งเป็นการสร้างความสามัคคีให้กับคนในชุมชน แรงงานชายมีหน้าที่ในการเตรียมวัตถุดิบในท้องถิ่น ส่วนแรงงานหญิงมีหน้าที่ในการร่วมทำ ร่วมปรุงแกงบวนมีขั้นตอนการปรุงที่ซับซ้อน วิธีการปรุงแกงบวนจัดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำไส้หมู ที่ต้องใช้ใบฝรั่งและเกลือป่นมาขย้ำกับไส้หมู เพื่อขจัดกลิ่นคาว การปรุงแกงบวนให้มีรสชาติหอมชวนชิม ต้องใส่เหล้าขาวในปริมาณที่พอเหมาะ การเลือกใช้วัตถุดิบเฉพาะถิ่น การประยุกต์ใช้วัตถุดิบนอกชุมชน และวิธีการปรุงแกงบวนแสดงความเป็นเฉพาะของภูมิปัญญาอาหารซึ่งแตกต่างจากชุมชนอื่นๆ กล่าวได้ว่าภูมิปัญญาการปรุงแกงบวนตกทอดเป็นมรดกของกลุ่มชนที่ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนแห่งนี้สามารถมีอัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นเกิดความมั่นคงทางอาหารซึ่งทำให้ชุมชนแห่งนี้ยังสามารถมีรูปแบบวิถีชีวิตบนความหลากหลายของทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

References

เกียรติศักดิ์ ยั่งยืน. (2556). เอกสารประกอบการประชุมสมัชชาความมั่นคงทางอาหาร. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพฯ: สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี.

เครือมาศ ธรรมประชา. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการความมั่นคงทางอาหารโดยกระบวนการทางสิ่งแวดล้อมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จอมขวัญ ชุมชาติ. (2558). ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนโคกพะยอม ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จักรารัชต์ คล้ายโตนด. 2550. การศึกษาวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยง ตำบลแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จักษุมาลย์ วงษ์ท้าว, นพรัตน์ ไชยชนะ. (2560). ความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรมบนความหลากหลายของทรัพยากรท้องถิ่นบ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. (รายงานการวิจัย). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

จันทร์ตนาพร วงศ์ชัย. (2557). ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ สู่ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนเพียลาดอำเภอสังทอง นครหลวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชนัญญา สังวาล. (2558). ชุมชนเจดีย์งาม : วิถีชาวนากับความมั่นคงทางอาหาร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ดรุณี บุญภิบาล. (2541). วัฒนธรรมการกินของสตรีพื้นบ้านภาคใต้. (รายงานการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้.

ดวงใจ ทองดี. (ม.ป.ป). ข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่น. (รายงานการวิจัย). กาญจนบุรี: สำนักพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1.
นพรัตน์ ไชยชนะ และวีระวัฒน์ อุดมทรัพย์. (2559). ปัจจัยเชื่อมโยงความมั่นคงทางอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาวะพระสงฆ์บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี (รายงานการวิจัย). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

นพรัตน์ ไชยชนะ. (2560). ปฏิบัติการทางวัฒนธรรมในการพิทักษ์อาหารบ้านป่านางเย้อ ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี (รายงานการวิจัย). กาญจนบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

บุษบา ทองอุปการ. (2560). แนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งทุนชุมชนบ้านตลิ่งแดง จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บูรณ์เชน สุขคุ้ม และธนพล วิยาสิงห์. (2556). วัฒนธรรมพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์กูยจังหวัดศรีสะเกษ (รายงานการวิจัย). ศรีสะเกษ : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ปิยนาถ อิ่มดี. (2547). ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชนบท: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านป่าคา หมู่ที่ 2 ตำบลสวก อำเภอน่าน จังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เปรมสิริ ศักดิ์สูง. (2550). การดำรงวัฒนธรรมการกินของชาวเหนือในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. (รายงานการวิจัย). ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรทิพย์ ติลกานันท์. (2557). การนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร (วิทยานพินธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัมภา ศิริวงศ์. (2544). การดำรงอยู่ของวัฒนธรรมอาหารล้านนา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัชราภรณ์ มีพงษ์. (ม.ป.ป). ข้อมูลแหล่งสืบค้น สังคมวัฒนธรรมท้องถิ่น ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. (รายงานการวิจัย). กาญจนบุรี : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี

วัชราภรณ์ มีพงษ์. (ม.ป.ป). วัฒนธรรมคนหนองบัว. (รายงานการวิจัย). กาญจนบุรี. เอกสารอัดสำเนา.

วัลย์ลิกา สรรเสริญชูโชติ. (2545). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงในวิถีการผลิตและระบบความสัมพันธ์ทางสังคมในมิติหญิงชายของชุมชนกะเหรี่ยง : ศึกษากรณีบ้านทิพุเย หมู่ที่ 3 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุธานี มะลิพันธ์. (2552). ความมั่นคงทางอาหารของชาวลัวะบ้านป่ากำ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สุภา ใยเมือง. (2555). ตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

สุรชัย รักษาชาติ. (2545). ความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนของคนชายขอบ : รูปแบบการบริโภคและแหล่งที่มารของอาหารของครัวเรือนภาคตะวันตกประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ และคณะ. (2559). ทุนทางสังคมกับความมั่นคงทางอาหารในชุมชนชนบท : กรณีตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. (รายงานการวิจัย). สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.

Arunotai, Narumaon. (2006). Moken Traditional Knowledge. An Unrecognized form of Natural Resources Management and Conservation. UNESCO.

Bala, Arun and George Gheverghese Joseph. (2007). Indigenous Knowledge and Western Science: The Possibility of Dialogue. Race Class 49, 1: 39 -61.

Christopher, Munke, et al. (2012). Edible Tarantulas and Crickets in Cambodia. Informal market and potential contribution to rural livelihood, in lndigenous and Traditional Food Systems in Asia and the Pacific. Regions Symposium Promotion of underutilized indigenous food in Asia and the pacifc may 31 – June 2. Khon Kaen Thailand: 76 – 83.

Ericksen, P. (2008). Global Environmental Change and Food Secruity. Global Change News Letter 71: 10 – 12.

Saenmi, Sakda and Timmi Tillmann. (2006). ACBC: Affirmation of Cultures and Biodiversity Conservation. Oxford: Blackwell.

Shams, Manfusa. (2005). Developmental Issues in Indigenous Psychologies: Sustainability and Local Knowledge. Asian Journal of Social Psycholoty. 2005, 8: 39 – 50.

บุคลานุกรม
จำเนียร จิรกาญจลไพศาล (ผู้ให้สัมภาษณ์). นพรัตน์ ไชยชนะ (ผู้สัมภาษณ์) ณ บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558.

ดวงอำพร คามรักษ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). นพรัตน์ ไชยชนะ (ผู้สัมภาษณ์) ณ บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558.

อัมราลักษณ์ ใบบัว (ผู้ให้สัมภาษณ์). นพรัตน์ ไชยชนะ (ผู้สัมภาษณ์) ณ บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30