เส้นทางสายบุญทางพระพุทธศาสนาของชาวสยามในประเทศมาเลเซีย : การวิเคราะห์มรดกร่วมทางวัฒนธรรมไทยและมาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • ชลลดา แสงมณีศิริสาธิตกิจ
  • ทวนธง ครุฑจ้อน
  • พรไทย ศิริสาธิตกิจ

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, วัฒนธรรม, มรดกร่วม, เส้นทางสายบุญ, ฐานพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมฐานพระพุทธศาสนา  รวมทั้งรูปแบบและแนวทางการสืบทอดอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมฐานพระพุทธศาสนาของชาวสยามในรัฐตอนเหนือประเทศมาเลเซีย  และเพื่อศึกษาบทบาทภาครัฐของประเทศมาเลเซียและประเทศไทยในการส่งเสริมอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมฐานพระพุทธศาสนาของชาวสยามในรัฐตอนเหนือประเทศมาเลเซีย ตลอดจนเพื่อศึกษาเส้นทางความสัมพันธ์เชิงอัตลักษณ์และมรดกร่วมทางวัฒนธรรมฐานพระพุทธศาสนาของชาวสยามในรัฐตอนเหนือประเทศมาเลเซีย รวมถึงชาวมาเลเซียเชื้อสายอื่นที่นับถือศาสนาพุทธ กับชาวไทยท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทย  ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการศึกษาพบว่า  ชุมชนสยามในรัฐตอนเหนือประเทศมาเลเซียเป็นชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากชุมชนอื่นๆ ของประเทศมาเลเซีย โดยชุมชนสยามมีอัตลักษณ์ด้านต่างๆ ที่สำคัญ  ได้แก่  ด้านอาหาร  ด้านการแต่งกาย  ด้านภาษา ด้านที่อยู่อาศัย ด้านประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อ และด้านศาสนา สำหรับมรดกทางวัฒนธรรมฐานพระพุทธศาสนาของชาวสยามในรัฐตอนเหนือประเทศมาเลเซียที่ยังคงความเป็นอัตลักษณ์โดดเด่น ได้แก่ การปิดทองฝังลูกนิมิต  การเวียนเทียนและการแห่เทียน การบวช การทำบุญตักบาตร ประเพณีทำบุญเดือน 10 ประเพณีลากพระ ประเพณีทอดผ้าป่าสามัคคี และประเพณีทอดกฐิน โดยมีรูปแบบการสืบทอดอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมฐานพระพุทธศาสนา  2  รูปแบบ ได้แก่  การสืบทอดทางตรง  และการสืบทอดทางอ้อม ส่วนบทบาทภาครัฐของประเทศมาเลเซียและประเทศไทยในการส่งเสริมอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมฐานพระพุทธศาสนาของชาวสยามในรัฐตอนเหนือประเทศมาเลเซียจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างออกไปในรายละเอียด ได้แก่  การส่งเสริมด้านพระพุทธศาสนา  การส่งเสริมด้านประเพณีและวัฒนธรรม  และการส่งเสริมด้านการศึกษา 

สำหรับเส้นทางความสัมพันธ์เชิงอัตลักษณ์และมรดกร่วมทางวัฒนธรรมฐานพระพุทธศาสนาของชาวสยามในรัฐตอนเหนือประเทศมาเลเซีย รวมถึงชาวมาเลเซียเชื้อสายอื่นที่นับถือศาสนาพุทธกับชาวไทยท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทย พบว่า มีด้วยกันหลายเส้นทาง โดยเงื่อนไขความสัมพันธ์ดังกล่าว  ได้แก่  การนับถือศาสนาเดียวกัน ประวัติศาสตร์ร่วม  ความคล้ายคลึงทางสังคมและวัฒนธรรม  เครือข่ายความสัมพันธ์  และการจัดกระบวนการเรียนรู้

References

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2553). การเมืองการปกครองไทย : หลายมิติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คำนวณ นวลสนอง. (2546). พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของชนชาติไทในรัฐตอนเหนือของมาเลเซีย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

คำนวณ นวลสนอง.. (2550). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทในรัฐเกดะห์ ปะลิส และเประ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ ทวนธง ครุฑจ้อน และพรไทย ศิริสาธิตกิจ. (2559). เส้นทางสายบุญทางพระพุทธศาสนาของชาวสยามในประเทศมาเลเซีย: การวิเคราะห์มรดกร่วมทางวัฒนธรรมไทยและมาเลเซีย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ทัศนาวดี แก้วสนิท. (2552). การสื่อสารเพื่อธำรงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนชาวมาเลเซียเชื้อชาติไทยในรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต. (2554ก). ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยกับการธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม, วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 24(2), 167-194.

นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต. (2554ข). ตัวตนทางวัฒนธรรมของคนไทยในรัฐตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรชัย นาคสีทอง และอนินทร์ พุฒิโชติ. (2552). คนไทยในรัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) : ศึกษาการดำรงอยู่ในมิติประวัติศาสตร์ (พ.ศ.2452-2550) (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พระสมชาติ ศรีรักษา. (2552). ลักษณะทางวัฒนธรรมของชาวสยามในรัฐตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย : กรณีศึกษาหมู่บ้านคลองใหม่ ตำบลจิตรา อำเภอกูบังปาสู รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัชรินทร์ สวนฐิตะปัญญา. (2541). มาเลเซีย : เอกภาพกับการศึกษา. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และกาญจนีละอองศรี (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พัชรี กล่อมเมือง. (2559). ศึกษาเปรียบเทียบนโยบายชนกลุ่มน้อยของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย.(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไพบูลย์ ดวงจันทร์ พิทยา บุษรารัตน์ ชัยวุฒิ พิยะกูล สถาพร ศรีสัจจัง คำนวณ นวลสนอง สาวิตรี สัตยายุทย์ อารยา ดำเรือง รัชการ วิชชุรังศรี และพนัดดา เทพญา. (2551). กระบวนการทางสังคมเพื่อธำรงและสืบสานความเป็นไทยของคนไทที่อาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย (รายงานผลการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ไพลดา ชัยศร และคณะ. (2552). วัดไทยในกลันตัน : การปรับเปลี่ยนมิติทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนชาวพุทธในรัฐมุสลิม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วันพิชิต ศรีสุข. (2552). บทบาททางสังคมและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคนไทยในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุธานี เพ็ชรทอง. (2547). ประเพณีทำบุญเดือนสิบของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย ในอำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์. (2556). คนสยามของมาเลเซีย : ความเชื่อมโยงของสองแผ่นดิน, ใน สุชาดา ทวีสิทธิ์ มาลี สันภูวรรณ์ และศุทธิดา ชวนวัน (บรรณาธิการ), ประชากรและสังคมในอาเซียน : ความท้าทายและโอกาส, 83-100. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

อนุสรณ์ เมฆบุตร. (2549). การบูรณาการกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐพหุสังคม : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์สยามในรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย (วิทยานิพนธ์ปริญญารมหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อับดุรรอฮ์มาน จะปะกิยา ดลวานะ ตาเยะ จารุวัจน์ สองเมือง และมาหามะรอสลี แมยู. (2552). ศึกษาเรื่องการอนุรักษ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในประเทศมาเลเซีย กรณีศึกษาประเพณีและวัฒนธรรมของของคนสยามในเขตตูมปัต รัฐกลันตัน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อุทัย เอกสะพัง และคำนวณ นวลสนอง. (2555). บทบาทพระสงฆ์ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย (รายงานผลการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30