การบูรณาการการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์ ผ่านโครงการวิจัยชุมชน

ผู้แต่ง

  • ธนภัทร เต็มรัตนะกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พัชลินจ์ จีนนุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • นพดล สาลีโภชน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การบูรณาการการเรียนการสอน, ภาษาเพื่อการสื่อสาร, โครงการวิจัยชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์ผ่านโครงการวิจัยชุมชนโดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของนิสิตผ่านรายวิชานิเทศศาสตร์เพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ความรู้ผ่านการสื่อสารกับชุมชน ดำเนินการโดยใช้การศึกษาภาคสนามผ่านวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพกับกลุ่มนิสิตและชุมชนในพื้นที่ของโครงการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า นิสิตได้เรียนรู้เนื้อหารายวิชาอย่างมีลำดับขั้นตอนตามทฤษฏีการเรียนรู้ของ Bloom ซึ่งจะช่วยให้นิสิตได้รับองค์ความรู้ทั้งในเชิงทฤษฏีรวมถึงทักษะด้านปฏิบัติที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์ในอนาคต ทั้งนี้พบว่านิสิตได้บูรณาการความรู้ใน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ถิ่นภาษา 2) ปรลักษณ์ภาษา 3) กาลภาษา 4) เทศภาษา 5) อาการภาษา และ 6) วัตถุภาษา โดยเป็นการบูรณาการผ่านเนื้อหาความรู้เรื่องเทคนิคการสะท้อนภาษา เทคนิคการจับคู่ภาษา แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ชุมชน เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และการศึกษาบุคลิกของนักชุมชนสัมพันธ์ ในส่วนของแนวทางการประเมินผลเรื่องการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารกับชุมชนของนิสิต พบว่าสามารถวัดผลได้จากเกณฑ์ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ปริมาณของข้อมูลที่รวบรวมได้ 2) ความครอบคลุมของประเด็นข้อมูล 3) ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ 4) ความครอบคลุมของพื้นที่เก็บข้อมูล โดยการศึกษาครั้งนี้พบว่านิสิตแต่ละกลุ่มได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องภาษาที่แตกต่างกัน โดยพบว่าปัญหาและอุปสรรคของการประยุกต์ใช้ความรู้เกิดขึ้นจากตัวแปรหลายด้านทั้งในส่วนของตัวนิสิตเอง เช่น ระดับความรู้ ทักษะการสื่อสาร ทัศนคติต่อการสื่อสารกับชุมชน การปรับตัว และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือตัวแปรที่เกี่ยวกับกิจกรรมการลงชุมชน เช่น ข้อจำกัดเรื่องช่วงเวลา ระยะเวลา และสถานที่สื่อสาร ซึ่งผลการประเมินในส่วนนี้สามารถนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงแนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กาญจนา แก้วเทพ, กำ จร หลุยยะพงศ์, รุจิรา สุภาชา และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2543). สื่อเพื่อชุมชน: การประมวลองค์ความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
ชนาธิป พรกุล. (2543). แคทส์ : รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : สำ นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2539). การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
โศภนา บุณยะกลัมพ. (2546). แนวทางการจัดแผนการเรียนรู้ แบบบูรณาการ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: โมเดิร์น อคาเดมิก เซ็นเตอร์.
Nagaraj, P. (2009). Application of Community Language Learning for Effective Teaching. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561, จาก https://jurnal. unsur.ac.id/jeopallt/article/view/191/168

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31