การยังคุณประโยชน์ของผู้สูงอายุในพื้นที่เกาะบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ
  • จำนงค์ แรกพินิจ

คำสำคัญ:

การยังคุณประโยชน์ของผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, พื้นที่เกาะบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในกิจกรรมที่แสดงถึงการยังคุณประโยชน์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 60 คน เป็นบุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่แสดงถึงการยังคุณประโยชน์ ซึ่งจำแนกกิจกรรมได้ 2 ประเภทคือ (1) กิจกรรมเชิงธุรกิจ ที่สำคัญได้แก่ กิจกรรมเกี่ยวกับประมงชายฝั่ง การผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน และการท่องเที่ยวชุมชน (2) กิจกรรมบริการที่สำคัญได้แก่ กิจกรรมบริการเพื่อครอบครัว สังคม และการศาสนา ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้สูงอายุมีศักยภาพสำหรับกิจกรรมที่ยังคุณประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม

References

กมลชนก ภูมิชาติ และคณะ. (2561). รูปแบบชุมชนต้นแบบที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ, วารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ. 13(1), 115-132.
กลุ่มสถิติแรงงาน สำ นักสถิติเศรษฐกิจและสังคม สำ นักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การทำ งานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร:สำ นักงานสถิติแห่งชาติ.กองสวัสดิการสงเคราะห์ กรมประชาสังเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. (2542). ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร:กรมประชาสังเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: เทพเพ็ญวานิสย์.

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2558). การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุผ่านบทบาทอาสาสมัคร, สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์. 15(2), 73-89.

เล็ก สมบัติ, ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, และธนิกานต์ ศักดาพร. (2554). รายงานวิจัย เรื่องภาวะสูงวัยอย่างมีคุณประโยชน์กับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำ นักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2559). ลืมตาอ้าปาก จากชาวนาสู่ผู้ประกอบการ. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

เอมอร จารุรังษี. (2555). รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะที่จำ เป็นในการดำเนินชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำ เร็จในเขตเมือง.
นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Amoss, P. (1981). Coast Salish elders. In P.T. Amoss & S. Harrell (Eds.), Other ways of growing old: Anthropological perspectives (pp. 227-247). Stanford CA: Stanford University Press.

Hooyman, N.R., & Kiyak, H.A. (2002). Social gerontology: A multidisciplinary perspective (6th ed.), Boston: Allyn and Bacon.
United Nations. (2002). Report of the Second World Assembly on Ageing (Madrid, 8-12 April 2002). New York: United Nations Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31