การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม สำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ของนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • วรพรรณ กระต่ายทอง

คำสำคัญ:

หลักสูตรเสริม, ทักษะทางสังคม, พหุวัฒนธรรม, การอยู่ร่วมกัน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนา ทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมของนักศึกษา เพื่อหา ประสิทธิผลหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ร่วมกันในสังคม พหุวัฒนธรรมของนักศึกษา โดยประเมินความสามารถทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมสำ หรับนักศึกษา มี 5 ทักษะ เพื่อศึกษาความคิดเห็น ต่อการใช้หลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุ วัฒนธรรม ของนักศึกษาหลังการใช้หลักสูตร และเพื่อนำ หลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนา ทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมไปขยายผลกับนักเรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำ เนินการวิจัยมี 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นการ วิเคราะห์ความต้องการจำ เป็น เป็นการศึกษาความต้องการจำ เป็นในการพัฒนา หลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ของนักศึกษา ระยะที่ 2 การออกแบบและการพัฒนา เป็นการพัฒนาและหาคุณภาพ ของหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุ วัฒนธรรมของนักศึกษา ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร เป็นการนำ หลักสูตรเสริม เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมของนักศึกษา ไปใช้ ระยะที่ 4 การประเมินคุณภาพหลักสูตร ผลการวิจัย พบว่า

  1. การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ร่วมกันใน สังคมพหุวัฒนธรรมของนักศึกษา มุ่งพัฒนาทักษะทางสังคม อันได้แก่ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการเคารพสิทธิ ทักษะการทำ งานร่วมกัน ทักษะการอยู่ร่วมกันแบบเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ทักษะการยอมรับความหลากหลายของวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการ จิตตปัญญาศึกษา การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ซึ่งหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ของนักศึกษา ประกอบด้วย 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องเรียนรู้ รู้จักตนเอง และเปิดเผยตนเอง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องเรียนรู้และยอมรับผู้อื่น และ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องมุ่งพัฒนาสู่สังคม เมื่อทำ การพัฒนาหลักสูตรเสริมแล้วผู้วิจัย ได้ดำ เนินการให้ผู้เชี่ยวชาญหาความเหมาะสมและหาความสอดคล้องของโครงร่าง หลักสูตร พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความสอดคล้องกัน

2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ร่วม กันในสังคมพหุวัฒนธรรมของนักศึกษา พบว่า ทักษะทางสังคมทั้ง 5 ทักษะ มีร้อยละ ของค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทุกทักษะ ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการเคารพสิทธิ ทักษะการทำ งานร่วมกัน ทักษะการอยู่ร่วมกันแบบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และทักษะ การยอมรับความหลากหลาย ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้หลักสูตรเสริมเพื่อ พัฒนาทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ของนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด 3. ผลการนำ หลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำ หรับการอยู่ร่วมกันใน สังคมพหุวัฒนธรรมไปขยายผลกับนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าอยู่ใน ระดับสูง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07