Thailand 4.0 : ส่งเสริมเยาวชนไทยใส่ใจการอ่าน

ผู้แต่ง

  • พัชรี สุวรรณสอาด
  • พัชรี สุวรรณสอาด

คำสำคัญ:

การอ่าน, Thailand 4.0

บทคัดย่อ

การอ่านถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ ดังนั้นเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไป การอ่านย่อมต้องมีวิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน เทคโนโลยีต่าง ๆ มีอิทธิพลทำให้สังคมแปรเปลี่ยนและมีข้อจำกัดมากมายที่ส่งผลให้การอ่านของเด็กไทยลดน้อยลง การปรับเปลี่ยนเรื่องการอ่านและการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับเทคโนโลยีในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อประเทศไทยก้าวสู่สังคมไทยแลนด์ 4.0 การอ่านจึงมีบริบทที่เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น ผู้อ่านสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย

         การอ่านฝึกการคิดจินตนาการเป็นการสื่อภาษาด้วยตัวหนังสือ ฝึกสมาธิ และช่วยให้เด็กจดจ่ออยู่กับตัวหนังสือได้เป็นเวลานานซึ่งจะช่วยฝึกให้เด็กมีสมาธิและมีความอดทนในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือตำราต่างๆ นับเป็นแหล่งขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ยิ่งใหญ่ในการพัฒนาตนเอง สมัยนี้เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อเด็กๆ มากกว่าการอ่านหนังสือ เช่น รายการโทรทัศน์ เกมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น ดังผลสำรวจการอ่านของคนไทยในสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า คนไทยอ่านผ่านสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์แท็บเล็ตเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มี เพียง 0.3 % เพิ่มเป็น 1.8 % ในปี 2556 แนวโน้มดังกล่าวเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อ รองรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในยุค Thailand 4.0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07