การจัดการนวัตกรรมการเกษตรครัวเรือน บ้านหว้าใหญ่ ตำบลไสหมาก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ปัญญา เลิศไกร

คำสำคัญ:

การจัดการการเกษตร, ภูมิปัญญา

บทคัดย่อ

การจัดการนวัตกรรมการเกษตรครัวเรือ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเรียนรู้การจัดการนวัตกรรมการเกษตร 2) ศึกษากระบวนการพัฒนานวัตกรรมการเกษตรพื้นที่ศึกษาลุ่มน้ำปากพนัง บ้านหว้าใหญ่ ตำบลไสหมาก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ถอดบทเรียนการพัฒนาในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้ กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย ผลการวิจัยพบว่า

        การเรียนรู้การจัดการนวัตกรรมการเกษตรครัวเรือนเป็นผลจากการแนะนำทางวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐ การอบรม ศึกษาดูงาน ทำให้เกษตรกรได้แนวคิดวิเคราะห์ ด้วยการพูดคุย เสวนากับผู้รู้ผู้มีประสบการณ์บ่อย ๆ จนมั่นใจแล้วคิดรูปแบบมาทดลอง ประเมิน เป็นระยะ ๆ เป็นการเรียนรู้จากฐานความรู้ในตัวและการปฏิบัติทดลองขนาดเล็กตลอดเวลากระบวนการพัฒนาการจัดการนวัตกรรมการเกษตรครัวเรือน โดยใช้ฐานความรู้ ภูมิปัญญาและนวัตกรรมของเกษตรกร จากการถอดบทเรียน และพัฒนา พบว่าจาก การเรียนรู้ จะนำมาคิดวิเคราะห์พัฒนารูปแบบวิธีการจัดการด้วยตนเอง แล้วทดลอง ขนาดเล็ก จากนั้นมีการประเมิน และนำผลการประเมินไปปรึกษาพูดคุยกับ ผู้รู้ ผู้เชียว ชาญเป็นระยะ แล้วกลับมาพัฒนา ไปทดลองใช้ใหม่ แล้วประเมินพัฒนาตามแนวทาง ตาปูเกลียว (Spiral Model ) เพื่อให้ได้ผลดีมากขึ้นเรื่อย ๆ

         โดยภาพรวมเกษตรกรได้เรียนรู้แนวทางเชิงวิชาการ มาผนวกกับฐานคิด ภูมิปัญญาที่มีอยู่สร้างรูปแบบการจัดการตามแบบของตนขึ้นมา (การเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง) แล้วทดลองใช้ปรับปรุงพัฒนาจนเกิดความมั่นใจ จึงขยายผลและเผยแพร่ให้ เพื่อนบ้านในชุมชน และสังคมที่สนใจต่อไป

         กระบวนปฏิบัติ โดยใช้ฐานภูมิปัญญาและนวัตกรรม ที่เกิดจากการเรียนรู้และ นำภูมิปัญญามาสร้างนวัตกรรมอิงสภาพธรรมชาติ แก้ปัญหาต้นทุนการผลิต การดูแล บำรุงรักษา และเกิดผลดีต่อสภาพแวดล้อม เกิดความเข้าใจธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเกิด การปรับตัวปรับสภาพการดำเนินชีวิตของตนเอง ครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07