วัฒนธรรมกวนซี่กับการสร้างเครือข่ายทางสังคมของชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกา ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Ma GuiTong
  • ศุภการ สิริไพศาล
  • อดิศร ศักด์ิสูง

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมกวนซี่, ชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกา, การสร้างเครือข่ายทางสังคม, ภาคใต้ตอนล่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการของวัฒนธรรมกวนซี่ (Guanxi)ในกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกา (Hakka) ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย2) ความสัมพันธ์ทางสังคมของชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกากับกลุ่มชาวไทยอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารและการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบเจาะลึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และนำมาวิเคราะห์ ตีความและนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์

        ผลการศึกษา พบว่า วัฒนธรรมกวนซี่มีต้นกำเนิดจากกลุ่มชาวจีนในประเทศจีนและมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เมื่อชาวจีนฮากกาได้อพยพพร้อมกับชาวจีนกลุ่มอื่นเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ได้นำวัฒนธรรมกวนซี่เข้ามาด้วย และสืบสานดำรงอยู่ในการรวมกลุ่มชาวจีนฮากกาทุกด้าน โดยมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางสังคมในภาคใต้ของประเทศไทยในแต่ละยุคสมัย มีวิธีการสร้างเครือข่ายทางสังคมผ่านวัฒนธรรมกวนซี่ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมโดยใช้ทุนทางสังคมในการรวมกลุ่ม การรวมกลุ่มตระกูลแซ่ การจัดตั้งสมาคม ชมรมและมูลนิธเิ พื่อรวมกลุ่มสบื สานประเพณีและวัฒนธรรม การรวมกลุม่ สรา้ งวดั ศาลเจ้าและศาสนสถาน ในทางเศรษฐกิจ มีการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจ มีการระดมทุนและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ความช่วยเหลือทางการเงินในกลุ่มเชื้อสายจีนฮากกาการเล่นโต๊ะแชร์ ในด้านความสัมพันธ์กับคนกลุ่มอื่น ชาวไทยเชื้อสายจีน ฮากกามีความสัมพันธ์กับชาวไทยเชื้อสายจีนและคนไทยกลุ่มอื่น ๆ ครอบคลุมด้านสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ มีความช่วยเหลือเกื้อกูลและประสานประโยชน์ร่วมกันอย่างลงตัว ผ่านกิจกรรมทางสังคม สร้างโรงพยาบาล โรงเรียน สร้างบ้านให้คนชราอยู่อาศัย สร้างสุสาน และอื่น ๆ ผ่านสมาคม ชมรมและมูลนิธิต่าง ๆ สำหรับความสัมพันธ์กับชาวไทยท้องถิ่นนั้น มีการแต่งงานกับชาวไทยท้องถิ่นเพื่อรักษาสถานภาพหรือเลื่อนชนชั้นทางสังคม มีการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรมเข้าในวิถีชีวิตของตนเอง ถวายชวนพระสงฆ์ไทยสวดมนต์ในพิธีกรรมต่าง ๆ เทศกาลกินเจแต่ละปี มีการจัดงานเลี้ยงฟรีเพื่อให้ชาวไทยท้องถิ่นได้มีส่วนร่วม มีการก่อตั้งหอการค้าโดยผ่านภาครัฐเพื่อให้ชาวไทยท้องถิ่นได้เข้ามีส่วนร่วมและให้ความช่วยเหลือกันและกัน อีกทั้งชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกาในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างยังได้สืบสานวัฒนธรรมกวนซี่ และมีการปรับเปลี่ยนในการสร้างเครือข่ายต่าง ๆ ตามยุคสมัยเพื่อสร้างความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับทุกกลุ่ม กระทั่งสามารถดำรงอยู่ร่วมเป็นสังคมเดียวกันกับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07