แนวทางการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา

ผู้แต่ง

  • ชญานนท์ อินทร์ภิรมย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นุชนรา รัตนศิระประภา ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์การ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา  2) แนวทางการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา จำนวน 70 คน และ บุคลากรโรงเรียนศรีวิชัยวิทยาที่ตอบแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejci and Morgan) แล้วเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งประเภท (Stratified Random Sampling) ตามตำแหน่งหน้าที่หลัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

          ผลการวิจัยพบว่า

          1) ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา ภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับผลการวิเคราะห์ตามค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากมากไปน้อย ดังนี้ ความเต็มใจที่จะพยายามปฏิบัติงานเพื่อองค์การ
(equation = 4.49, equation = 0.62) ความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าที่จะยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ (equation = 4.04,equation = 0.68) และความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรักษาความเป็นสมาชิกภาพขององค์การ (equation = 4.02, equation = 0.78)

          2) แนวทางการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรของโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา เป็นแบบพหุแนวทาง มี 10 แนวทาง ได้แก่ 1) บริหารงานโดยให้สมาชิกในองค์การมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของโรงเรียน 2) มอบหมายงานตามความสามารถของบุคลากร 3) กำกับติดตามการปฏิบัติงานที่มอบหมายแก่บุคลากร 4) สร้างความตระหนักรู้ให้บุคลากรเห็นถึงความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมาย 5) ให้อิสระในการปฏิบัติงาน 6) ให้กำลังใจ รวมทั้งประเมินผลการทำงานด้วยความยุติธรรม 7) สร้างบรรยากาศในการทำงานให้เป็นสังคมแห่งความเกื้อกูล 8) รับฟังความคิดเห็นของบุคลากรทุกคนอย่างเท่าเทียม 9) อำนวยความสะดวกให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ปฏิบัติตนเป็นปรปักษ์ในการทำงาน 10) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ของบุคลากรอย่างทั่วถึงโดยไม่จำกัดตำแหน่งหน้าที่

References

ภาษาไทย

วีรวัฒน์ ยวงตระกูล. (2556). องค์การสู่ความสำเร็จ. ทริปเพิ้ล กรุ๊ป, กรุงเทพฯ.

สุขุม เฉลยทรัพย์. (2567). ความสุขของครูและนักเรียน 2567. สยามรัฐ. https://siamrath.co.th/c/505996

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม (พ.ศ. 2566-2570). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพฯ.

ธีรดา ไชยบรรดิษฐ. (2562). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. วารสารวิชาการคณะมนุษศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 1(3), 157.

อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ และสุภาวดี ลาภเจริญ. (2564). ความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาเอกชน จังหวัดสระบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(1), 176.

อภิสิทธิ์ เครือสา. (2565). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(1), 69.

ภาษาอังกฤษ

Angle H. L. and Perry J. L. (1981). “An Empirical Assessment of Organizational Commitment and Organizational Effectiveness.” Administrative Science Quarterly. 26(1).

Best, J. W. (2006). Research in Education. 10th ed. Englewood cliffs: Prentice Hall.

Porter, L. W., Steers, R. M., Mowday, R. T. & Boulian, P. V. (1976). “Organizational Commitment, Job Satisfaction, and Turnover among Psychiatric Technicians.” Journal of Applied Psychology, 59(5).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/12/2024