การส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ
ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
✔️ |
กรุณาศึกษาคู่มือการใช้งานระบบก่อนการส่งบทความครั้งแรก อยู่ใน: คู่มือสำหรับผู้แต่ง |
✔️ |
ผู้เขียนใช้ email ปัจจุบันในการสมัคร ระบบจะส่งการแจ้งเตือนผ่าน email ที่ท่านได้ทำการสมัครสมาชิกไว้ |
✔️ |
วารสารเปิดรับบทความ 2 ประเภท ได้แก่ 1.บทความวิจัย 2.บทความวิชาการ |
✔️ |
บทความที่ส่งตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น |
✔️ |
ไฟล์บทความจะต้องอยู่ในรูปแบบของเอกสาร Word.doc ใช้ฟอนต์ TH Sarabun New |
✔️ |
รูปแบบของบทความ และการเขียนเอกสารอ้างอิงต้องจัดเตรียมตามคำแนะนำที่ |
✔️ |
รายการอ้างอิง รวมถึงลิงค์ URL ที่ใช้อ้างอิงในบทความต้องสามารถตรวจสอบได้ |
✔️ |
ผู้เขียนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ จำนวน x,000 บาท หลังผ่านการตรวจรับจากวารสารฯ แล้วเท่านั้น |
** คำแนะนำผู้แต่ง
ผู้เขียนจำเป็นต้องศึกษาคู่มือการใช้งานระบบก่อนเข้าใช้ระบบครั้งแรก
ท่านสามารถ Download คู่มือและเอกสารประกอบต่างๆ ได้ที่ หัวข้อ คู่มือการใช้งาน / MANUAL
บทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ในวารสารการบริหารการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เป็นบทความที่ผ่านการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากภายนอกและภายในสถาบันตามหลัก
เกณฑ์การตรวจประเมิน 3 ท่านต่อ 1 บทความ และเป็นไปเพื่อการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ
รายการอ้างอิง (อ้างอิงตามระบบ APA 7th Style)
เครื่องหมาย / หมายถึง เว้นวรรค 1 ระยะ
1.การอ้างอิงในเนื้อหา (In-Text Citation) ใช้ระบบนาม-ปี โดยมีรูปแบบการเขียนดังนี้
1.1 ผู้แต่ง 1 คน
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล/(ปี)
ภาษาอังกฤษ สกุล/(ปี)
ตัวอย่าง
สมชาย วีระวงศ์ (2565) ระบุว่า
Smith (2023) Research
1.2 ผู้แต่ง 2 คน
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล/และ/ชื่อ/สกุล/(ปี)
ภาษาอังกฤษ สกุล/and/สกุล/(ปี)
ตัวอย่าง
สมชาย วีระวงศ์ และ พัชรี วรจรัสรังส (2565) กล่าวถึง
Smith and Wang (2023) Research
1.3 ผู้แต่ง 3 คนขึ้นไป
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล/และคณะ/(ปี)
ภาษาอังกฤษ สกุล/et/al./(ปี)
ตัวอย่าง
อวยพร เรืองตระกูล และคณะ (2551) กล่าวถึง
Smith et al. (2000) Research
** หมายเหตุ
- กรณีที่มีผู้เขียนตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไป ให้ใส่เฉพาะชื่อ-สกุล (ผู้แต่งชาวไทย) และสกุล
(ผู้แต่งชาวต่างชาติ) ของผู้แต่งคนแรก แล้วตามด้วย et al. ตั้งแต่ครั้งแรก - ทุกรายการที่อ้างอิงในเนื้อหา ต้องปรากฏในรายการอ้างอิงท้ายบทความเสมอ
การเขียนรายการอ้างอิง (References)
หนังสือ (Book)
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์./URL (หนังสือonline)
ภาษาอังกฤษ สกุล,/(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์./URL (หนังสือonline)
ตัวอย่าง
สมชาย วิทยา. (2565). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์ไทย.
Smith, J. (2023). Human resource development. (2nd ed.). Cambridge University Press.
บทในหนังสือ (Chapter in Edited Book)
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทหรือชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บ.ก.),/ชื่อหนังสือ/
///////(น./เลขหน้า)./สานักพิมพ์.
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทหรือชื่อบทความ./In/ชื่อบรรณาธิการ/
///////(Ed. หรือ Eds.),/ชื่อหนังสือ/(pp./เลขหน้า)./สานักพิมพ์.
ตัวอย่าง
สมชาย วิทยา. (2565). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. ใน กาญจนา รัตนา (บ.ก.), การจัดการทรัพยากร
มนุษย์ (น. 12-25). สำนักพิมพ์ไทย.
Smith, J. (2023). Developing Human resource. In R. Johnson (Ed.)
Human resource (pp. 12-25). Cambridge University Press.
บทความวารสาร (Journal Articles)
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./ (ปีพิมพ์)./ ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/
///////เลขหน้า. URL (ถ้ามี)
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/
///////เลขหน้า. URL (ถ้ามี)
ตัวอย่าง
สมชาย วิทยา. (2565). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.ในองค์กร. วารสารการบริหารการจัดการ, 10(2), 12-25.
http://exampel.com/index.pdf
Smith, J. (2023). Human resource development in organizations. Journal of
Management Studies, 10(2), 12-25. http://exampel.com/index.pdf
วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
(Doctoral dissertation / Master’s thesis)
วิทยานิพนธ์ (ไม่ได้ตีพิมพ์1)
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์1 หรือ
///////วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์1]./ชื่อมหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/ [Unpublished1 doctoral dissertation
///////หรือ Unpublished1 master’s thesis]./ชื่อมหาวิทยาลัย.
ตัวอย่าง
สมชาย วิทยา. (2565). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรธุรกิจ [วิทยานิพนธ์
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Smith, J. (2023). Human resource development in business organizations.
[Unpublished master’s thesis]. Harvard University
วิทยานิพนธ์ (จากเว็บไซต์URL2)
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ
///////วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,/ชื่อมหาวิทยาลัย]./ชื่อเว็บไซต์./URL2
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[Doctoral dissertation หรือ
///////Master’s thesis,/ชื่อมหาวิทยาลัย]./ชื่อเว็บไซต์./URL2
ตัวอย่าง
สมชาย วิทยา. (2565). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรธุรกิจ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Exampel WebPage. http://exampel.com/index.pdf
Smith, J. (2023). Human resource development in business organizations. [Master’s thesis,
Harvard University]. Exampel Web Page. http://exampel.com/index.pdf
วิทยานิพนธ์ (จากฐานข้อมูลเชิงพานิชย์UMI3)
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/(หมายเลข UMI3 หรือ เลขลำดับอื่น ๆ)/
///////[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,/
///////ชื่อมหาวิทยาลัย]./ชื่อฐานข้อมูล3
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/(หมายเลข UMI3 หรือเลข
///////ลำดับอื่น ๆ)/ [Doctoral dissertation หรือMaster’s thesis,/
///////ชื่อมหาวิทยาลัย]./ชื่อฐานข้อมูล3
ตัวอย่าง
สมชาย วิทยา. (2565). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรธุรกิจ (UMI No.xxxxxxx)
[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Exampel Database
Smith, J. (2023). Human resource development in business organizations (UMI No.xxxxxxx)
[Master’s thesis, Harvard University]. Exampel Database
รายงานของหน่วยงานหรือองค์กร (Reports)
ภาษาไทย ชื่อหน่วยงาน./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./สานักพิมพ์./URL(ถ้ามี)
ภาษาอังกฤษ ชื่อหน่วยงาน./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./สานักพิมพ์./URL(ถ้ามี)
ตัวอย่าง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2565-2570.
สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษา. http://exampel.com/index.pdf
รายงานการประชุมวิชาการที่มีการตีพิมพ์ Proceeding (Symposium)
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อ/(บ.ก.),/ชื่อเอกสารการรประชุม/
///////(หน้าที่ปรากฏในบทความ)./สำนักพิมพ์.
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./In/ชื่อเอกสารการประชุม/
///////(หน้าที่ปรากฏในบทความ)./สำนักพิมพ์.
///////ชื่อการประชุม [Symposium]. /สถานที่จัดการประชุม,/จังหวัด.
ตัวอย่าง
สมชาย วิทยา. (2563). นวัตกรรมการเรียนการสอน. ใน สุนทร สุขสม (บ.ก.), การประชุมวิชาการแห่งชาติ
ครั้งที่ 10 (หน้า 12-25). สำนักงานวิจัย.
รายงานการประชุมวิชาการที่ไม่มี Proceeding (Symposium)
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปี,/เดือน,/วัน)./ชื่อเรื่องที่นำเสนอ./ใน/ชื่อ/(ประธาน),/ชื่อการประชุม
///////[การประชุม]./สถานที่จัดการประชุม,/จังหวัด.
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปี,/เดือน,/วัน)./ชื่อเรื่องที่นำเสนอ./In/ชื่อ/(ประธาน),/
///////ชื่อการประชุม [Symposium]. /สถานที่จัดการประชุม,/จังหวัด.
ตัวอย่าง
สมชาย วิทยา. (2563, พฤษจิกายน 20). นวัตกรรมการเรียนการสอน. ใน สุนทร สุขสม (ประธาน),
การประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งที่ 10. สำนักงานวิจัย, กรุงเทพฯ.
ราชกิจจานุเบกษา (Royal Gazette)
ภาษาไทย ชื่อกฎหมาย./(ปี,/วัน/เดือน)./ราชกิจจานุเบกษา./เลขเล่ม/เลขตอน./เลขหน้า.
ตัวอย่าง
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548.
(2548, 25 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนพิเศษ 39 ง. หน้า 14–23.
พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561. (2561, 13 พฤษภาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 33 ก. หน้า 1–18.
พระราชบัญญัติประถมศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2505. (2505, 27 กรกฎาคม).
ราชกิจจานุเบกษา (ฉบับพิเศษ). เล่ม 79 ตอนที่ 67. หน้า 24–31.
เว็บไซต์
ภาษาไทย ชื่อ/สกุลผู้เขียน./(ปี,/เดือน/วันที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อผู้เขียน./(ปี,/เดือน/วันที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL
* กรณีที่ไม่มีวันที่เผยแพร่ปรากฏ ให้ใส่ (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.)
** กรณีที่มีปรากฏเฉพาะ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ให้ใส่แค่ (ปี) เท่านั้น
*** กรณีชื่อผู้เขียนและชื่อเว็บไซต์เป็นชื่อเดียวกัน ให้ตัดชื่อเว็บไซต์ออก
ตัวอย่าง
สมชาย วิทยา. (2565). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
http://exampel.com/index.pdf
การเว้นวรรค (Spacing)
ตามหลักของ ราชบัณฑิตยสภา การใช้ รูปแบบการเว้นวรรค คำเชื่อม และเครื่องหมาย
มีแนวทางที่ชัดเจนเพื่อความถูกต้องในภาษาไทย ดังนี้
เว้น 1 วรรค (หน้าคำ) และ หรือ แต่ เป็นต้น
เว้น 1 วรรค (หลังคำ) ว่า
เว้น 1 วรรค (ระหว่างคำ) ได้แก่ เช่น
เว้น 1 วรรค (หลังเครื่องหมาย) , . ; : ฯ ? !
เว้น 1 วรรค (ระหว่างเครื่องหมาย) () “…” ๆ ฯลฯ =
การใช้เครื่องหมายวรรคตอน (Punctuation)
เครื่องหมายมหัพภาค (.) ใช้จบประโยค หรืออักษรย่อ
ตัวอย่าง: วันนี้อากาศดีมาก. หรืออาจารย์ ดร.
เครื่องหมายจุลภาค (,) ใช้คั่นคำ เช่น จำนวน หรือสิ่งของที่กล่าวต่อเนื่อง // ใช้คั่นส่วนขยาย
ตัวอย่าง: ฉันชอบผลไม้ เช่น ส้ม, มะม่วง, และกล้วย // กรุงเทพฯ, มีประชากรมากที่สุด
เครื่องหมายทวิภาค (:) ใช้แยกส่วนในรายการ หรือแสดงคำอธิบายเพิ่มเติม
ส่วนมากใช้กับตัวเลขที่เป็นอัตราส่วน สัดส่วน จะไม่เว้นวรรค เช่น 1:2, 1:1000
ตัวอย่าง: ข้อสอบมี 3 ส่วน ได้แก่: ฟัง, พูด, และเขียน
เครื่องหมายอัฒภาค (;) ใช้แยกความสัมพันธ์ในข้อความที่เชื่อมโยงกัน
ตัวอย่าง: ฉันชอบเรียนวิทยาศาสตร์; เพราะมันสนุกและท้าทาย
เครื่องหมายอัญประกาศ (“ ”) ใช้เน้นคำหรือข้อความ หรืออ้างอิงข้อความ
ตัวอย่าง: เขาบอกว่า “พรุ่งนี้จะไปทำงาน”
เครื่องหมายยัติภังค์ (-) ใช้เชื่อมคำ
ตัวอย่าง: ผลกระทบระยะยาว-ระยะสั้น
เครื่องหมายวงเล็บ ( ) ใช้ใส่ข้อความเสริม
ตัวอย่าง: กรุงเทพฯ (Bangkok)
นโยบายด้านลิขสิทธิ์
เนื้อหาทั้งหมดของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ ทางวารสารการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยศิลปากร ไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบ
เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ
ภาคการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำส่วนหนึ่งส่วนใด
ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
จากภาคการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อนเท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์. (2564). การอ้างอิงสารสนเทศตาม
“Publication Manual of the American Psychological Association”
(7th Edition). คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/153329/111738
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (ม.ป.ป.). หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. http://legacy.orst.go.th/?page_id=629