ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ธรรมนูญ คนตรง นักศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สายสุดา เตียเจริญ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา  2) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา ประชากร คือ บุคลากรของโรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน และครู จำนวน 63 คน รวมทั้งสิ้น 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำดิจิทัลตามแนวคิดของดาวรุวรรณ ถวิลการ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมภาวะผู้นำดิจิทัลสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การสร้างวัฒนธรรมเชิงดิจิทัล การสื่อสารเชิงดิจิทัล การสร้างวิถีการเรียนรู้เชิงดิจิทัล และการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ ตามลำดับ

2. แนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา มีแนวทางในการส่งเสริมทั้งหมด 20 แนวทาง

References

กวินท์ บินสะอาด. (2564). ภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค จํากัด.

ณัฏฐิตา สงค์แก้ว. (2565). “ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1”. วารสารสมาคมนักวิจัย 27(3): 49 – 64.

นภัสรัญช์ สุขเสนา. (2565). “ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2”. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 14(3): 178 – 191.

บวร ปภัสราทร. (2566). ผู้นำแบบดิจิทัล. เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/119736.

ปุญญฤทธิ์ วิทยอุดม. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 38 – 39.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute: TDRI)‍. (2566). ปัญหาการศึกษาไทย นวัตกรรมและการวิจัยช่วยได้จริงหรือ?, เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน. เข้าถึงได้จาก https://www.disruptignite.com/blog/problem-of-thailand-education

สมาน ประวันโต. (2566). “แนวทางการพััฒนาภาวะผู้้นํายุุคดิิจิิทัลของผู้้บริหารสถานศึึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึึกษาประถมศึึกษาหนองบัวลําภู เขต 1”. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ 23(3): 49 – 63.

สินาภรณ์ บุญเลิศฤทธิ์. (2566). “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2”. วารสารราชพฤกษ์ 21(2): 175 – 189.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ออระญา ปะภาวะเต. (2564). “แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2”. Journal of Modern Learning Development 6(4): 192 – 200.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/30/2024