ความสุขของครูในศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพโรงเรียนท่ามะกา 3

Main Article Content

ชุตินันท์ บัวรอด
สงวน อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ความสุขของครูในศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพโรงเรียนท่ามะกา 3 2) แนวทางการพัฒนาความสุขของครูในศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพโรงเรียนท่ามะกา 3 กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนในศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพโรงเรียนท่ามะกา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 2 จำนวน 11 โรง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย สายบริหารจำนวน 11 คนและสายการสอนจำนวน 97 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1. ความสุขของครูในศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพโรงเรียนท่ามะกา 3 อยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน และอยู่ในระดับมาก 8 ด้าน เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การเป็นผู้ที่รักและดูแลครอบครัวได้การเป็นผู้มีคุณธรรมและความกตัญญูการเป็นผู้ที่รักและดูแลองค์กร การเป็นผู้ที่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเอง การเป็นผู้รักการเรียนรู้และเป็นมืออาชีพในงานของตนเอง การเป็นผู้มีการงานดีการเป็นผู้ที่มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น การเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีดูแลตนเองไม่ให้เป็นภาระของผู้อื่น และการเป็นผู้ใช้เงินเป็น


2. แนวทางการพัฒนาความสุขของครูในศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพโรงเรียนท่ามะกา 3 มีแนวทาง ดังนี้


1) การเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีควรดูแลตนเองไม่ให้เป็นภาระของผู้อื่น ให้ครูออกกำลังกายทั้งในโรงเรียนและจากการแข่งขันกีฬากลุ่มโรงเรียน 2) การเป็นผู้ที่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเอง ให้ครูแบ่งเวลาสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้ผ่อนคลายเพื่อลดความตึงเครียด 3) การเป็นผู้ที่มีน้ำใจควรช่วยเหลือผู้อื่น สร้างทัศนคติที่ดีในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างจิตสาธารณะ 4) การเป็นผู้มีคุณธรรมและความกตัญญูควรให้โรงเรียนจัดพิธีกรรมทางศาสนา 5) การเป็นผู้ที่รักและดูแลครอบครัวได้ผู้บริหารควรลดภาระงานครูโดยการบรูณาการกิจกรรม จัดการงานให้สมดุลกับศักยภาพของครู 6) การเป็นผู้ที่รักและดูแลองค์กร ควรจัดกิจกรรมกลุ่มโรงเรียนเพื่อให้ครูได้สานสัมพันธ์ 7) การเป็นผู้รักการเรียนรู้และเป็นมืออาชีพในงานของตนเอง ควรให้ครูตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ 8) การเป็นผู้ใช้เงินเป็น ควรสนับสนุนให้ครูแบ่งเงินเพื่อเก็บออม และให้ครูเก็บออมเงินในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดกาญจนบุรีสวัสดิการกลุ่ม SP3 9) การเป็นผู้มีการงานดีควรสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่งและให้ความรู้เกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สุภาราญ. การจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาสภาวะทางอารมณ์ร่วมกัน ครูและ นักเรียนมีความสุข ห้องเรียนก็มีความสุข, เข้าถึงเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จากhttps://www.educathai.com/knowledge/articles/440.

วีรภัทร สภากาญจน์. “การสร้างความสุขในการทำงานยุค NEW NORMAL.” วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 11, 1(มกราคม-กุมภาพันธ์ 2565): 401.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566 - 2570)." 1 พฤศจิกายน 2565.

สุทธิรัตน์ ชูเลิศ และคนอื่น ๆ. "การเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย." ใน วารสาร มจร การพัฒนาสังคม 56-57.

สุทธิศักดิ์ อ่อนตะวัน. “สมรรถนะของผู้บริหารกับความสุขของครูโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 25