แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียนประชาอุปถัมภ์
คำสำคัญ:
มาตรการฟื้นฟู, ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียนประชาอุปถัมภ์ 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียนประชาอุปถัมภ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครูโรงเรียนประชาอุปถัมภ์ จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียนประชาอุปถัมภ์ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียนประชาอุปถัมภ์ ควรดำเนินการ ดังนี้ 1) การอบรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพครู เพิ่มการนิเทศการเรียนรู้ อย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน พร้อมสะท้อนปัญหาผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การสร้างกลยุทธ์ของโรงเรียน 2) การจัดทำคู่มือเพื่อชี้แจ้งนโยบายและแนวทางการจัดการเรียนรู้ พร้อมรับการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการวางแผนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนที่มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้รายบุคคล 3) การสร้างคลังสื่อของโรงเรียนผ่านเว็บไซต์โรงเรียน และสนับสนุนครูผู้สอนสร้างช่องทางยูทูป รวมทั้งการแข่งขันประกวดสื่อและนวัตกรรม อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แนวทางการฟื้นตัวทางการศึกษาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและเสมอภาค. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. บี. เค. การพิมพ์ จำกัด. 45.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. บี. เค. การพิมพ์ จำกัด. 1-12.
โรงเรียนประชาอุปถัมภ์. (2563). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563 – 2565. นนทบุรี: โรงเรียนประชาอุปถัมภ์. 12-17.
โรงเรียนประชาอุปถัมภ์. (2565). รายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report :SAR) ของโรงเรียนประชาอุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2565. นนทบุรี: โรงเรียนประชาอุปถัมภ์. 64 - 75.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. (2566). แบบรายงานผลการคัดกรองผู้เรียนที่มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านความสามารถทางคณิตศาสตร์. นนทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. 2.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. (2565). “แนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนการแก้ไขภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1”. รายงานผลการดำเนินงาน นโยบาย จุดเน้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. 7-9.
ณัฐพัชร์ บุญเกตุ. (2565). “การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 9(6): 16-30.
สาลินี อันตรเสน. (2566). “การปรับตัวของครูในยุคดิจิตอล จาก New Normal สู่ Next Normal”. วารสารภาษาปริทัศน์ 38: 41 - 52.
วัสสิกา รุมาคม และฐิชากาญจน์ พัชรจิราพันธ์. “การบริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19”. Journal of Roi Kaensarn Academi 6(8): 69-80.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.