แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม

Main Article Content

ชนะการ เลี้ยงอำนวย
ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม และ 2) แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิต จากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ ด้านชุมชนกัลยาณมิตร ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน ด้านวิสัยทัศน์ร่วม และด้านภาวะผู้นำร่วม ตามลำดับ

  2. แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา เป็นพหุแนวทาง โดยกำหนดให้ข้อที่มีค่ามัชฌิมเลขคณิตต่ำที่สุดในแต่ละด้านมาเป็นประเด็นเพื่อหาแนวทางพัฒนา จำนวน 6 ด้าน มีแนวทางในการพัฒนาทั้งหมด 22 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันต์ธร หิรัญลักษณ์. (2564). “ชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิติมา วรรณศรี. (2564). การบริหารจัดการศึกษายุคดิจิทัล. พิษณุโลก: โรงพิมพ์รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.

ธมลพรรณ คันธนู. (2562). “แนวทางการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 จังหวัดสุโขทัย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

นูรีย๊ะ สาอิ. (2564). “แนวทางการพัฒนาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายะลา.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู (Professional Learning Community) กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: M&N Design Printing

ประจักษ์ ยอดเมิน. (2563). “แนวทางการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 หนองบัวลำภู.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116, ตอนที่ 74 ก. หน้า 3.

โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา. (2566). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565. นครปฐม: โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา.

วิราวรรณ์ เพ็ชรนาวา. (2563). “แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง และคณะ. (2564) “การประเมินการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.” วิจัยและพัฒนาหลักสูตร 11(1): 182-199.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 –2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษา. ม.ป.ท.

สุภัทรา สภาพอัตถ์. (2562). “การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา.” วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

หนึ่งฤทัย สีหะวงษ์. (2562). “ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.

Best, John W. (2006). Research in Education. 10th ed. Englewood cliffs: Prentice Hall.

Likert, Rensis. (1967). The Human Organization. New York: McGraw- Hill.

Nguyen, Dong, and others. (2024) “A review of the empirical research literature on PLCs for teachers in the Global South: evidence, implications, and directions.” Professional Development in Education 50(1): 91-107.