กระบวนการนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
Internal Supervision Process to Enhance Educational Quality
คำสำคัญ:
กระบวนการนิเทศภายใน, คุณภาพการศึกษาบทคัดย่อ
กระบวนการในการเพิ่มประสิทธิภาพของการศึกษาที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ กระบวนการนิเทศภายในซึ่งในปัจจุบันสถานศึกษาทุกแห่งจำเป็นต้องนำกระบวนการนิเทศภายในที่เป็นภารกิจสำคัญต่อการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษามาบริหารจัดการภายในโรงเรียน โดยอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรทางการศึกษาหลายฝ่ายโดยเฉพาะ ครูผู้สอน เนื่องจาก ครูผู้สอนเป็นบุคลากรทางการศึกษาหลักที่จะเป็นกลไกลสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนอันเป็นเป้าหมายสุดท้าย จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการนิเทศภายในจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้บุคลากรในโรงเรียนสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมายส่งผลต่อการพัฒนา ปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษา
ในสถานศึกษาให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตร มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงที่สุด
ในการทำงาน สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการบริหารจัดการ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปัญหาอื่น ๆ ส่งผลให้การดำเนินงานของโรงเรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ เพื่อพัฒนาให้การจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา ปรับปรุง ส่งเสริม และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาในสถานศึกษา เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษามีความเข้าใจ ความรู้ในด้านหลักสูตร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และมีความเข้าใจในการปฏิบัติงานอื่นๆนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนอันเป็นประโยชน์และส่งผลต่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยที่บุคลากรในสถานศึกษาได้มีการพัฒนาความสามารถ ความคิด ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง และเกิดการสร้างงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างต่อเนื่องโดยนำกระบวนการนิเทศภายในมาปรับประยุกต์ใช้
References
จิตติมา วรรณศรี. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณ, 2557.
เทวินทร์ ประสิทธิ์เสริฐ. หลักการทำงานตามวงจรเดมิ่ง (The Deming Cycle) PDCA. เข้าถึงเมื่อ
เมษายน 2566. เข้าถึงได้จาก http://www.cgpcenter.com/generalknowledges/
pdca/pdca.html
“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2562.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127, ตอนที่ 45 ก
วัชรา เล่าเรียนดี. การนิเทศการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.
______. การนิเทศการสอน. พิมพ์ครั้ง 9. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555.
สงัด อุทรานันท์. การนิเทศ หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม, 2555.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.