องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดปุรณาวาส
LEARNING ORGANIZATION OF WATPURANAWAS SCHOOL
คำสำคัญ:
องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดปุรณาวาสบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์กรแห่งการเรียนรู้ของ โรงเรียนวัดปุรณาวาส และ 2) แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดปุรณาวาส ประชากร คือบุคลากรโรงเรียนวัดปุรณาวาส ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน รองผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 คน ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ศิลปะ การงานอาชีพ และ เทคโนโลยี สุขศึกษาและพลศึกษา วิทยาศาสตร์ และ ครู 62 คน เครื่องมือที่ใช้มี 2 ประเภท คือ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดปุรณาวาส โดยภาพรวม และ รายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิต จากมากไปน้อย ดังนี้ ความเชี่ยวชาญของบุคคล การคิดเชิงระบบ แบบแผนทางความคิด วิสัยทัศน์ร่วม และ การเรียนรู้ของทีม
- แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดปุรณาวาส มี 17 แนวทาง ซึ่งแนวทางที่ผู้บริหารควรปฏิบัติมี ดังนี้ 1) ร่วมกันตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ 2) ส่งเริมให้สร้างสรรค์ผลงานด้านการสอนด้วยตนเอง 3) ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 4) จัดการประชุม อย่างสม่ำเสมอ 5) ส่งเสริมให้พัฒนาผลงาน ด้วยตนเอง 6) รับฟัง ความคิดเห็น 7) สนับสนุน ให้ศึกษาต่อ ในระดับที่สูง 8) ร่วมมือกันวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น 9) จัดอบรมการใช้นวัตกรรมในการสอน 10) สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 11) ชี้แจงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดในองค์กรอย่างต่อเนื่อง 12 ) ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติงานให้เต็มความสามารถ 13) ให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ และนอกจากนี้บุคลากรควรมีแนวทางในการพัฒนางาในองค์กร ดังนี้ 14) ปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพเพื่อคุณภาพงานที่สูง 15) วิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญในการทำงาน 16) ติดตามผลการเรียนของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ 17) เข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาในการจัดการสอน
References
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษา
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2556.
การบริหารราชการแนวใหม่. องค์กรแห่งการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 19 เมษายน 2561. เข้าถึงได้จาก
http://cdd go.th/ kmod/show.pdf.php?.
เกศรา รักชาติ. องค์กรแห่งการตื่นรู้. กรุงเทพฯ: เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป, 2549.
เจนเนตร มณีนาค และคณะ. สร้างองค์กรอัจฉริยะในยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: ซัมซิสเท็ม, 2546.
เจษฎา นกน้อย และคณะ. นานาทรรศนะ การจัดการความรู้และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
ธงชัย สมบูรณ์. จากองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่องค์กรเปี่ยมสุข. กรุงเทพฯ: ธรรมสารม, 2549.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. การจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว, 2550.
ประคอง สุคนธจิตต์. การพัฒนาไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ Learning Organization. เข้าถึงเมื่อ
16 กุมภาพันธ์ 2561. เข้าถึงได้จาก htt://www. Krirk. Ac.th/education/article.
วิโรจน์ สารรัตถะ. โรงเรียนองค์กรแห่งการเรียนรู้แนวคิดทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5.
กรุงเทพฯ: บริษัทอักษราพิพัฒน์, 2546.
วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. รายงานผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์, 2550.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561).
กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค, 2552.
สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2561. เข้าถึงได้จาก www.nesdb.go.th/ewt_news.
สำนักปลัด กรุงเทพมหานคร. 35 ปี กรุงเทพมหานคร. ยูเนี่ยนอุลตร้าไวโอเล็ต, 2551.
อมลวรรณ วีระธรรมโม. “องค์กรแห่งการเรียนรู้.” วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ (กรกฎาคม- ธันวาคม,
2548): 65.
Coughlin, P. K. “The impact of teacher turnover on the learning organization of parish
elementary schools.” Ed.D. Dissertation, Immaculata College, 2003.
Fred, Lunenburg C. and Allan V. Ornstein. Educational Administration:Concepts and
Practices, 7th ed. (CA: Wadsworth Publishing, 2012.
Likert, Rensis. New Patterns of management, New York : McGraw-Hill.1961.
Marquardt, J. M. Building the Learning Organization: A System Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGrow-Hill, 1996.
Marquardt, J. M. Building the Learning Organization: Mastering The 5 Elements For Corporate Learning. 2nd ed. Palo Alto, Calif.: Davies – Black, 2002.
Michea, U. M., & Reynold, A. The Global Learning Organization. New York: Irwin, 2011.
Senge, P. M. The Fifth Discipline: The Art and Practice of the learning Organization.
New York: Doubleday, 1990.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.