พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมผู้นำบทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา จังหวัดกาญจนบุรี 2) แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา จังหวัดกาญจนบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรโรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดของกริฟฟิทส์ (Griffth) สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ พฤติกรรมผู้นำในฐานะผู้ประสานงาน ผู้นำในฐานะผู้โน้มน้าวจิตใจ ผู้นำในฐานะผู้ให้การยอมรับนับถือ ผู้นำในฐานะผู้รู้จักปรับปรุงแก้ไข ผู้นำในฐานะผู้เข้าสังคมได้ดี ผู้นำในฐานะผู้มีความคิดริเริ่ม และผู้นำในฐานะผู้ให้ความช่วยเหลือ
- แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา มี 3 แนวทาง คือ 1) ด้านพฤติกรรมผู้นำในฐานะผู้โน้มน้าวจิตใจ แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การพูดจูงใจให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติงานด้วยความร่วมมือร่วมใจและประสานสัมพันธ์กัน โดยใช้ความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสาร อย่างถูกต้องและชัดเจน 2) ในด้านพฤติกรรมผู้นำในฐานะผู้ในการยอมรับนับถือ แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การการสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และยอมรับนับถือผู้อื่น ยอมรับเกี่ยวกับความสามารถของผู้ร่วมงานแต่ละคน รู้จักนำเอาศักยภาพที่แฝงอยู่ในตัวแต่ละคนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ให้กำลังใจ ให้โอกาส ยกย่องชมเชยเมื่อผู้ร่วมงานทำงานสำเร็จ 3) ด้านพฤติกรรมผู้นำในฐานะผู้ให้การช่วยเหลือ แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การแสดงออกถึงความห่วงใยดูแล เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ร่วมงาน รวมทั้งช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ร่วมงานให้ประสบความสำเร็จทั้งด้านการทำงานและชีวิตส่วนตัว ดูแลสวัสดิการด้วยความเอาใจใส่อย่างแท้จริง รวมทั้งช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานอย่างทั่วถึง
References
งานแผนและนโยบายโรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา, แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2557– 2560,
(โรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา), 7-8.
จิตติ รัศมีธรรมโชติ และคณะ, Essentials of Managing Change สาระสู่การเปลี่ยนแปลง องค์กรที่มีประสิทธิผล.(กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัดมหาชน, 2553), 58.
จอมพงส์ มงคลวนิช, การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มิถุนายน 2558), 199-260.
งานแผนและนโยบายโรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา, แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2557– 2560,
(โรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา), 7-8.
สนอง เพ็ชรฉกรรจ์, “พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1, (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษา สาขาการบริหารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2546
สุธาสินี เพชรกระจ่าง, “พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การของครู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร”, (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา สาขาการบริหารศึกษา มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน). 2556, ผลประเมิน
สถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน รอบสาม (พ.ศ.2554-2558) โรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยาจังหวัดกาญจนบุรี (เอกสารสําเนา).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8,แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานระยะ 4 ปี (พ.ศ.
2560 – 2563), กลุ่มนโยบายและแผน เอกสารลำดับที่ 15/2561, หน้า 33
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. (กรุงเทพฯ:บริษัท
พริกหวานกราฟฟิค จำกัด, 2560), 67.
อัมพร ศรีอินทร์ , "พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนวันนินสุขาราม" (สารนิพนธ์
ปริญญาการศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559).
Best, John W. Researh in Education, 4th ed. (Englewood cliffs : Prentice
Doll, R.C. Curriculum improvement, (Boston : Allyn and Bacon, 1968), 153-155.
Fiedler, Fred E. A Theory of Leadership Effecctiveness, (New York : McGrew-Hill
Book co., 1967) 78-79.
Griffiths, Daniel E. Human Relations in School Adminidtration, (New York :
Appleton-Century-Crofts, Inc., 1956), 243-253.
Midwest Administration Center, University of Chicago, 1959), 4.1967), 86.
Hoy Wayne K. and Miskel, Cecil G. Educational Administration : Teory Research
and Practice, 2nd ed, (New York : Random House, 1982), 116.
Likert, Rensis. New Pattern of Management, (Englewood Cliffs, N.J. : Prentice-Hall
Inc., 1969), 4-10
Maeshall, Amanda kay, “Instructional leadership : Perceptions of middle school
principals and teacher 2005”, ProQuest.DAI-A66/11. Accessed June 4, 2013. Available from http://proquest.umi.com/pqdweb?
Maciel, Rosemarie Gomaz, Do principals make a different? An analysis of
leadership behaviors of elementary principals in effective school, (2005), 131.S.P.
O’ Connor, Geraldine Josephine. “A study of leadership styles and school
Climate, 2001”, ProQuest.DAI-A62/11,3647 Accessed May 15, 2013.Available from : http://proquest.umi.com/pqdweb
Terry, George R. Principles of Management, 4th ed., (Homewood, Li : Dow Jones-
Irwin, 1982), 210.
Warner Burke, W. Leadership as a Function of the Leader the Follower and the
Situation Journal of Personality (1965), 20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.