การเป็นโรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียนชุมชนบ้านหนองฝ้าย

Main Article Content

อุทัยวรรณ ศรีรัตน์
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การเป็นโรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียนชุมชนบ้านหนองฝ้าย  2) แนวทางการพัฒนาโรงเรียนชุมชนบ้านหนองฝ้ายให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุข ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้อำนวยการและครูโรงเรียนชุมชนบ้านหนองฝ้าย จำนวน 32 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับการเป็นโรงเรียนแห่งความสุข ตามแนวคิดของกวาง โจ คิม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ความถี่  ร้อยละ  มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. การเป็นโรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียนชุมชนบ้านหนองฝ้าย โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับ

มาก  เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านบุคคล  ด้านกระบวนการ  และด้านสถานที่


  1. แนวทางการพัฒนาโรงเรียนชุมชนบ้านหนองฝ้ายให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุข มีข้อเสนอแนะ   ดังนี้ 

1) ด้านบุคคล โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ครูได้กำหนดแผนพัฒนาตนเองตามแผนปฏิบัติงาน  โรงเรียนมีแผนพัฒนางานแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  และโรงเรียนเปิดช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้อำนวยการ ครู และผู้ปกครอง  2) ด้านกระบวนการ ครูควรมีการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และครูมีการประเมินผลตามสภาพจริง  3) ด้านสถานที่  โรงเรียนมีโครงการที่เสริมสร้างสุขภาวะและสุขาภิบาลให้กับนักเรียน โรงเรียนมีการพัฒนาระบบความปลอดภัยในโรงเรียน และโรงเรียนมีการตรวจสอบสภาพความมั่นคงแข็งแรงของอาคารสถานที่เสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
กมลพรรณ เอกณรงค์, “แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนให้เป็นโรงเรียนแห่ง
ความสุข” : วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์, 2560
กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา, ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4.
โรงเรียนแห่งความสุข. เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2561. เข้าถึงได้จาก http://udn4.esdc.go.th/rongreiyn-
haeng-khwam-sukh.
ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์.มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2559, กรุงเทพฯ
: บริษัท แอคโฟร์พริ้นท์ จำกัด, 2559.
โชกุล วิริยาธนสโชติ, แนวทางการสร้างองค์กรแห่งความสุข ด้วยกระบวนการสุนทรียสาธก กรณีศึกษา
โรงเรียนไตรคาราม : กรณีศึกษามหาบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2558.
พีรพัฒน์ ผิวขม, “การสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยกระบวนการสุนทรสาธร : กรณีศึกษาโรงเรียน
น้ำสวยพิทยาสรรพ์” รายงานการค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัย
บัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555.
วิทยากร เชียงกูล, รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลก
ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร, กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2559
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12
(พ.ศ.2560-2564).กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการ,2559.
อธิคุณ สินธนาปัญญา, “การบริหารความสุขในสถานศึกษา” : บทความวิจัย การบริหารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2557.

ภาษาต่างประเทศ
Andrew, Sharon S. S.M.I.Le.S.: The Differentiating Ouotient for Happiness at Work London:
Macminlan Publishers, 2011.
Kim, Gwang – Jo. Happy Schools a Framework for Learner Well – Being in the Asia - Pacific.
France: The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization, 2016.
Best, John W. Research in Education. 4th ed. Englewood cliffs: Prentice – Hall, Inc, 1983.
Likert, Rensis. The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory and
Measurement, Ed. Martin Fishbeing. New York: John Wiley & Sons, 1967.
J, Manion. "Joy at Work : Creating a Positive Workplace." Journal of Nursing Administration 33, 12
(2003).
Sarah, Chiumento. Happiness at Work Index,. Research on Human Resource Issue. 2007.
Schonewille, Paul A. Freyermuth and Drs. Reinder J. "Happy Workplaces Happy? Are You Nuts?".
The Journal of the Conference for Global Transformation 9, 1 (2009).