สุขภาวะองค์กรของโรงเรียนบ้านเขาอ่างแก้ว

Main Article Content

นางสาวนันท์สินี ทวิสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อทราบสุขภาวะองค์กรของโรงเรียนบ้านเขาอ่างแก้ว  2) เพื่อทราบแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรของโรงเรียนบ้านเขาอ่างแก้ว ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรในโรงเรียนบ้านเขาอ่างแก้ว อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี  ประกอบด้วย ครู 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาวะองค์กรของโรงเรียนบ้านเขาอ่างแก้ว  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สุขภาวะองค์กรของโรงเรียนบ้านเขาอ่างแก้ว โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้  ด้านคุณธรรม ด้านสุขภาพดี  ด้านครอบครัวที่ดี ด้านน้ำใจงาม ด้านการหาความรู้ ด้านสังคมดี ด้านผ่อนคลายดี และด้านใช้เงินเป็น

  2. แนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรของโรงเรียนบ้านเขาอ่างแก้ว พบว่าด้านด้านสุขภาพดี ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่รับประทานอาหารซ้ำซากนอกจากนี้ควรรับประทานผักและผลไม้ทุกมื้อ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อทำให้จิตใจเบิกบาน สามารถช่วยลดความเครียดได้และลดการเกิดโรคต่างๆได้ ควรฝึกสมาธิ เล่นโยคะ หรือปฏิบัติกรรมฐาน  ควรละเว้นสารเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแฮลกอฮอล์ทุกชนิด ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ น้ำใจงาม ควรช่วยเหลือซึ่งกันและกันในที่ทำงาน ควรมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงาน ควรมีความสามัคคีในหมู่คณะ การผ่อนคลาย ควรจัดกิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่เป็นประจำทุกปี ควรจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ในโอกาสพิเศษ ควรมีการจัดกิจกรรมชุมนุมหลังเลิกเรียน หาความรู้ มีการนิเทศชั้นเรียน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ศีลธรรม ควรเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญต่างๆทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา ใช้เงินเป็น ควรจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน เพื่อจะได้สามารถบริหารจัดการการเงินของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ควรมีการออมเงินเป็นประจำทุกเดือน ครอบครัวดี  ควรให้ครูได้อยู่ร่วมกับครอบครัวในวันสำคัญต่างๆเช่น เข้าวัดทำบุญ ไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้เกิดความรัก สามัคคีกัน เห็นคุณค่าของกันและกัน สังคมดีควรจัดกิจกรรมให้ครูได้มีปฏิสัมพันธ์กันในโรงเรียน เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนในการจัด กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ปกครอง และคนในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ , แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579,
เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2562,เข้าถึงได้จาก
http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf
จันทร ปานคล้ำ, “การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์กรแห่งความสุขใน
สถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร” (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557),ง.
ณิชารีย์ แก้วไชยษา, “ความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในบริษัทนำเข้าและ
จัดจำหน่ายสินค้าแห่งหนึ่ง” (วิทยานิพนธ์แพทย์ศาสตร์มหาบัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559),
นภัชชล รอดเที่ยง. “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรที่สังกัดศูนย์อนามัยในเขตภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ กรอนามัย กระทรวงสาธารณสุข” (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา
อนามัยครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550),
พจรินทร์ เหลืองอริญญานภา, “ทักษะการบริหารของผู้บริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน
ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8” (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,2556)
ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล, “ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี” วรสารเกษมบัณฑิต, 12(2), กรกฎาคม- ธันวาคม, 78-89.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รุ่งนภา ชุณหวรชัย, “แนวทางในการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข ‘คึกฤทธิ์ อาร์คิเทค’” (ปริญญาบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต สาขาวิชาบรริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2556), 69.
วรปรัชญ์ เนตรเอี่ยม, “อิทธิพลของบรรยากาศเชิงจริยธรรมที่มีผลต่อความผูกพันด้านจิตใจต่อองค์การผ่าน
ความสุขในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เขตภาคกลาง 2” (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,2556),ง.
ศศิธร เหล่าเท้ง, “อิทธิพลของกิจกรรมสร้างสุขในองค์กร ตามแนวทางความสุข 8 ประการที่มีต่อความสุขใน
การทำงาน ประสิทธิภาพการทำงาน และความตั้งใจในการลาออกของพนักงานบริษัทริกิ การ์ เมนส์ จำกัด นิคมอุตสาหกรรมราชบุรี” (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,2556), หน้า ง.
ศรีเรือน ศรีพัฒนกุล หาญบาง “ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมจากผู้ร่วมงาน การสนับสนุน
จากครอบครัวต่องาน กับความสุขในการทำงาน โดยมีความกระปรี้กระเปร่าในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน”(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตสิทยาประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.), ผลการประเมิน PISA 2018, เข้าถึงเมื่อ 3
มกราคม 2563 เข้าถึงได้จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12.
สมพลกิตติ์ สังข์ทิพย์ และสุชาดา บวรกิติวงศ์. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อคาวมสุขในการทำงานของครูสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้โมเดลสมการโครงสร้าง” (An online journal of Education6,1: 2563-2577).
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ(กรุงเทพฯ: ศูนย์
องค์กรสุขภาวะ,2552), 23.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ , แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579,
เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2562,เข้าถึงได้จาก
http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf
สิรินทร แซ่ฉั่ว, ความสุขในการทำงานของงบุคลากรเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์
กลุ่มสื่อและกลุ่มงานสร้างสรรค์เพื่อการใช้งาน(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2553), หน้า ง.
สุพัตรา แซ่ซิ้ม, “ความสุขในการทำงานของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตหนองจอก สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร” ((วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา,2554), หน้า ง.)
อภิชาต นิลภาทย์, “ความสุขในการทำงานกับสมรรถนะข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขต
บางพลัด” (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,2556),ง.
Likert, Rensis. New Patterns of management, New York : McGraw-Hill.1961.
Fred C. Lunenburg and Allan C. Ornstein, Educational Administration: Concepts and Practices, 6 ed. (CA: Wadsworth Publishing, 2012), 31-33.
Huse, Edgar F., (1980), Organizatiional Development and Change (Minnesota : West
Publishing, 1985) , 134.
M.McBride, “Relative-income Effects on Subject Well-being in the Cross Section,”(Journal of
Economic Behavior & Organization, 2010) : 251-278.