ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านตามนโยบายโครงการบ้านประชารัฐ ของประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

พิชยา เจริญสุขใส
นิตยา สินเธาว์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อบ้านตามนโยบายโครงการบ้านประชารัฐของประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร (2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7Ps) ในการซื้อบ้านประชารัฐของประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร (3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7Ps) ในการซื้อบ้านประชารัฐ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล กับการตัดสินใจซื้อบ้านตามนโยบายโครงการบ้านประชารัฐของประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่ซื้อบ้านประชารัฐในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 154 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติ การทดสอบค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


               ผลการศึกษา พบว่า (1) การตัดสินใจซื้อบ้านตามนโยบายโครงการบ้านประชารัฐของประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวมและรายด้านมีการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps) ในการซื้อบ้านประชารัฐ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย และด้านบุคคลที่ให้บริการ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการตัดสินใจซื้อบ้านตามนโยบายโครงการบ้านประชารัฐของประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการตัดสินใจซื้อบ้านตามนโยบายโครงการบ้านประชารัฐของประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และด้านกระบวนการ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการตัดสินใจซื้อบ้านตามนโยบายโครงการบ้านประชารัฐของประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อบ้านตามนโยบายโครงการบ้านประชารัฐของประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระยะเวลาในการอาศัยอยู่ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อบ้านตามนโยบายโครงการบ้านประชารัฐของประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (5) ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 26-35 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. มีรับจ้างทั่วไป มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 15,000 บาท และระยะเวลาในการอาศัยอยู่ มากกว่า 1 ปี 6 เดือนขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาสุดา บุณฑริก. (2555). ส่วนประสมการตลาดของธุรกิจบ้านจัดสรรในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เชาว์ เพ็ชรราช และจิรวรรณ ทรัพย์เจริญ. (2556). บทที่ 3 ประชากรมนุษย์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2559 จาก http://human.uru.ac.th/ Major_online/SOC/ Envi_Home.htm.
ธัญวิชญ์ ศิริทัพ. (2561). การตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวของผู้บริโภคในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 14(1), 143-163.
พงศกร ใจภักดี. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อบ้านของการเคหะแห่งชาติในเขตพัทยา กรณีศึกษาผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทร จังหวัดชลบุรี เนินพลับหวาน. งาน
นิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
มาลาตรี ทองอ้วน. (2560). กระบวนการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. บทความของมหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุนีย์ เจษฎาวรางกูล ฐิตินันท์ วารีวนิช และดวงตา สราญรมย์ (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านทาวน์เฮ้าส์ ในโครงการบริษัทวังทองกรุ๊ป จำกัด (มหาชน). วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 3(3), 105-117.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ข้อมูลสถิติสัมโนประชากรและเคหะ.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2559 จากhttp://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/servstat.html
อัมพร ฤทธิกุล. (2554). ปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Kotler, P. (2012). Marketing Management. 13th ed. Englewood Cliff, New Jersey: Practice Hall.
Samuel B Green. (1991). How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis? Multivariate Behavioral Research, 26(3), 499-510.
Schiffman, L. G. and Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior. 5th ed. Englewood Cliffes, NJ: Prentice-Hall.